สืบสาน “น้ำตาลมะพร้าวแท้” ที่ท่าคาก่อนสูญหาย

จันทร์ ๑๒ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๔๙

"...ลงไปเรียนรู้เองจะเกิดบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นในใจเขาเอง ถึงตอนเขาจะลงไปเขาไม่ได้มีจิตสำนึกอะไรในใจ แต่พอเขาได้ลงไปทำ เรียนรู้จริงก็อาจจะเกิดจิตสำนึกเหมือนกับที่ผมก็เกิดขึ้นมาแล้วครับ"

นี่คือหนึ่งในเสียงสะท้อนของกลุ่มเยาวชนตำบลท่าคา ที่กระตือรือล้นกับการตามรอยภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษ "น้ำตาลมะพร้าวท่าคา" อันเลื่องชื่อนั่นเอง ที่หมู่ที่ 5 ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม การทำน้ำตาลมะพร้าวแท้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ยาวนานหลายชั่วอายุคน ประโยชน์ของต้นมะพร้าวสามารถทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ใบทำเครื่องจักรสาน ไม้กวาด เชื้อเพลิงสำหรับติดไฟ ลำต้นขัดทำไม้กระดาน เสา เฟอร์นิเจอร์ ยอดใช้ประกอบอาหาร ลูกใช้รับประทาน น้ำหวานจากงวงมะพร้าวนำมาผ่านกระบวนการเป็นน้ำตาลมะพร้าว แต่เนื่องจากมีความเจริญมากขึ้น ทำให้รุ่นลูก หลาน และคนรุ่นหลังเปลี่ยนอาชีพไปประกอบอาชีพอื่นที่มีความสะดวกสบายมากกว่า เหนื่อยน้อยกว่า ไม่มีความเสี่ยงสูงอย่างการประกอบอาชีพการทำน้ำตาล จึงเหลือแต่เพียงคนรุ่นเก่าที่ยังคงทำอยู่ ซึ่งบางคนก็เลิกทำอาชีพนี้ไป ด้วยความห่วงในเรื่องการหายไปของอาชีพดั้งเดิมทำให้เกิดโครงการสำรวจท่าคาตามหาน้ำตาลมะพร้าวขึ้นมาโดยเยาวชนตำบลท่าคา ประกอบด้วย นัด-ชมน์สวัสดิ์ ฉิมเชื้อ พีท-ชาตรี ลักขณาสมบัติ ปีขาล-ขันติพงษ์ กาวิระใจ หนุ่ม-ธรรมนธี สุนทร และ กิ๊ฟ-ทวีพร คำสอน ภายใต้โครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ดำเนินงานโดยดำเนินงานโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

"ปีขาล"ได้เล่าถึงกระบวนการทำงานว่าเริ่มแรกกลุ่มได้ลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อได้ทราบถึงปัญหาในการทำน้ำตาลมะพร้าว การเก็บข้อมูลก็ชวนตกใจ เพราะจากการสอบถามจากอบต.ท่าคา ฐานข้อมูลบอกว่าในตำบลท่าค่ามีเตาเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าว 100 กว่าราย แต่เมื่อลงพื้นที่จริงกลับพบว่าเหลือเตาเพียง 20 รายเท่านั้น ที่ทำน้ำตาลมะพร้าวอยู่ แต่น้ำตาลมะพร้าวแท้ๆ มีอยู่ไม่ถึง 5 ราย และพบว่าผู้ประกอบการประสบปัญหาด้านการตลาดเพราะมีการแข่งขันด้านราคา หลังจากเก็บข้อมูล ได้มีการวางแผนจัดกิจกรรมให้กับเด็กเยาวชนในพื้นที่ และที่โรงเรียนถาวรานุกูล โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการเรียนรู้วิถีชีวิตอาชีพการทำน้ำตาลมะพร้าว หลังจากจัดกิจกรรมกับเด็กๆ แล้ว ทางกลุ่มได้จัดกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่ โดยเชิญผู้ประกอบการน้ำตาลมะพร้าวในพื้นที่เข้าร่วมประชุม เพื่อระดมความคิดเห็นหาแนวทางพัฒนาอาชีพ ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ใหญ่ใจดี นายวินัย นุชอุดมนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าคา ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน และคุณอาคม จันทรกูล รองธรรมาภิบาล ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม ยินดีมาเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ภาพรวมน้ำตาลมะพร้าวของจังหวัดและแนวคิดในการทำสหกรณ์ ผลการจัดกิจกรรมทำให้อบต.ท่าคา รับเรื่องที่จะผลักดันสนับสนุนผู้ประกอบการน้ำตาลมะพร้าวในการสร้างแบรนด์ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องผลิตน้ำตาลมะพร้าวแท้เท่านั้น ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการขานรับการรวมตัวเป็นสหกรณ์ โดยคาดหวังว่าจะช่วยเรื่องการรวบรวมผลผลิตไปจำหน่ายและกิจกรรมท้ายโครงการมีการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นแผนที่แสดงที่ตั้งของผู้ประกอบการน้ำตาลมะพร้าว แสดงพิกัดเป็น GPS และนำไปลงในเว็บไซต์ของอบต.ท่าคา และเพจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อประชาสัมพันธ์อีกทางหนึ่งด้วย

