นิด้าโพล : “ลอตเตอรี่ขายเกินราคาที่กำหนด ยังมีอยู่หรือไม่ ? ”

จันทร์ ๐๕ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๐๙:๑๗
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ลอตเตอรี่ขายเกินราคาที่กำหนด ยังมีอยู่หรือไม่ ? ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 23 กันยายน 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,733 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับลอตเตอรี่ขายเกินราคาที่กำหนด ยังมีอยู่หรือไม่ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาค สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.2

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงการซื้อลอตเตอรี่ของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.10 ระบุว่า เคยซื้อและยังคงซื้อลอตเตอรี่อยู่ แต่ไม่เป็นประจำ รองลงมา ร้อยละ 29.43 ระบุว่า ไม่เคยซื้อลอตเตอรี่เลย ร้อยละ 20.08 ระบุว่า เคยซื้อและยังคงซื้อลอตเตอรี่อยู่เป็นประจำ และร้อยละ 7.39 ระบุว่า เคยซื้อลอตเตอรี่แต่ปัจจุบันเลิกซื้อแล้ว

ด้านการพบเห็นการขายลอตเตอรี่เกินราคาหลังจากรัฐบาลพยายามควบคุมราคาขายลอตเตอรี่ ไม่ให้เกินราคาที่กำหนดไว้ รวมถึงการเปิดเสรีโควตาลอตเตอรี่สำหรับผู้ค้ารายย่อย พบว่า ประชาชนที่ซื้อลอตเตอรี่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.69 ระบุว่า ไม่พบเห็น การขายลอตเตอรี่เกินราคาที่กำหนดไว้ ขณะที่ร้อยละ 40.04 ระบุว่า ยังคงพบเห็น การขายลอตเตอรี่เกินราคาที่กำหนดไว้ และร้อยละ 0.27 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

สำหรับการซื้อลอตเตอรี่ของประชาชน หากพบเห็นการขายลอตเตอรี่เกินราคาที่กำหนดไว้ พบว่า ประชาชนซื้อลอตเตอรี่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.30 ระบุว่า จะไม่ซื้อ เพราะ ราคาแพงกว่าที่รัฐบาลกำหนดเอาไว้ เป็นการเอาเปรียบและไม่ยุติธรรมต่อผู้บริโภค ผู้ซื้อไม่ควรอุดหนุนหรือสนับสนุนคนที่เอาเปรียบคนอื่น และเราสามารถมีสิทธิ์ที่จะเลือกซื้อร้านอื่นที่ขายถูกกว่า รองลงมา ร้อยละ 25.59 ระบุว่า จะยังคงซื้อแม้ว่าจะขายเกินราคาที่กำหนดไว้ เพราะ เลขนั้นเป็นเลขเด็ด หรือหายาก และขายราคาเกินกำหนดไม่มาก เช่น 100 บาท หรือในกรณีที่คนขายเป็นคนพิการ และร้อยละ 1.10 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึง การแจ้งความดำเนินคดีของประชาชน หากพบเห็นการขายลอตเตอรี่เกินราคาที่กำหนดไว้ พบว่า ประชาชนซื้อลอตเตอรี่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.15 ระบุว่า จะไม่แจ้งความดำเนินคดี เพราะ ไม่ต้องการแจ้งเอาความผิดและทำลายอาชีพผู้ขาย เห็นใจในคนที่มีรายได้น้อย หากเราไม่ซื้อก็จะเป็นการตัดปัญหา เพราะในที่สุดก็จะขายไม่ได้ ซึ่งบางครั้งก็รับมาแพง และส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้พิการหรือผู้สูงอายุ รองลงมา ร้อยละ 17.73 ระบุว่า จะแจ้งความดำเนินคดี เพราะ เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลได้มีการกำหนดราคาไว้แล้ว ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าคนขายเป็นคนพิการหรือไม่ และขายเกินกำหนดมากน้อยเพียงใด และร้อยละ 4.66 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.68 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.41 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคเหนือ ร้อยละ 32.66 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ร้อยละ 14.25 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคใต้ ร้อยละ 50.03 เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.97 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.41 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 18.81 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.81 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 36.99 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 11.83 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.15 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 95.15 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.94 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.75 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และ ร้อยละ 1.15 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 19.22 สถานภาพโสด ร้อยละ 77.15 สถานภาพสมรส ร้อยละ 1.96 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และ ร้อยละ 1.67 ไม่ระบุสถานภาพ ตัวอย่างร้อยละ 31.74 ระบุว่าจบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.37 ระบุว่าจบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.31 ระบุว่าจบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.06 ระบุว่าจบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.44 สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.08 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.91 ประกอบอาชีพ ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.56 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 24.18 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.02 ประกอบอาชีพ เกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.35 ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ14.25 ประกอบอาชีพ พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.65 ประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.06 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.02 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.35 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.04 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 ร้อยละ 32.26 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 มีร้อยละ 10.04 รายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 ร้อยละ 4.67 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 6.58 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 ขึ้นไป และร้อยละ 6.06 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!