“ดร.นเรศ” อดีตนร.ทุน กพ.แนะปรับระบบค้ำประกัน ไม่กระทบผู้บริสุทธิ์

พฤหัส ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๔:๔๔
"ดร.นเรศ" อดีตนร.ทุน กพ.แนะปรับระบบค้ำประกัน ไม่กระทบผู้บริสุทธิ์ แต่ให้เป็นหน้าที่ของนักเรียนที่ต้องชดใช้เอง

จากกรณีปัญหานักเรียนทุนรัฐบาลหนีทุน จนต้นสังกัดต้องไปไล่เบี้ยกับผู้ค้ำประกัน เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมโลกออนไลน์และความสนใจของสื่อมวลชนตลอดจนประชาชนทั่วไป

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตนักเรียนทุนกพ.กล่าวว่า ปัญหาการหนีทุนของนักเรียนทุนรัฐบาลนั้นยังมีอีกหลายกรณี ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมานานเพียงแต่อาจเพิ่งถูกเปิดจากกรณีมีการฟ้องร้องเนื่องจากคดีใกล้หมดอายุความ และมีการไล่เบี้ยจากผู้ค้ำประกัน ซึ่งแม้ทางต้นสังกัดจะไม่ต้องการให้เกิดการฟ้องร้องหรือไล่เบี้ย แต่โดยกระบวนการทางกฎหมายเงินหลวงต้องมีผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไขที่กำหนดในครั้งแรก ซึ่งทุกฝ่ายเองก็ทราบดี และไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดปัญหาในภายหลัง

"ผมได้คุยกับเพื่อน ๆ ที่เรียนวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) หลายคนเห็นตรงกันว่า ควรปรับระบบการค้ำประกัน เนื่องจากโดยปกติแล้วคนค้ำประกันจะเป็นพ่อแม่แต่หากไม่มีหลักทรัพย์ ก็ให้อาจจะให้ญาติหรือคนรู้จักเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งทุกคนก็หวังดีเพราะเด็กเองก็ตั้งใจไปเรียน แต่เมื่อเกิดปัญหานักเรียนหนีทุนไม่กลับมาใช้ทุนในประเทศ จึงเกิดการฟ้องร้องเป็นประเด็นกันขึ้นมา ผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายรายที่จะเกิดปัญหาในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น รัฐบาลต้องกล้ายกเลิกระบบที่ให้ผู้อื่นมารับผิดชอบโดยไม่มีความผิด แต่ให้นักเรียนทุนรับผิดชอบชดใช้ทุนเองและฟ้องร้องกันได้โดยตรงอย่าให้หนีไปได้อย่างลอยนวล โดยอาจจะต้องต่อรองกับประเทศหรือสถาบันการศึกษาที่ผู้รับทุนไปเรียนให้ร่วมผูกมัดผู้รับทุน หรือเปลี่ยนมาใช้ระบบหักใช้ทุนจากเงินเดือนหรือรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะไปทำงานอยู่ในภาครัฐหรือเอกชน" ดร.นเรศ กล่าว

สำหรับ ดร.นเรศ ดำรงชัย รับทุน กพ.ไปศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นในระดับมัธยมจนจบปริญญาเอก โดยมีความตั้งใจจะศึกษาต่อทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เนื่องจากเป็นเทรนด์ใหม่ของโลกโดยถือต้นแบบจากกระแสบูมสตาร์ทอัพของบริษัท จีเนเทค ที่ให้ทุนนักวิจัยและมีผลผลิตออกมาจริงราวปี 1980 กว่า ๆ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 6 ของประเทศไทยที่ได้ระบุไว้กว้าง ๆ เรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพที่สามารถตอบได้ทุกโจทย์ตั้งแต่เกษตร พลังงาน สาธารณสุข ไบโอเทค ฯลฯ จึงตัดสินใจเลือกเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว สาขา ไบโอเอนจิเนียริ่ง ซึ่งเปิดเป็นรุ่นแรก จนจบปริญญาเอก และกลับมาทำงานใช้ทุนที่ประเทศไทยในหน้าที่นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โดยทำวิจัยเกี่ยวกับการสร้างผิวหนังเพื่อปลูกถ่ายให้กับคนถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลนพรัตน์ และโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ต่อมาได้เป็นนักวิจัยเชิงนโยบายและเป็นผู้อำนวยการศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค ก่อนจะมาเป็นผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสายงานที่เจ้าตัวได้มองโอกาสการเติบโตล่วงหน้าถึง 30 ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๒๑ งานวิจัย Kaspersky เผย ผลร้ายจากภัยคุกคามเป็นตัวกระตุ้นรูปแบบพฤติกรรมทางไซเบอร์ของนักการศึกษามากที่สุด
๐๘:๓๓ ซินเน็คฯ จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมกางแผนสร้างการเติบโต สู่เป้ารายได้ 40,000
๐๘:๓๘ BRR ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น แบบ Hybrid ประจำปี 2567 ผถห. เคาะจ่ายปันผล 0.20 บาท/หุ้น - ชูสตอรี่ ESG สู่ความยั่งยืน
๐๘:๑๖ DEMI HAIR CARE SCIENCE เปิดตัวผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูผมเสียอย่างล้ำลึก ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
๐๘:๓๔ ซีอีโอ BBGI ร่วมงาน OECD Global Forum on Technology ขึ้นเวทีเสวนาระดับโลกในหัวข้อ Sustainable Production ที่กรุงปารีส
๐๘:๒๓ ฟันโอ-ทิวลี่ คว้ารางวัล 2023 Top Influential Brands Award สุดยอดแบรนด์ที่ทรงอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากที่สุด
๐๘:๔๗ เฮอริเทจ จัดโปรแรง เอาใจคนรักผลไม้ ลดสูงสุดกว่า 15%
๐๘:๕๘ ต้อนรับฤดูร้อนสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนกับ GAMBERO ROSSO DI MAZARA กุ้งแดงมาซาร่า-ราชินีแห่งท้องทะเลซิซิลี ที่ห้องอาหารอิตาเลียน
๐๘:๔๐ Tinder ส่งฟีเจอร์ใหม่ Share My Date แชร์แผนการออกเดทในแอพฯ แบบเรียลไทม์ให้เพื่อน-ครอบครัว
๐๘:๐๘ เลี้ยงลูกตามใจ ไม่เคยขัดใจ เด็กอาจเสี่ยงเป็นฮ่องเต้ซินโดรม