ผู้บริหารหญิง คุณพร้อมรับตำแหน่งนี้หรือยัง

ศุกร์ ๑๔ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๐๐
ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา โลกได้ก้าวหน้าไปมากจากการลดความไม่เท่าเทียมกัน เราได้เห็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางสังคมและความเท่าเทียมกันในที่ทำงานโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่ประเด็นร้อนอย่างหนึ่งที่ยังเห็นได้จากการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจนคือ ตัวแทนผู้หญิงในบอร์ดผู้บริหารองค์กร

เรื่องนี้เป็นมากกว่าประเด็นทางศีลธรรม

มีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับการสร้างสมดุลให้คณะกรรมการบริษัท บนพื้นฐานความเป็นธรรม ทัดเทียม และยุติธรรม ประเด็นที่น่าสนใจกว่านั้นคือ แนวคิดที่ว่าความหลากหลายทางเพศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจได้ ในปี 2555 มีรายงานจากกลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินหรือ Credit Suisse ซึ่งค้นพบว่าบริษัทที่มีคณะกรรมการบริษัทเป็นเพศหญิงจะทำงานได้ผลดีกว่า ตลอดจนแสดงผลตอบแทนหุ้นที่สูงกว่าและการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ในปี 2557 จากการศึกษาของ MSCI ได้พบว่าบริษัทมหาชนที่มีเปอร์เซนต์คณะกรรมการบริษัทที่เป็นเพศหญิงสูงกว่าจะมีเรื่องอื้อฉาว รวมไปถึงการติดสินบน การคอร์รัปชันและการคดโกงน้อยลง

แต่การมีผู้บริหารหญิงนั่งอยู่ในที่ประชุมแบบ boardroom ก็ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าการทำงานจะดีขึ้น และมาตรฐานทางจริยธรรมจะสูงขึ้นโดยอัตโนมัติเสมอไป แต่อาจมีนัยอย่างน้อยหนึ่งถึงสองประการคือ ความเป็นผู้นำที่หลากหลายจะทำให้ธุรกิจดีขึ้น หรือธุรกิจที่ดีขึ้นจะทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีผู้นำที่หลากหลาย

รัฐกับการออกกฏเรื่องโควต้า

ย้อนกลับไปในปี 2556 ที่นอร์เวย์ออกกฏหมายนำร่องให้ร้อยละ 40 ของกรรมการในบริษัทมหาชนเป็นผู้หญิง แนวคิดง่ายๆ ที่นำมาใช้กับบริษัทใหญ่ๆ แต่ส่งผลโดยตรงกับบริษัทเล็กๆ ตามไปด้วย และนำไปสู่โอกาสให้เพศแม่เข้ามามีบทบาทในบริษัทเอกชนรายเล็กอื่นๆ ทันที

จากนั้นก็มีประเทศในแถบยุโรปหลายประเทศเจริญรอยตามอย่าง สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี และเบลเยี่ยม ต่อมาไม่นานประเทศเยอรมันนีก็เห็นพ้องต้องกันกับประเทศในอียูให้ผ่านข้อกฎหมายลักษณะเดียวกัน กำหนดให้ร้อยละ 30 ของกรรมการบริหารเป็นผู้หญิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอย่างนาง Heiko Maas ซึ่งใช้เวลาหลายเดือนในการตั้งกฎหมายนี้ขึ้นจนสำเร็จ ได้เรียกชัยชนะครั้งนี้ว่า "การได้มาซึ่งความเท่าเทียมกันทางเพศที่ยิ่งใหญ่ เมื่อผู้หญิงมีสิทธิออกความคิดเห็น"

แม้หลายคนถือว่ากฎหมายในนอร์เวย์ก้าวไปในทิศทางบวก แต่ก็เกิดการต่อต้านมากมายเพราะมีบริษัทมหาชนจำนวนมากถึง 384 แห่ง จาก 564 แห่งที่ได้รับผลกระทบและจงใจหลีกเลี่ยงกฎหมายใหม่ สิ่งเหล่านี้เป็นการต่อต้านกรรมการบริษัทที่เป็นผู้หญิง หรือเป็นแค่ความเกลียดชังที่อยากบอกให้ผู้รับจ้างได้ทราบ

