การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

อังคาร ๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๑:๐๙
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2559 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไข การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่าง แบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และ มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญควรให้ทุกพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ในสภาฯ มีความเห็นชอบร่วมกันในเรื่องที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.48 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 11.92 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.16 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ อยากให้มีการลงประชามติก่อนและอยากให้ทุกคน มีส่วนร่วมด้วยไม่ใช่เฉพาะ ส.ส. และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญควรให้สมาชิกวุฒิสภา ให้ความเห็นชอบกับเรื่องที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.08 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 12.96 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.16 ระบุว่าอื่น ๆ ได้แก่ อยากให้มีการลงประชามติก่อนและอยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมด้วยไม่ใช่เฉพาะ ส.ว. และร้อยละ 2.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐจะกระทำมิได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.04 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 31.20 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.08 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ แบบไหนก็ได้ขอให้ประเทศดีขึ้น และร้อยละ 5.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า ต้องให้มีการลงประชามติ ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในส่วนที่เป็นขั้นตอนและวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.56 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 8.40 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า ต้องให้มีการลงประชามติ ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.92 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 8.96 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.44 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 55.04 เป็นเพศชาย ร้อยละ 44.88 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 9.28 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 22.96 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.08 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 29.52 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 12.24 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 92.96 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.84 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.04 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 2.16 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 23.92 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 72.40 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 1.44 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 23.12 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.76 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.32 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.04 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.40 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.36 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 13.36 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.80 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.36 ประกอบอาชีพเจ้าของ

ธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.12 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.80 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 12.88 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.24 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.64 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.16 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 34.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.52 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.80 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