สำนักวิจัยสยามเทคโนฯ เผยผลโพลล์ จัดทำ รธน.เห็นควรใช้ร่างเดิมเป็นแนวทาง เน้นป้องกันทุจริต

ศุกร์ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๖:๐๒
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส, อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ, ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ, ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษา ร่วมแถลงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผานความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ

หลังจากที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นมาก่อนหน้า จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้น เพื่อทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง ซึ่งกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ทั้งในด้านเนื้อหาสำคัญที่จะบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญ แนวทางในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ระยะเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญและความคิดเห็นต่อการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ

จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 ถึง 30 ตุลาคม 2558

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,173 คน สรุปผลได้ ดังนี้ ในด้านข้อมูลทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 50.55 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.45 เป็นเพศชาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 30.26 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25 ถึง 34 ปี นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 34.02 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 31.54 เป็นลูกจ้าง/พนักงานในห้างร้านหรือบริษัทเอกชน

ในด้านความคิดเห็นต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 65.90 มีความคิดเห็นว่าควรนำเอาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อช่วยลดระยะเวลาการจัดทำให้เร็วขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.19 มีความคิดเห็นว่าไม่ควร ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.91 ไม่แน่ใจ

สำหรับประเด็นที่อยากให้คำนึงถึงมากที่สุดในการจัดทำรัฐธรรมนูญนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 31.20 อยากให้คณะกรรมการจัดทำรัฐธรรมนูญคำนึงถึงประเด็นเรื่องการควบคุมป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองและข้าราชการในการจัดทำรัฐธรรมนูญมากที่สุด รองลงมาอยากให้คำนึงถึงการให้สิทธิเสรีภาพในด้านต่าง ๆ ความเท่าเทียมกันในสังคมมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 27.28 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15.17 ร้อยละ 10.66 และร้อยละ 8.78 อยากให้คำนึงถึงประเด็นเรื่องการจัดทำเนื้อหาในประเด็นต่าง ๆ ให้ชัดเจน โดยไม่ต้องมีการโต้แย้งตีความในอนาคต การยกระดับคุณภาพด้านความเป็นอยู่ การศึกษา สาธารณสุข และการจำกัดการใช้อำนาจของนักการเมือง/ข้าราชการ ไม่ให้มีมากเกินไป มากที่สุดตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 5.03 อยากให้คำนึงถึงประเด็นการป้องกันความวุ่นวายทางการเมือง/ความขัดแย้งของประชาชนในชาติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตมากที่สุด โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 1.88 อยากให้คำนึงถึงประเด็นอื่น ๆ

ส่วนระยะเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญไปจนถึงการจัดการเลือกตั้งทั่วไปนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 39.56 คิดว่าควรใช้ระยะเวลามากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกินหนึ่งปีครึ่ง นับตั้งแต่การเริ่มจัดทำรัฐธรรมนูญไปจนถึงการจัดการเลือกตั้ง รองลงมาคิดว่าควรใช้เวลามากกว่า 1 ปีครึ่ง แต่ไม่เกิน 2 ปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 26.94 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15.94 คิดว่าควรใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.91 คิดว่าควรใช้เวลาประมาณ 2 ปีหรือมากกว่า โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 6.65 คิดว่าควรใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66.41 มีความคิดเห็นว่าการที่ต้องใช้เวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้นจะมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสให้มีการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 71.19 ระบุว่าตนเองไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียกร้องของบางประเทศ/องค์กรระหว่างประเทศที่กดดันให้ประเทศไทยรีบจัดการเลือกตั้งและกลับไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว

ในด้านความคิดเห็นต่อเหตุการณ์หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 48.59 เชื่อว่าหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่กำลังจะเริ่มจัดทำแล้วจะไม่เกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองอีก ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41.86 ไม่เชื่อ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9.55 ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 56.78 มีความคิดเห็นว่าจำเป็นต้องให้ประชาชนลงประชามติเพื่อรับ/ไม่รับรัฐธรรมนูญ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 33.16 มีความคิดเห็นว่าไม่จำเป็น และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.06 ไม่แน่ใจ

?

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest