สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ก้าวสู่ปีที่ 14 จัดสัมมนาถกปัญหาความท้าทายแห่งการพัฒนาภายหลัง ปี 2558

พฤหัส ๐๓ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๓:๓๕
"ITD" ฉลองครบรอบ 13 ปี ระดมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ ถกปัญหาที่ท้าทายต่อการพัฒนาภายหลังปี 2558: ที่มีนัยต่อการค้าและการพัฒนาภายในประชาคมอาเซียน ชู 17 เป้าหมายหลัก การพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาตินำขึ้นมาหารือ คาดจะได้ผลงานทางวิชาการ ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และอาเซียนอย่างแน่นอน

2 กันยายน 2558 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง "ความท้าทายแห่งการพัฒนาภายหลังปี 2558: นัยต่อการค้าและการพัฒนา ภายในประชาคมอาเซียน" (Post-2015 Development Challenges: Implications for Trade and Development for ASEAN Community)

ดร.กมลินทร์ พินิจภูวดล ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ The International Institute for Trade and Development (Public Organization) เรียกย่อว่า "ITD" เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 14 ของการก่อตั้ง ITD จึงจัดให้มีการประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องความท้าทายแห่งการพัฒนาภายหลังปี 2558: นัยต่อการค้าและการพัฒนาภายในประชาคมอาเซียน (Post-2015 Development Challenges: Implication for Trade and Development in ASEAN Community) ขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งนักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่ว เพื่อเป็นการพัฒนาและสรุปประเด็นการพัฒนา สร้างความท้าทายใหม่ๆ ด้านการค้าและการพัฒนาประเทศและในประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 ซึ่งจะนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานทางวิชาการใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

สำหรับประเด็นการประชุม ได้หยิบยกเอาเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) ที่จะสิ้นสุดลง ในปี 2558 ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดวาระการพัฒนาประเทศหลังปี 2558 ที่ยังคงเป้าหมายของการพัฒนาให้เป็นแบบยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการพัฒนาไปที่ 17 เป้าหมายหลัก ได้แก่ การขจัดความยากจน การขจัดความหิวโหย การมีสุขภาวะในการดำรงชีวิตที่ดี การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ความเท่าเทียมทางเพศ การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน การเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน การมีงานทำและการจ้างงาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง การลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล การพิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศ การส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข และการเข้าถึงความยุติธรรม และ สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปลายปี 2558 อาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ได้แก่ (1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) (2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) (3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) ประชาคมอาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่อุบัติขึ้นภายหลังปี 2558 โดยเฉพาะด้านการค้าและการพัฒนา เช่น การเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่อุปทานโลก การเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน การปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศ การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว ปัญหาภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศสมาชิก การแพร่ระบาดของโรคทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัญหาการก่อการร้าย การค้ามนุษย์ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและแรงงาน ความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ การส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและการสร้างความเท่าเทียม ลดช่องว่างระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก และการพัฒนาเพื่อบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ของสหประชาชาติต่อไป

"ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา สถาบันได้ผลิตผลงานและให้บริการทางวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินกิจกรรมจัดการศึกษาอบรมและให้การสนับสนุนเพื่อการค้นคว้าวิจัยด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงิน การคลัง การลงทุน และการพัฒนาแก่บุคลากรของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย และให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เพื่อสร้างเสริมศักยภาพและความสามารถในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ เป็นศูนย์กลางจัดการฝึกอบรมและกิจกรรมเสริมศักยภาพต่างๆ และในปีนี้เป็นปีที่สำคัญอีกปีหนึ่งที่สถาบันครบรอบ 13 ปี แห่งการจัดตั้ง จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงวิชาการและสัมมนาในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความท้าทายด้านการค้าและการพัฒนาประเทศและในประชาคมอาเซียนต่อไป พร้อมกันนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสำคัญที่ผ่านมาของสถาบันฯ ด้านการวิจัยการฝึกอบรม การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ในบริเวณสถานที่จัดงานอีกด้วย"ดร.กมลินทร์ กล่าวปิดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?