ผลวิจัยเผยอุตสาหกรรมค้าปลีกและสินค้าผู้บริโภคต้องปรับปรุงห่วงโซ่มูลค่าเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

จันทร์ ๑๔ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๐๘:๓๓
Consumer Goods Forum และ Capgemini เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยต้องมีการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าที่มีอยู่ในปัจจุบันให้กลายเป็นเครือข่ายมูลค่าที่ขับเคลื่อนโดยผู้บริโภค

Consumer Goods Forum (CGF) และ Capgemini เปิดเผยข้อมูลจากรายงานฉบับใหม่ในหัวข้อ " Rethinking the Value Chain : New Realities in Collaborative Business" โดยระบุถึงแนวโน้มต่างๆในอนาคตของอุตสาหกรรมค้าปลีกและสินค้าผู้บริโภค (CPR) และสรุปว่า "ห่วงโซ่มูลค่า" แบบดั้งเดิมไม่เพียงพอต่อการตอบสนองตลาดอีกต่อไป หากต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว จำเป็นต้องใช้ "เครือข่ายมูลค่า" ในการทำธุรกิจ รายงานฉบับนี้ได้รับการเปิดเผยระหว่าง การประชุมคณะกรรมการบริหารของ CGF ในกรุงอัมสเตอร์ดัม โดยผู้เข้าร่วมประชุมที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษประกอบด้วย มูห์ตาร์ เคนท์ ประธานและซีอีโอบริษัท โคคา-โคลา คัมปะนี และโมโตยะ โอกาดะ ประธานและซีอีโอกลุ่มบริษัทอิออน ผู้ริเริ่มโปรเจคท์นี้ในระดับผู้บริหาร และเป็นผู้สนับสนุน End-to-End Value Chain & Standards Pillar ซึ่งเป็นหัวใจของโปรเจคท์นี้

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20151201/292056LOGO )

มุมมองใหม่เกี่ยวกับห่วงโซ่มูลค่านี้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เราต้องเลิกคิดว่าห่วงโซ่มูลค่าเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ซึ่งผลิตภัณฑ์และข้อมูลข่าวสารไหลเป็นแนวตรงจากซัพพลายเออร์ไปยังผู้ผลิต-ผู้ค้าปลีก-ผู้บริโภคตามลำดับ แต่ควรมองว่าเป็นเครือข่ายมูลค่าที่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง โดยมีการไหลของสินค้าและข้อมูลหลากหลายช่องทางตลอดกระบวนการเพิ่มมูลค่าและการดำเนินธุรกิจ ท้ายที่สุดแล้ว ผู้บริโภคกำลังมีอำนาจมากขึ้น โดยเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งต่างๆที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเครือข่ายมูลค่า และอุตสาหกรรมต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มิใช่ผู้บริโภคตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม

มูห์ตาร์ เคนท์ กล่าวว่า "ผู้บริโภคทุกวันนี้มีอำนาจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีอำนาจและช่องทางในการแบ่งปันความเห็นและความกังวลต่างๆกับผู้รับสารกลุ่มใหญ่ขึ้นกว่าที่เคย ผ่านทางสื่อดิจิตอลและโซเชียลที่ขยายขอบเขตกว้างขึ้น ในยุคที่ผู้บริโภคมีความคาดหวังมากขึ้นและปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ เราต้องถามตัวเองว่า เราจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมและทำประโยชน์ให้ผู้บริโภคได้อย่างไร ท่ามกลางความท้าทายที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนซึ่งรออยู่ข้างหน้านี้ ดังนั้น รายงานฉบับนี้ที่จัดทำโดย Consumer Goods Forum จึงได้พิจารณาถึงแนวทางสำคัญบางประการในการคาดคะเนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเชิงลึกนี้"

รายงานฉบับนี้คือผลลัพธ์จากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ครอบคลุม และการสัมภาษณ์ผู้นำทางความคิดจากธุรกิจ CPR ชั้นแนวหน้าของโลก รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในประเด็นดังกล่าว รายงานนี้ตอกย้ำว่าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปฏิรูปแนวทางการประสานงานกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด

โมโตยะ โอกาดะ แสดงความเห็นว่า "สมาชิกของ Consumer Goods Forum และอุตสาหกรรมของเรา มีความรับผิดชอบร่วมกันในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับผู้บริโภคทั่วโลก รายงาน Future Value Network ฉบับนี้ เน้นถึงโอกาสใหม่ๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงมากมายที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมของเรา เพื่อให้เราทั้งหมดมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการทำให้ชีวิตของผู้บริโภคดียิ่งกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็แสดงความรับผิดชอบของเราในด้านคุณค่าและความน่าเชื่อถือ เราสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ด้วยการร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ดังนั้น เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน"

