ปภ. แนะวิธีปฏิบัติกรณีเกิดเพลิงไหม้อาคารสูง

พุธ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๑:๕๙
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติกรณีเกิดเพลิงไหม้อาคารสูง โดยผู้ประสบภัยต้องตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก รีบอพยพออกจากอาคารทางบันไดหนีไฟ หากมีควันไฟปกคลุมเส้นทางให้ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูกหรือใช้ถุงพลาสติกใสคลุมศีรษะ พร้อมหมอบคลานต่ำไปทางเส้นทางหนีไฟที่ใกล้ที่สุด ห้ามใช้ลิฟต์และบันไดภายในอาคาร ไม่เข้าไปอยู่ในจุดอับของอาคาร ไม่ขึ้นไปบนดาดฟ้า เพราะไฟจะลุกลามจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน รวมถึงยากต่อการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่มีผู้อาศัยจำนวนมาก ซึ่งพื้นที่ใช้งานที่กว้างขวางและความสูงของอาคาร ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ได้รับอันตรายกรณีเกิดเพลิงไหม้ อีกทั้งหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะยากต่อการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติกรณีเพลิงไหม้อาคารสูง ดังนี้ ตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก ตะโกนบอกหรือกดสัญญาณแจ้งเตือนให้ผู้อื่นอพยพออกจากอาคาร จากนั้นโทรศัพท์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงมาระงับเหตุและควบคุมเพลิง ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตูก่อนออกจากห้อง หากมีความร้อนสูงแสดงว่าเกิดเพลิงไหม้บริเวณใกล้เคียง ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะควันไฟและเปลวเพลิงจะเข้ามาในห้อง อีกทั้งการถ่ายเทอากาศ ทำให้เพลิงไหม้รุนแรงมากขึ้น หากลูกบิดไม่ร้อน ให้เปิดประตูออกไปช้าๆ และหมอบคลานต่ำไปตามเส้นทางอพยพหนีไฟที่ปลอดภัยในทันที หลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจโดยตรง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปากหรือนำถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาคลุมศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย ทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ จากนั้นให้อพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย โดยใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากบันไดหนีไฟมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย ห้ามหนีไปในทิศทางที่สวนกับควันไฟและความร้อน หากจำเป็นให้หมอบคลานต่ำ เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์ที่อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต หรือย่อตัวใกล้ระดับพื้นมากที่สุด เพราะไอความร้อนและควันไฟจากเพลิงไหม้จะลอยตัวขึ้นสู่ด้านบน ห้ามใช้ลิฟต์ และบันไดภายในอาคารอพยพหนีไฟ เพราะมีลักษณะเป็นช่อง ทำให้ควันไฟ ความร้อนและเปลวเพลิงสามารถลอยเข้าไปได้ ส่งผลให้สำลักควันไฟเสียชีวิต อีกทั้งเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ลิฟต์หยุดทำงาน จึงติดค้างอยู่ในลิฟต์ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ ที่สำคัญ ไม่ควรอพยพหนีไฟเข้าไปอยู่บริเวณที่เป็นจุดอับของอาคาร อาทิ ห้องน้ำ ห้องใต้ดิน รวมถึงไม่หนีไฟขึ้นไปบนดาดฟ้า เพราะไฟจะลุกลามจากด้านล่างขึ้นบนรวมถึงยากต่อการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้อาคารสูง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ทำให้สามารถเอาตัวรอดจากเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างปลอดภัย

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4