สัมมนายุทธศาสตร์สภาหอการค้าฯ ยกระดับพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม

พฤหัส ๐๑ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๓๗
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้จัดสัมมนายุทธศาสตร์สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ "Innovating Business Reform to Move Forward" เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากเครือข่ายของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย หอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด หอการค้าต่างประเทศ และสมาคมการค้า โดยมีการสัมมนากลุ่มยุทธศาสตร์ 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มธุรกิจการค้าและการผลิต2. กลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร และ 3. กลุ่มธุรกิจบริการ

นายอิสระ กล่าวว่า กลไกในการการยกระดับการพัฒนาประเทศไทย ไปสู่การเป็นประเทศชั้นนำด้านความสามารถในการแข่งขัน จำเป็นที่จะต้องอาศัย การวิจัย-พัฒนา และนวัตกรรม มาเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจจากระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการลงทุน ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยเฉพาะการใช้นวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจ SMEs และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Young Entrepreneur) สู่การเป็นธุรกิจที่มีนวัตกรรม

นอกจากนี้ การวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ที่จะเป็นอนาคตและเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนา BIG DATAเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลดิจิทัล ที่มีปริมาณมหาศาลอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับพัฒนาระบบวิเคราะห์ (Analytics) เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ รวมทั้ง การพัฒนาเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อทุกอย่าง ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ธุรกิจ และเศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างมาก

ดร.เดช เฉิดสุวรรณรักษ์ กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ในการสัมมนาในวันนี้ ได้เชิญ Dr.George Abonyi, Visiting Professor, Maxwell School, Syracuse University และ Mr.Darren Buckley รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ Citi Country Office of Citibank Thailand มาบรรยายพิเศษให้ได้รับฟัง ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้มีแนวทางเดียวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยสรุปได้ว่า ประเทศไทยต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ มุ่งเน้นให้มีความโดดเด่นและแตกต่าง ต้องทำการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจังในการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการพัฒนานวัตกรรมหลากหลายวิธีทั้งในด้านการออกแบบ งานฝีมือ และการบริการ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก

นอกจากนี้ การขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมแห่งชาติ ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งในส่วนภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในการส่งเสริมการลงทุนในระยะเริ่มต้น ปรับปรุงกระบวนการผลิต การปรับใช้เทคโนโลยี และระบบการทำธุรกิจประเภทใหม่ๆ รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้า สำหรับธุรกิจ SMEs ควรมีการปรับใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในท้องที่ให้เข้ากับผลิตภัณฑ์และการบริการ

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการพัฒนานวัตกรรมการแล้ว ประเทศไทยยังต้องพัฒนาในด้านต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ทั้งภาคการเกตรกรรม การท่องเที่ยว การค้า การผลิต การลงทุน การเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีความมั่นคงและยั่งยืน

นายกลินท์ สารสิน รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การจะพัฒนาการค้าและการผลิตของไทยได้นั้น Innovation เป็นหนึ่งในตัวแปรที่สำคัญ ในการพัฒนาธุรกิจต่อไปในอนาคต จึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์สำหรับธุรกิจการค้าและการผลิต ดังนี้

การค้าภายในประเทศ

ช่องทางการจัดจำหน่ายและ E-Commerce มีความสำคัญ เพราะในปัจจุบันมีช่องทางการแสดงสินค้าและจัดจำหน่ายในช่องทาง Internet และ Social Media หากนักธุรกิจจะดำเนินการในแบบเดิมต่อไป โดยไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนา จะทำการค้าได้อย่างลำบาก อีกสิ่งหนึ่งที่จะเป็นการ Guarantee คุณภาพของสินค้า คือการได้รับตรามาตรฐานสินค้า ที่ได้รับการยอมรับ การสร้างตราสินค้า (Branding) ให้แตกต่างและจดจำ รวมถึงการใช้ Packaging ที่สวยงาม ดึงดูด สร้างความแตกต่าง

ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการค้าในปัจจุบันการค้าชายแดนและค้าข้ามแดน