รายงานนี้เน้นประเด็นสำคัญ 3 ประการ ที่จะสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการลงทุน และอุตสาหกรรมควรประสานความร่วมมือกัน ดังนี้

- การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค

เข้าไปพูดคุยกับผู้บริโภคอย่างจริงจัง และทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมของเรา อุตสาหกรรมจำเป็นต้องอัพเดทข้อมูลของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเพิ่มมูลค่าในการตอบสนองความต้องการและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคได้ โดยบริษัทต่างๆจำเป็นต้องใช้หลักการที่ชัดเจนร่วมกันเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค

- ความโปร่งใส

แจ้งให้ผู้บริโภคทราบอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับธรรมชาติและการตรวจสอบย้อนกลับของส่วนประกอบ สารอาหาร และแหล่งที่มาของสินค้า รวมถึงให้ข้อมูลผู้บริโภคเกี่ยวกับรายละเอียด ความปลอดภัย ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขณะเดียวกันก็ต้องยกระดับประสิทธิภาพในอุตสาหกรรม เหล่านี้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการร่วมกันกำหนดนิยามข้อมูลผลิตภัณฑ์ คุณภาพข้อมูล และการแบ่งปันข้อมูลทั่วโลก นอกเหนือไปจากการติดตามตรวจสอบและการตรวจสอบบัญชีทั่วไป

- การส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค

กลับไปทบทวนความคิดที่ว่า การจัดส่งสินค้าไปยังร้านค้าและผู้บริโภคคือกระบวนการที่บริษัทต่างๆดำเนินงานอย่างเป็นอิสระจากกัน จากนั้นลองแสวงหาโอกาสในการร่วมมือกันภายใต้สภาวการณ์ที่เหมาะสม เพื่อยกระดับความรวดเร็ว ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด การดำเนินงานในรูปแบบใหม่นี้จำเป็นต้องมี "เครือข่าย" พันธมิตรรูปแบบใหม่ ในการไขว่คว้าโอกาสเหล่านี้ ภาคอุตสาหกรรมจะต้องลงทุนในเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่น กระบวนการทำงานใหม่ และวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างมากขึ้น

ปีเตอร์ ฟรีดแมน กรรมการผู้จัดการของ Consumer Goods Forum กล่าวว่า "CGF แสวงหาแนวทางสนับสนุนธุรกิจต่างๆให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคมาโดยตลอด รายงานนี้ตอกย้ำความสำคัญของการลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งสองประการ ทั้งยังสนับสนุนพันธกิจของเราและกระตุ้นให้เราเร่งสร้างความร่วมมือกันในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม"

เท็ด เลอวีน ผู้นำระดับโลกฝ่ายสินค้าผู้บริโภคและการค้าปลีกจาก Capgemini แสดงความเห็นว่า "ในฐานะอุตสาหกรรม เราจำเป็นต้องเห็นพ้องกันเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีจำเพาะ ซึ่งนำเสนอแนวทางการทำธุรกิจและบริการบิ๊กดาต้า เพื่อผลักดันสินค้าสู่ตลาดให้เร็วขึ้นและสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม สำหรับ Capgemini เรามองเห็นโอกาสสำหรับบริษัทค้าปลีกและสินค้าผู้บริโภคในการเดินหน้าสู่ห่วงโซ่อุปทานที่ขับเคลื่อนโดยผู้บริโภค ซึ่งสร้างเครือข่ายมูลค่าแบบ end-to-end ที่เข้าถึงผู้บริโภคในพื้นที่จากทุกช่องทาง ทุกการมองเห็น และทุกการรับรู้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล"

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมและดาวน์โหลดรายงานได้ที่ http://www.futurevaluenetwork.com

เกี่ยวกับ Consumer Goods Forum (CGF)

