“ด่านลอยของตำรวจยังคงมีอยู่หรือไม่”

อังคาร ๒๗ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๒๖
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ด่านลอยของตำรวจยังคงมีอยู่หรือไม่" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 22 ตุลาคม 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการตั้งด่านลอยของตำรวจ หลังจากมีคำสั่งห้ามมีด่านลอยทั่วประเทศ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาค สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงพฤติกรรมการขับขี่ยานยนต์พาหนะของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.16 ระบุว่า ขับขี่ยานยนต์พาหนะเป็นประจำ ร้อยละ 18.48 ระบุว่า ขับขี่ยานยนต์พาหนะบ้างเป็นครั้งคราว ขณะที่ ร้อยละ 19.36 ไม่ได้ขับขี่ยานยนต์พาหนะ

ด้านการพบเห็นหรือเผชิญด่านลอยของตำรวจในปัจจุบัน ตั้งแต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) มีคำสั่งห้ามมีด่านลอยทั่วประเทศเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.76 ระบุว่า ไม่พบเห็นหรือเผชิญกับด่านลอยของตำรวจอีกเลยนับตั้งแต่มีคำสั่งห้าม รองลงมา 20.00 ยังคงพบเห็นหรือเผชิญกับด่านลอยของตำรวจอยู่เหมือนเดิม และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจว่าเป็นด่านลอยหรือไม่

สำหรับสิ่งที่ประชาชนจะทำ หากพบเห็นหรือเผชิญกับด่านลอยของตำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.59 ระบุว่า จะหยุดรถยอมให้ตรวจเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 11.21 ระบุว่า จะหยุดรถแต่ปฏิเสธการให้ตรวจ ร้อยละ 7.74 ระบุว่า จะถ่ายภาพนิ่ง หรือคลิปวิดีโอ ส่งไปยัง สตช. หรือโทรศัพท์ร้องเรียนไปยัง สตช. ร้อยละ 5.06 ระบุว่า จะถ่ายภาพนิ่ง หรือคลิปวิดีโอ ส่งไปยัง สื่อมวลชน หรือนำลงสื่อออนไลน์ ร้อยละ 3.77 ระบุว่า จะไม่ทำอะไร/เฉย ๆ ร้อยละ 2.08 ระบุว่า จะขับเลี้ยวไปในทางอื่นเพื่อจะได้ไม่ถูกตรวจ ร้อยละ 1.86 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น จะสอบถามและใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายเข้ามาช่วย บางส่วนจะไม่หยุดรถและไม่ให้ตรวจค้น และร้อยละ 4.66 ไม่ระบุ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับกฎระเบียบเบื้องต้นในการตั้งด่านของตำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.16 ไม่ทราบกฎระเบียบเบื้องต้นใด ๆ เลย เกี่ยวกับการตั้งด่านของตำรวจ รองลงมา ร้อยละ 30.24 การตั้งด่านต้องมีป้ายหยุดตรวจให้เห็นได้ในระยะไกล ร้อยละ 23.44 การตั้งด่านต้องมีตำรวจยศร้อยตำรวจเอกขึ้นไปเป็นผู้ควบคุมด่าน ร้อยละ 22.40 การตั้งด่านต้องมีตำรวจมากกว่า 5 นายปฏิบัติงาน ร้อยละ 17.28 การตั้งด่านกลางคืนต้องมีแสงสว่างให้เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ร้อยละ 4.80 การตั้งด่านต้องมีป้ายบอกชื่อหัวหน้าด่านชัดเจน ร้อยละ 1.52 การตั้งด่านต้องบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ร้อยละ 1.12 หลังเสร็จสิ้นภารกิจแล้วต้องแจ้งยกเลิกด่านตรวจทันที ร้อยละ 0.96 การตั้งด่านต้องเป็นไปตามแผนของหัวหน้าสถานี และร้อยละ 0.24 ผู้บังคับการต้องรู้ เรื่องการตั้งด่านอย่างน้อยด้วยการแจ้งทางวาจาผ่านวิทยุสื่อสาร

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.44 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 50.08 เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.60 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.32 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 9.68 มีอายุ ไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 20.48 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.76 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.68 อายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 9.52 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.88 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 92.64 นับถือศาสนา พุทธ ร้อยละ 3.28 อิสลาม ร้อยละ 0.96 คริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 3.12 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 22.00 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 71.60 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.40 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.00 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 30.56 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.36 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.96 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 22.32 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.12 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.68 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.24 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.68 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.52 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.52 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.36 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.16 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 3.84 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.28 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 26.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ร้อยละ 31.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ร้อยละ 10.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 3.20 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 4.96 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 8.08 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024