ป่าครอบครัว : มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน...เพื่อการพึ่งพาตนเอง

จันทร์ ๐๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๖:๔๕
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization) : BEDO (เบโด้) ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ทั้งในระดับชุมชน และภาคธุรกิจ โดยการสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ และภาคประชาชน ในรูปแบบสมัชชาอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยมีโครงการที่ดำเนินการขับเคลื่อนในรูปแบบดังกล่าว คือ โครงการป่าครอบครัว เพื่อการพึ่งตนเองและความมั่นคงทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีปรัชญาในการดำเนินงาน คือ "การให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และการเชื่อมโยงเครือข่าย" โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ให้เกิดการจัดการป่าอย่างยั่งยืน 2) เพื่ออนุรักษ์ และเพิ่มพื้นที่ป่าครอบครัวให้มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ และ 3) เพื่อเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดผลกระทบปัญหาภาวะโลกร้อน

ป่าครอบครัวเพื่อการพึ่งพาตนเองและความมั่นคงทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมแก่ทุกภาคส่วนให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สพภ. ได้จัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจาก อบจ. อบต ชุมชน ตำบล โรงเรียน วัด หน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ ตลอดจนกลุ่มเครือข่ายต่างๆ โดยทำข้อตกลงร่วมกันในรูปแบบปฏิญญา (สมัชชา/ เสวนา) เพื่อให้ชุมชน ท้องถิ่น เกิดจิตสำนึกตระหนักถึงการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พร้อมๆกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พื้นที่สีเขียว...ทรัพยากรชีวภาพของประเทศให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งในองค์ความรู้ การใช้ทรัพยากรของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการดูแลรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืนสืบทอดต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

ผศ.ดร. วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เล่าให้ฟังถึงป่าครอบครัวที่ผ่านมาในเรื่องของทรัพยากรชีวภาพ จริงๆ ชาวบ้านมีแต่เดิม แต่ต่อมาวิถีสังคมเปลี่ยนมาเป็นสังคมเมือง และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เร็ว ชาวบ้านเลยไม่ได้สนใจในสิ่งที่ตนเองมี อย่างตอนเช้าก็ต้องรอรถพุ่มพวงในการซื้อของ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เช่น เวลาซื้อพริก คนขายๆ เป็นกำ ซื้อมาแล้วก็ใช้ไม่หมด มีทั้งใช้และทิ้ง เลยคิดว่าเรื่องป่าครอบครัวน่าจะเป็นพื้นฐานในการทำให้ความหลากหลายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของครัวเรือนก็ยังดีอยู่ เพราะเราคิดว่าครอบครัวเป็นเซลล์เล็กๆ ในสังคม ถ้าเขาดูแลตัวเองได้ มีความตระหนักและเห็นความสำคัญ เมื่อดูแลป่าครอบครัวได้ ก็ขยับไปดูป่าชุมชนได้

ป่าครอบครัวเริ่มต้นอย่างไร หากจะขับเคลื่อนเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ให้มีพลัง ทำลำพังคงไม่ได้ ควรทำในรูปแบบสมัชชา... สมัชชาของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน BEDO เห็นว่า ก่อนที่จะให้ชาวบ้านอนุรักษ์ ชาวบ้านต้องสามารถยืนอยู่ได้ เลยเป็นที่มาของ...ป่าครอบครัว

ป่าครอบครัวคืออะไร ? แหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ในที่ดินที่ครอบครัวครอบครองอยู่ อาจเป็นพื้นที่ป่าดั้งเดิมที่ครอบครัวอนุรักษ์ไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติ หรือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวพัฒนาขึ้นให้เป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพหรือมีสภาพที่ใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ

- ป่าครอบครัวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นป่าธรรมชาติอย่างแท้จริง ที่ครอบครัวอนุรักษ์ไว้ ป่าประเภทนี้อาจมีอยู่ดั้งเดิม หรืออาจเกิดจากที่โล่งเตียนแล้วปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ แล้วก็ค่อยเปลี่ยนสภาพกลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ หรือตามกระบวนการทดแทนของสังคมพืช ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปี เช่น ป่าหัวไร่ปลายนา เป็นต้น

- ป่าครอบครัวที่ครอบครัวสร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของครอบครัว ภายในเวลาที่ไม่ยาวนานมากนัก 5 -10 ปี ป่าครอบครัวประเภทนี้อาจเรียกว่า สวนเกษตรยั่งยืน สวนสมรม วนเกษตร สวนพฤกษศาสตร์ สวนสมุนไพร เป็นต้น

โครงการ "ป่าครอบครัว" เป็นแนวคิดที่ครอบครัวนำพืชที่ชอบรับประทานหรือใช้ประโยชน์ พืชสมุนไพร หรือ ไม้ยืนต้นตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาปลูกในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่สวน ไร่ (ปลูกแซมหรือปลูกเสริม) โดยปลูกแบบไม่เป็นแถวเป็นแนวลักษณะเลียนแบบธรรมชาติ มีการเพาะปลูกให้เหมาะสมตามลักษณะและข้อจำกัดของพืชแต่ละชนิด ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไป จะมีพัฒนาการตามธรรมชาติในพื้นที่ที่ปลูก ไปสู่ระบบนิเวศอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น มีพรรณพืชใหม่ที่เกิดขึ้นอีกหลายชนิด จนกลายเป็นป่าครอบครัว ซึ่งจากระบบนิเวศที่สมบูรณ์ดังกล่าว จะทำให้แต่ละครอบครัวมีแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร และแหล่งไม้ใช้สอยที่สมบูรณ์อย่างเพียงพอ สร้างระบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถนำผลิตผลที่เหลือจากการบริโภคของครอบครัวมาขายหรือนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ โดยอาศัยองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือองค์ความรู้ใหม่มาใช้เป็นพื้นฐานในการผลิตและการพัฒนา ซึ่งจะนำไปสู่การลดรายจ่ายและสร้างรายได้ให้แต่ละครอบครัวได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป

สำหรับผู้ที่สนใจโครงการสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.bedo.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4