Consumer Goods Forum (CGF) คือเครือข่ายอุตสาหกรรมระดับโลกที่ยึดหลักความเสมอภาค บรรดาสมาชิกของเครือข่ายได้ร่วมกันผลักดันให้ทั่วโลกใช้หลักปฏิบัติและมาตรฐานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสินค้าผู้บริโภคทั่วโลก สมาชิกเหล่านี้ประกอบด้วยซีอีโอและผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทค้าปลีก ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และอื่นๆ กว่า 400 แห่งจาก 70 ประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงความหลากหลายของอุตสาหกรรมทั้งในด้านภูมิศาสตร์ ขนาด ประเภทสินค้า และรูปแบบธุรกิจ บริษัทสมาชิกมียอดขายรวมกัน 2.5 ล้านล้านยูโร มีการจ้างพนักงานโดยตรงรวมกันเกือบ 10 ล้านคน และมีลูกจ้างที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่มูลค่าอีก 90 ล้านคน ทั้งนี้ CGF กำกับดูแลโดยคณะกรรมการบริหารที่ประกอบด้วยซีอีโอจากบริษัทผู้ผลิตและบริษัทค้าปลีก 50 ราย

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.theconsumergoodsforum.com

เกี่ยวกับ Capgemini

Capgemini เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดในโลกในด้านการให้คำปรึกษา เทคโนโลยี และการจัดจ้างบุคคลภายนอก บริษัทมีพนักงาน 180,000 คนใน 40 ประเทศ และมีรายได้ทั่วโลก 1.0573 หมื่นล้านยูโรในปี 2557 Capgemini สร้างสรรค์และส่งมอบโซลูชั่นธุรกิจ เทคโนโลยี และดิจิตอลที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายด้านนวัตกรรมและความสามารถในการแข่งขัน Capgemini เป็นองค์กรพหุวัฒนธรรมอย่างแท้จริง บริษัทได้พัฒนารูปแบบการดำเนินงานของตนเองอย่าง Collaborative Business Experience(TM) และใช้โมเดลการส่งสินค้าทั่วโลกอย่าง Rightshore(R) ด้วย

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.capgemini.com

Rightshore(R) คือเครื่องหมายการค้าของ Capgemini

ที่มา: Consumer Goods Forum และ Capgemini

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๓ เซ็นทารา เปิดตัว โคซี่ เวียงจันทน์ น้ำพุ โรงแรมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมอิสระแห่งการเดินทาง
๑๐:๐๙ THE GAIN ยกขบวนวิทยากรระดับประเทศ มุ่งสู่งานสัมมนา การเทรดและลงทุนปี 2024
๑๐:๒๗ W เผย IFA หนุนเพิ่มทุน 2.5 พันล้านหุ้นขาย PP รับแผนเข้าถือหุ้นฟรุตต้าฯ 51% พร้อมปลดล็อก CBC
๑๐:๓๐ ผถห.TFG โหวตหนุนแจก TFG-W4 ฟรี! อัตรา 10 : 1 ราคาใช้สิทธิ 3.80 บ.พร้อมจ่ายปันผลเงินสด 0.01 บ./หุ้น ปักธงปี 67 รายได้โต 10%
๑๐:๑๙ ASIA เตรียมขายหุ้นกู้มีหลักประกัน มูลค่า 300 ลบ. อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 7 - 7.20% มูลค่าหลักประกันเฉียด 1,600 ลบ. คาดเปิดจองซื้อวันที่ 27 - 29 พ.ค.
๑๐:๓๘ ไมเนอร์ โฮเทลส์ ประกาศรวมอัตลักษณ์องค์กรในระดับโลก ด้วยการรีแบรนด์ เอ็นเอช โฮเทล กรุ๊ป เป็น ไมเนอร์ โฮเทลส์ ยุโรป แอนด์
๑๐:๕๔ ยูนิโคล่ร่วมกับมารีเมกโกะ เปิดตัว UNIQLO x Marimekko คอลเลคชันลิมิเต็ดเอดิชันประจำฤดูร้อน 2024 เติมเต็มความสดใสให้ซัมเมอร์ ในธีม Joyful Summer
๑๐:๔๒ TERA ฟอร์มเจ๋ง! เปิดเทรดวันแรกเหนือจอง 122.86% ลุยให้บริการ T.Cloud รับอนาคตธุรกิจคึกคัก ปักหมุดผลงาน 3 ปีเติบโตเฉลี่ยเกิน
๑๐:๐๙ โบรกฯ แสกน GFC ส่งซิก Q1/67 พุ่ง
๑๐:๐๐ ผถห. WINMED ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.0295 บ./หุ้น-รับเงิน 21 พ.ค.นี้ รุกตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก เพิ่มรายได้ประจำผถห. ตั้งเป้ารายได้ปี 67 โตเกิน 20%