ควรกำหนดสัดส่วนหรือไม่

กฎหมายได้กำหนดให้คุณต้องเพิ่มสัดส่วนตำแหน่งเพื่อรับประกันให้ผู้หญิงเข้าร่วมในคณะกรรมการบริษัท ประเทศเยอรมนีอาจบรรลุเป้าหมายให้มีตัวแทนเพศหญิงร่วมในคณะกรรมการองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในสัดส่วน 30% แต่แรงกดดันทางกฎหมายอาจบังคับให้บางบริษัทเพิ่มสัดส่วนตำแหน่งให้แก่บุคคลที่ไม่เหมาะสม และทำให้การแก้ปัญหาอาจกลายเป็นปัญหาเพราะคัดเลือกคณะกรรมการบริษัทจากเพศสภาพมากกว่าคุณสมบัติ

ในปีที่ผ่านมา University of Chicago ได้ศึกษาเรื่องผลกระทบจากการกำหนดสัดส่วนในประเทศนอร์เวย์ซึ่งพบว่า แม้สัดส่วนตำแหน่งจะแตะ 40% แต่ก็ไม่ได้ลดช่องว่างระหว่างเพศหญิงและเพศชายในคณะกรรมการบริหารองค์กร แค่ส่งผลดีเพียงเล็กน้อยต่อผู้หญิงทำงานทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งกรรมการบริหาร หรือไม่ก็แค่ช่วยสร้างความเท่าเทียมให้ผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในคณะกรรมการบริษัท Marianne Bertrand โปรเฟสเซอร์ด้านเศรษฐศาสตร์ของ University of Chicago และผู้ร่วมวิจัยงานชิ้นนี้ได้แสดงความคิดเห็นเอาไว้ว่า "ความคิดที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้แทนสตรีในภาคธุรกิจเป็นแค่ความฝัน"

ควรเลือกทางไหน

ในปี 2011 Lord Mervyn Davies ผู้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล UK ได้นำเสนอรายงานว่า การเพิ่มสัดส่วนด้วยความสมัครใจในภาคธุรกิจจะส่งผลดีต่อตัวแทนผู้หญิงในคณะกรรมการบริษัทมากกว่า เช่น จะมีตัวแทนเพศหญิงอยู่ในคณะกรรมการบริษัท FTSE 100 ถึง 25% ภายในปี 2015

ในเวลาเดียวกัน Helena Morrissey CEO ของ Newton Investment Management ผู้ก่อตั้ง "30% Club" ที่ตั้งเป้าให้มีตัวแทนผู้หญิงในสัดส่วน 30% ภายในสิ้นปีนี้ โดยไม่มีการบังคับจากนโยบายเพิ่มสัดส่วนของรัฐบาล ซึ่ง 30% Club จะช่วยโน้มน้าวผู้นำทางธุรกิจและองค์กรให้เข้าใจว่าความหลากหลายทางเพศสภาพจะทำให้ผู้คนมีความรู้สึกที่ดีต่อธุรกิจของคุณ

และดูเหมือนว่าวิธีนี้จะได้ผลดี 30% Club ได้ขยายสาขาไปเปิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และแอฟริกาใต้เรียบร้อยแล้ว ส่วนสาขาแคนาดา ออสเตรเลียและโปแลนต์จะเปิดถัดไปภายในปีนี้ และด้วยแนวทางการร่วมมือโดยใช้ธุรกิจนำเหมือนกับ 30% Club ได้ทำให้ตัวแทนเพศหญิงในคณะกรรมการบริษัท FTSE 100 มีสัดส่วนอยู่ที่ 23.5% เพิ่มจาก 12.6% ในปี 2010

ไม่ว่าจะใช้การบังคับสัดส่วนจากรัฐบาลหรือการตัดสินใจทางธุรกิจโดยใช้วิวัฒนาการตามธรรมชาติ การสร้างผู้นำที่มีความหลากหลายขึ้นมาเป็นเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.regus.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้