สศก. เปิด 8 มุมมองสู่ทางรอดภาคเกษตรในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

พุธ ๒๖ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๐๙:๑๗
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดมุมมองทางรอดภาคเกษตร ชูบทวิเคราะห์สู่การปรับโครงสร้างในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ชู 8 หลักมิติ เน้นร่วมมือ พึ่งพา พัฒนา ผลักดัน และส่งเสริม เพื่อสู่สู่ยุคคุณภาพและคุณธรรม

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว จากปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จึงต้องเร่งรัดส่งเสริมภาคเกษตรให้ดีขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ทุ่มเงิน 1.44 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในส่วนของภาคเกษตรจะต้องปรับโครงสร้างภาคเกษตรอย่างเร่งด่วน โดยการดำเนินการประกอบด้วย 8 ด้านสำคัญ คือ

1) เน้นโครงการร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership :PPP) ให้มากขึ้น เนื่องจากแต่เดิมโครงการความร่วมมือในลักษณะนี้จะเป็นไปเพื่อการดำเนินการในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจคต์ (mega project) ดังนั้น จึงควรขยับขยายไปสู่โครงการขนาดที่เล็กลงมาถึงระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เพื่อให้เกิดการร่วมมือ

2) เน้นการพึ่งพาตนเอง (Self Sufficient) ให้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพดและพืชอื่นๆ อีกหลายชนิด ดังนั้น จึงควรเร่งพัฒนาผลิตสินค้าเกษตรเพื่อสามารถทดแทนการนำเข้า เช่น ส่งเสริมการปลูกถั่วเหลือง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย สุโขทัย แพร่ แม่ฮ่องสอนและอื่นๆ ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พื้นที่จังหวัด นครราชสีมา สระบุรี ลพบุรีและอื่นๆ เป็นต้น หรือพัฒนาพันธุ์ให้สามารถให้ผลผลิตสูง ต้านทางโรคและแมลง

3) เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรปลายน้ำ โดยเน้นการแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) เช่น การคัดแยกเกรดสินค้า การสร้างเรื่องราวให้กับสินค้า (history) เน้นการค้นคว้าวิจัยเพื่อรองรับสรรพคุณเพื่อสุขภาพ รวมถึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น กำหนดตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน เป็นต้น เพื่อเป็นการยกระดับสินค้าให้มีความพิเศษมากกว่าสินค้าทั่วไป (blue ocean strategy) เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้น

4) เน้นผลักดันส่งเสริมเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเกษตรรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่ได้รับการวิจัยแล้วว่าได้ผลนำไปสู่การประยุกต์ใช้ที่แท้จริง เช่น นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ อย่างการทำการเกษตรภายในอาคาร (indoor) การเกษตรกลางแจ้งรูปแบบใหม่ (outdoor) ที่อาศัย drone เครื่องจักรสมัยใหม่ ทดแทนแรงงานคนที่มีแนวโน้มอายุเพิ่มมากขึ้น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโนอัดเม็ดแบบละลายช้า ซึ่ง ขณะนี้ สวทช. ได้ดำเนินการวิจัยและกำลังอยู่ในระหว่างการขยายผลให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าปุ๋ยดังกล่าวได้ หรือมุ้งกันยุงที่มีการเคลือบสารฆ่าแมลง โดยใช้เทคโนโลยีนาโน วัสดุปรับปรุงดินจากผักตบชวา โดยใช้เทคโนโลยีเร่งให้เกิดการย่อยสลายผักตบชวาได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมขยายผลไปสู่ระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น

5) เน้นส่งเสริมการปลูกพืชรองแซมพืชหลัก กรณีเกษตรกรผู้ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา ที่กินระยะเวลาดังกล่าวนานถึง 7 ปี ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชแซม เช่น พืชล้มลุกทั้งหลายก่อนที่ยางพาราจะให้ผลผลิต เช่น พริกไทย แตงโม ถั่วต่างๆ หรือสับปะรด เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร

6) เน้นส่งเสริมการปลูกพืชแบบหลายชนิด (multiple cropping) หรือ การปลูกพืชมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ในพื้นที่เดียวกันในรอบปี เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงด้านรายได้ และราคา อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ต่อหน่วยพื้นที่และเป็นการสร้างสมดุลทางสิ่งแวดล้อมด้วย

7) เน้นสินค้าเกษตรสำหรับการบริโภคภายในประเทศให้เพียงพอมากขึ้น นอกจากเพื่อเป็นการลดการนำเข้าแล้วยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและความมั่นคงทางด้านอาหารสำหรับประชากรในประเทศ รวมถึงการปกป้องสินค้าเกษตรภายในประเทศ ไม่ให้สินค้าเกษตรจากต่างประเทศเข้ามาโจมตีตลาดสินค้าไทยได้ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศไทย เช่น การผลิต กล้วย พืชผักต่างๆ ให้เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ เพื่อรองรับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น

และสุดท้าย 8) เน้นสินค้าเกษตรเข้าสู่ยุค “คุณภาพและคุณธรรม” โดยเกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้ผลิตหรือผู้แปรรูปต้องรับซื้อผลผลิตอย่างมีคุณธรรม เพื่อนำไปแปรรูปได้สินค้าที่มีคุณภาพ โดยไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ จนทำให้มีปัญหาในการขับเคลื่อน Value Chain เช่น การผลิตข้าวปลอดภัย (GAP) ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน และมีคุณภาพทำให้ผู้ผลิตเกิดความเชื่อมั่นที่จะรับซื้อในราคาที่สูงกว่าข้าวทั่วไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4