นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ปฏิเสธนำเข้ากุ้งจากอินโดนีเซียจนทำให้ราคาในประเทศตกต่ำ

ศุกร์ ๐๙ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๒๕
บ่ายวันนี้ ที่โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย นำโดยนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วย ชี้แจงกรณีมีกระแสข่าวการนำเข้ากุ้งทะเลจากประเทศอินโดนีเซีย จนทำให้ราคากุ้งของเกษตรกรในประเทศตกต่ำ โดยสมาคมฯยืนยันว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการนำเข้ากุ้งสดจากประเทศอินโดนีเซียแต่อย่างใด และประเทศไทยก็ไม่ได้มีกฎหมายห้ามนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ แต่หากต้องการนำเข้า จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ของกรมประมง และกุ้งที่จะนำเข้าจากอินโดนีเซีย จะต้องเป็นกุ้งสุก หรือกุ้งที่ผ่านความร้อนด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส

ส่วนการที่สมาคมฯเข้าพบกรมประมงเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อขอให้กรมประมงอำนวยความสะดวกในการนำเข้ากุ้ง เพราะขณะนั้นผลผลิตกุ้งในไทยในช่วง 4 เดือนแรกมีปริมาณน้อยมาก ผู้ประกอบการห้องเย็นจึงต้องการหากุ้งมาผลิต เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออก และส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ากุ้งต้มสุก ผู้ประกอบการไม่มีความตั้งใจจะนำเข้ากุ้งเพื่อมากดดันราคากุ้งไทย และมีมาตรการว่า หากต้องการนำเข้ากุ้งต้องซื้อผลผลิตกุ้งในประเทศ ในอัตรากุ้งไทย 2 ส่วน ต่อกุ้งนำเข้า 1 ส่วน

นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า โดยปกติ ไม่มีกฎหมาย ห้ามนำเข้ากุ้ง แต่มีกระบวนการตรวจสอบโรคติดต่อ ของกรมประมงใช้เวลานาน กรณีของการขอนำเข้ากุ้งอินโดนีเซีย เป็นสมาชิกของสมาคมฯจริง ที่ได้ร่วมทุนกับญี่ปุ่น โดยมีฟาร์มเลี้ยงกุ้งในเกาะ Serum ซึ่งเลี้ยงกุ้งไซต์ใหญ่ ต้องการนำเข้ากุ้งมาแปรรูปเพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นและสหรัฐ ฯ แต่กรมประมงมีขั้นตอนตรวจสอบใช้เวลานาน เอกชนรายนั้นจึงยื่นหนังสือยกเลิกนำเข้าแล้ว และส่งไปแปรรูปที่เวียดนามแทนแล้ว

สำหรับราคากุ้งในประเทศที่ตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา ไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่ชัด และยืนยันว่าไม่ได้มีสาเหตุจากการนำเข้าจากอินโดนีเซียแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ปัจจุบันราคาได้ดีดกลับขึ้นมาแล้ว ส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างไรบ้างนั้น นายพจน์ กล่าวว่า ตอนนี้ห้องเย็นช่วยเกษตรกรอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามในเรื่องของการหาตลาดใหม่ ทดแทนตลาดอื่นที่หายไปนั้น ต้องยอมรับว่า ตลาดกุ้งมีจำกัด หาตลาดใหม่ไม่ได้ และขณะนี้ไทยสูญเสียตลาดกุ้งหักหัวไปแล้วเพราะมีผู้ผลิตประเทศอื่นเข้ามาทดแทน แต่ ไทยยังเป็นผู้นำในตลาดกุ้งต้มในโมเดิร์นเทรด และกุ้งแหวน

ทั้งนี้ การผลิตกุ้งภายในประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 159,000 ตัน และสิ้นปีคาดว่าจะอยู่ที่240,000-250,000 ตัน ซึ่งเป็นตัวเลขการผลิตที่ดีขึ้นหลังจากประสบปัญหาโรคตายด่วน แต่ยังไม่ถือว่าอยู่ในระดับปกติที่ในแต่ละปีการผลิตกุ้งไทยจะอยู่ที่ 4-5 แสนตัน หากว่าผลผลิตของไทยสามารถกลับไปที่ 3-3.5 แสนตันก็สามารถทำให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยกลับมาดีขึ้น

พร้อมกันนี้ สมาคฯ ได้เสนอให้กรมประมง จัดตั้ง กรอ.กุ้ง คณะกรรมการร่วมมือระหว่างภาคเอกชน โดยมีตัวแทนผู้ผลิตและส่งออก เกษตรกรผู้เลี้ยง และผู้แทนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายละ 3 คน ร่วมกำหนด นโยบายและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อความความยั่งยืนของอุตสาหกรรมต่อไป

ท้ายสุด ขอยืนยันว่าสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยและสมาชิกของสมาคมฯ จะร่วมมือร่วมใจ กับเกษตรกรเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมกุ้งเลี้ยงของไทยในระบบ Cluster เพื่อให้มีผลผลิตกุ้งเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital