กระทรวงเกษตรฯ ชี้คืบหน้า 8 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เดินหน้าเบิกจ่ายงบ ส่วนม. 4 ขยายเวลาพิจารณาถึงสิ้น ม.ค. นี้ เร่งช่วยเหลือเกษตรกรผ่านวิกฤติภัยแล้งอย่างยั่งยืน

พุธ ๑๓ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๑:๓๙
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/59 ว่า การประชุมในวันนี้เน้นการติดตามความก้าวหน้าเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งใน 22 จังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้ง 8 มาตรการ ซึ่งมีความคืบหน้า ดังนี้ มาตรการที่ 1 การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน มีเป้าหมายช่วยเหลือเกษตรกร 385,958 ราย โดยขณะนี้ได้โอนเงินงบประมาณสู่จังหวัดเรียบร้อยแล้ว ส่วนบางจังหวัดที่ยังติดขัดในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ด้านมาตรการลดค่าครองชีพโดยจำหน่ายสินค้าราคาเหมาะสม กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการจัดงานธงฟ้าช่วยเหลือภัยแล้งไปแล้ว 164 ครั้ง ใน 21 จังหวัด ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้ได้ตามเป้าหมาย 400 ครั้งต่อไปมาตรการที่ 2 การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสถาบันการเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ดำเนินการอนุมัติสินเชื่อเกษตรกรแล้ว 61,359 ราย วงเงิน 1,200 ล้านบาท ส่วนธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อให้แก่เกษตรกรแล้ว 7,210 ราย วงเงิน 6,396 ล้านบาท

มาตรการที่ 3 การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือไปแล้วกว่า 3.2 ล้านราย ครอบคลุมพื้นที่ 46 จังหวัด เบิกจ่ายงบประมาณแล้ว 18 ล้านบาทมาตรการที่ 4 การเสนอโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง ซึ่งใช้เวลาในการพิจารณาค่อนข้างนานเนื่องจากมีรายละเอียดของโครงการค่อนข้างมาก โดยแยกเป็น 2 ระยะ คือ 1) การปลูกพืชใช้น้ำน้อย ขณะนี้ได้อนุมัติโครงการและดำเนินการไปแล้ว 155 โครงการ วงเงิน 151 ล้านบาท 2) โครงการด้านการเกษตรอื่นและนอกภาคการเกษตร มีการเสนอโครงการเข้ามา 7,419 โครงการ ได้รับการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯ ในชั้นแรกอนุมัติเพียง 1,853 โครงการ วงเงิน 1,213 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 5,566 โครงการนั้น ไม่ผ่านการพิจารณาเนื่องจากผิดเงื่อนไข เอกสารไม่ครบ ไม่แสดงความเชื่อมโยงผลผลิตกับการตลาด ไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการผลผลิตและรายได้ เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้อนุมัติหลักการว่า เนื่องจากเป็นปัญหาเล็กน้อยจึงขอส่งเอกสารกลับไปปรับแก้หรือเพิ่มเติมเอกสารให้ครบถ้วน จะขยายเวลาจนถึงสิ้นเดือน ม.ค.นี้ และเมื่อโครงการผ่านการพิจารณาแล้ว จะเสนอเข้าครม. ตามโครงการที่ผ่านการพิจารณาก่อนหน้านี้ต่อไป

ด้านการให้ความช่วยเหลือตามประกาศภัยพิบัตินั้น ที่ยังไม่มีการประกาศดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับวิธีการบริหารจัดการโดยให้ใช้เงินทดรองราชการเข้าไปดูแลในเชิงยับยั้งป้องกันการเกิดภัยพิบัติ และดูแลด้านมาตรการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ และหากพื้นที่ใดมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจะเข้าไปบริหารจัดการทันที

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้