สศท.4 ศึกษาปัจจัยการปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม สู่การปลูกอ้อยโรงงาน ใน จ.ขอนแก่น

อังคาร ๒๗ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๓๓
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 เผยผลศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวหันปลูกอ้อยโรงงานพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีเพาะปลูก 56/57 ระบุ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกร คือ จำนวนแรงงานเป็นส่วนใหญ่ แนะ การส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงานและการให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกอ้อยโรงงาน จะเป็นปัจจัยให้เกษตรกรหันปลูกอ้อยโรงงานมากขึ้น

นางราตรี พูนพิริยะทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ในปี 2557 ไทยมีผลผลิตข้าวที่เกินความต้องการตลาดอยู่ที่ 5.371 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของผลผลิตข้าวทั้งหมด โดยไทยมีพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวอยู่ 11.223 ล้านไร่ จากพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศ 77.267 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 14.52 โดยในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวมากที่สุดถึง 8.2 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 95 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมทั้งประเทศ

สศท.4 ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวไปปลูกอ้อยโรงงานพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ได้ปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงานและไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงาน รวม 323 คน ในปีการเพาะปลูก 2556/57 ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวไปปลูกอ้อยโรงงาน ได้แก่ จำนวนแรงงานดูแลรักษา จำนวนแรงงานเก็บเกี่ยว ประสบการณ์ปลูกอ้อย ค่าปุ๋ย ต้นทุน และผลตอบแทน ตามลำดับ โดยได้พบว่า การปลูกอ้อยโรงงาน เกษตรกรต้องใช้แรงงานในการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรไม่ตัดสินใจเปลี่ยนจากการปลูกข้าวมาปลูกอ้อยโรงงาน ดังนั้น ภาครัฐจึงควรส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงาน เพื่อจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวมาปลูกอ้อยโรงงานให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องส่งเสริมให้ความรู้หรือฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการปลูกอ้อยโรงงานที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวอ้อยโรงงาน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกอ้อยโรงงานให้แก่เกษตรกร

นอกจากนี้ ควรส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยแก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย และควรจัดหาหรือขายพันธุ์อ้อยโรงงานราคาถูกให้แก่เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกอ้อยโรงงาน เพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกรที่ต้องการลงทุนปลูกอ้อยโรงงาน โดยประสานงานให้โรงงานน้ำตาลรับซื้อผลผลิตอ้อยโรงงานจากเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนมาปลูกอ้อยโรงงานในราคาดีเพื่อจูงใจ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวมาปลูกอ้อยมากยิ่งขึ้น นางราตรี กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๒๔ เม.ย. โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