หลังทำโครงการจบเรียบร้อยแล้ว เยาวชนได้ร่วมสะท้อนการเรียนรู้ครั้งนี้ว่า...

"นัด"บอกว่า"การทำโครงการฯ ทำให้มีความสุขแม้ว่าบางครั้งมันจะเหนื่อย มันก็เป็นการเหนื่อยที่มีความสุข เราได้เรียนรู้ ได้พบเจอคนเราได้ทำอะไรใหม่ๆ ที่เราไม่เคยได้ทำ ตรงนี้เป็นโอกาสที่จะได้ทำ ได้เรียนรู้จริง อยากบอกเพื่อนๆ ว่าควรจะได้โอกาสลงมาทำกิจกรรมแบบนี้ จากที่เราได้เรียนรู้ต่างๆ นานา ถ้าหากหมดคนรุ่นพ่อ รุ่นแม่ สิ่งดีๆ เช่น น้ำตาลมะพร้าว วัฒนธรรมท้องถิ่นก็อาจจะหายไป ถ้าเราไม่สืบทอด ถ้าเราไม่ทำต่อ มันอาจเป็นแค่ตำนาน พอเราอายุ 50 60 ลูกหลานมาถามเราจะตอบเขาว่าอย่างไร ว่าน้ำตาลมะพร้าวเป็นอย่างไร แล้วผมตอบไม่ได้ เพราะมันเหลือแค่เพียงชื่อ ในตำนาน ก็เป็นความรู้สึกผิดอย่างหนึ่งที่เราไม่ได้สืบทอดให้มันอยู่มาอยู่ถึงรุ่นเขาได้ ตรงนี้เป็นหน้าที่ของทุกคนเราต้องลงมือทำ เราต้องทำจริง เราต้องทำให้ตรงนี้สำคัญขึ้นมาให้ได้ อย่างน้อยๆ เป็นการจุดประกายความคิดให้เขาหันมาสนใจ ถ้าทุกคนไม่ได้ลงไปสัมผัสจริงก็อาจจะคิดว่าไม่หายไปไหนหรอกมันยังอยู่ แต่ถ้าเขาได้ลงมาสัมผัสจริงเขาถึงจะรู้ว่าสถานการณ์มันลดลงถึงไหนแล้ว ถ้าเราไม่เข้าไปช่วยไม่เป็นคนหนึ่งที่เป็นกระบอกเสียง อนาคตข้างหน้าน้ำตาลมะพร้าวก็จะเป็นแค่ตำนานก็ได้ ลงไปเรียนรู้เองจะเกิดบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นในใจเขาเอง ถึงตอนเขาจะลงไปเขาไม่ได้มีจิตสำนึกอะไรในใจ แต่พอเขาได้ลงไปทำ เรียนรู้จริงก็อาจจะเกิดจิตสำนึกเหมือนกับที่ผมก็เกิดขึ้นมาแล้วครับ"

"พีท"บอกว่า"ผมได้ความรู้เรื่องน้ำตาลมะพร้าวมากขึ้นมากๆ อย่างต้นพะยอมที่เขาบอกว่าเป็นสารกันบูดธรรมชาติ ผมไม่เคยรู้มาก่อน ก็ได้มารู้ มันเป็นอะไรที่สนุก Amazing สำหรับผม ต้นไม้แค่ต้นหนึ่ง หรือก้านหนึ่งสามารถใช้เป็นสารกันบูดได้เลยหรือ มันสุดยอดมาก การทำน้ำตาลมะพร้าวเป็นเอกลักษณ์ มันคลาสสิคดี ผมชอบ"

"น้ำตาลมะพร้าว"ได้ช่วยปลุกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในใจดวงน้อยๆ ของเด็กกลุ่มนี้ ให้ช่วยกันเป็นอีกหนึ่งแรงที่จะได้ช่วยต่อลมหายใจให้กับอาชีพของชุมชนให้ออกไปอีก อย่างน้อยการเข้ามาช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มอาชีพนี้จะทำให้อาชีพนี้ได้รับความสนใจได้อีกครั้ง #ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่www.scbfoundation.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4