มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องแกนนำชุมชนคิดอย่างไรต่อ รัฐบาล และ คสช. หลังเกิดเหตุร้ายที่แยกราชประสงค์:กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ

จันทร์ ๒๔ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๕๑
ดร.นพดล กรรณิกา ที่ปรึกษาประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง แกนนำชุมชนคิดอย่างไรต่อ รัฐบาล และ คสช. หลังเกิดเหตุร้ายที่แยกราชประสงค์: กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,057 ตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นทางสถิติจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลแกนนำชุมชนทั่วประเทศ รวบรวมโดย ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน ดำเนินโครงการในวันที่ 21-23 สิงหาคม 2558 ผลสำรวจพบว่า

แกนนำชุมชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.3 ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเหตุระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ ในขณะที่เพียงร้อยละ 1.7 ไม่ได้ติดตาม และเมื่อสอบถามถึงความพอใจต่อการปฏิบัติการของทุกภาคส่วน ภายหลังเหตุระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 พอใจมาตรการเยียวยาผู้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิต รองลงมาคือร้อยละ 59.5 พอใจการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการสนับสนุนการทำงานของราชการ ร้อยละ 59.3 พอใจต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ร้อยละ 59.2 พอใจต่อการป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในขณะที่ร้อยละ 58.9 พอใจต่อการมีส่วนร่วมของสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและสนับสนุนการทำงานของราชการ และร้อยละ 57.9 พอใจต่อการติดตามสืบสวนสอบสวนจับกุมคนร้ายและคลี่คลายสถานการณ์

ประเด็นสำคัญคือ เมื่อสอบถามถึงความวิตกกังวลต่อเหตุร้ายที่เกิดขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.5 วิตกกังวลลดลง ถึง ไม่กังวลเลย ในขณะที่ร้อยละ 15.5 ยังคงวิตกกังวลเหมือนเดิมและเมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล คสช. และหน่วยงานด้านความมั่นคงในการคุ้มครองดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนและป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้น นั้นพบว่า แกนนำชุมชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 86.4 ระบุเชื่อมั่น โดยให้เหตุผลสามารถสรุปได้ว่า ทุกหน่วยงานมีการร่วมมือและประสานงานกันเป็นอย่างดี หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมั่นในศักยภาพของรัฐบาล ถึงแม้จะไม่รวดเร็วทันใจแต่ก็มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้แกนนำชุมชน ร้อยละ 13.6 ระบุไม่เชื่อมั่น โดยให้เหตุผลว่า ความร่วมมือของทุกภาคส่วนยังไม่สอดคล้องกัน มีเหตุการณ์ระเบิดอย่างต่อเนื่อง ยังไม่สามารถจับคนร้ายที่ก่อเหตุได้ หวาดกลัวการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ

ลักษณะทั่วไปของแกนนำชุมชนตัวอย่าง

แกนนำชุมชนร้อยละ 88.2 เป็นเพศชาย ในขณะที่ร้อยละ 11.8 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 6.1 มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ร้อยละ 36.0 ระบุอายุ 40-49 ปี และร้อยละ 57.9 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ร้อยละ 38.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า ร้อยละ 43.7 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 6.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส. ร้อยละ 12.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตามลำดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