การค้าชายแดน มีความสำคัญ และมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะตลาด CLMVที่มีการเติบโตดี สามารถทดแทนตลาดหลักในอดีต การค้าชายแดนและการค้าข้ามแดน จะเพิ่มขึ้นได้นั้น จำเป็นจะต้องพัฒนาใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1. โครงสร้างพื้นฐาน 2. ระบบการขนส่ง ซึ่งต้องสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้และต้องมีการนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยในการเชื่อมด้านข้อมูล และ 3. ด้านกฏระเบียบการค้าที่ยังเป็นปัญหาและอุปสรรค ต้องได้รับการแก้ไข

การค้าระหว่างประเทศและความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ จะเป็นตัวผลักดันการค้าให้เกิด

การแข่งขันเพื่อความอยู่รอด ซึ่งจะต้องเร่งการใช้สิทธิประโยชน์จากการเจรจาการค้าที่มีอยู่อย่างเต็มที่ รวมไปถึงการใช้กลไกและเครือข่ายทางธุรกิจที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เพื่อสร้างความสมดุลในสังคมและความยั่งยืนทางธุรกิจในอนาคตอย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์หลักของธุรกิจการค้าและการผลิต จะมีกลยุทธ์และแผนงานโครงการที่สำคัญในการนำนวัตกรรมมาพัฒนาธุรกิจของภาคเอกชนอย่างชัดเจน พร้อมกับ การมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สมาคมการค้า ภาคเอกชน ภาคการศึกษา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทย

และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เห็นว่าภาคเกษตรกรรมเป็นภาคที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างมากจึงเสนอแนวคิดเพื่อให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาผลิตภาพการผลิตให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะผลักดันในประเด็นต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายหลีกหนีรายได้ระดับต่ำและผลิตภาพการผลิตที่สูง ดังนี้

ส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอด Value Chain เพือเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่อำนวยความสะดวกภาคเอกชน

ส่งเสริมการผลิตใน Value Chain ให้ได้มาตรฐาน (Standard) ภายใต้การผลิตที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย (Safety) ความมั่นคง (Security) และ ความยั่งยืน (Sustainability)

สนับสนุนภาคเกษตรกรรมในระดับชุมชน ท้องถิ่น และ SMEs ให้มีความเข้มแข็งและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อยกระดับภาคเกษตรกรรมโดยรวม

ส่งเสริมให้มีการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและประสิทธิภาพแรงงาน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ (Smart farmer)

การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรขั้นต้นด้วย Bio-Based Industry เพื่อพัฒนาสู่พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การจะทำให้ภาคธุรกิจบริการไทยจะสามารถเติบโตได้อย่างมีศักภาพเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และรองรับวิกฤตต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงมีความจำเป็นต้องยกระดับให้ภาคธุรกิจบริการไทย ก้าวสู่การเป็น Trade in Service ผ่านการเชื่อมโยงและขับเคลื่อนธุรกิจ 5 Sector โดย กลุ่มภาคธุรกิจบริการ จะนำเสนอและผลักดันประเด็นต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้าม Middle Income Trap ภายในปี 2020 ดังนี้

ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ โดยการให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณภาพ และกระจายความมั่นคงไปสู่ท้องถิ่น

ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม Long Term Care. เพื่อบริการกลุ่มผู้สูงอายุ, สนับสนุนการใช้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ตลอดจน การให้ภาครัฐ (สวทช.)ในการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ในไทย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการโรงพยาบาลไทย และลดการนำเข้าธุรกิจออกแบบและก่อสร้าง โดยการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยต่อธุรกิจออกแบบ (Value Idea Design) และส่งเสริมการสร้างเอกลักษณ์ในสินค้าและบริการโดยการออกแบบ (Intangible Value)ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงผังเมือง เพื่อรองรับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน มีความสะดวกในการเดินทาง และมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมธุรกิจ Creative Digital Economy โดยการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึง Internet เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม , พัฒนา Infrastructure ของประเทศไทย , ส่งเสริมการใช้ Digital Content เพื่อ Promote สินค้าและบริการของประเทศไทยไปยังตลาดโลก และสนับสนุนE-commerce เพื่อเชื่อมโยงการค้าและบริการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4