"สุทธิพล”ประกาศขับเคลื่อนภารกิจ “8 สร้าง” พ่วง CSV นำประกันชีวิตไทยเติบโตแบบยั่งยืน

พุธ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๔:๑๘
"สุทธิพล"ประกาศขับเคลื่อนภารกิจ "8 สร้าง" พ่วง CSV นำประกันชีวิตไทยเติบโตแบบยั่งยืน ระบุจับตามองขบวนการรับจ้างเคลมใกล้ชิดหวั่นอุตสาหกรรมประกันภัยพัง

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้รับเชิญให้บรรยายพิเศษในหัวข้อ"ทิศทางและนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตไทยภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่" ในงานสัมมนาผู้บริหารระดับสูง สำนักงาน คปภ.และบริษัทประกันชีวิต ระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2559 ณ คีรีมายา รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยกล่าวว่า คปภ.จะใช้ระบบประกันภัยสนับสนุนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในเชิงรุก เร่งสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนด้วยการทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยมีเสถียรภาพ โดยใช้ช่องทางที่เหมาะสมและสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้กับประชาชนพร้อมสร้างกลไกด้านคุ้มครองสิทธิให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนทุกระดับได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบประกันภัยด้วยความเป็นธรรมของทุกฝ่าย ซึ่งขณะนี้คปภ.ได้ให้ความสำคัญกับภาคประชาชน โดยเร่งสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจประกันชีวิต ดังนั้นจึงอยากให้ภาคธุรกิจให้ความร่วมมือกับคปภ.อย่างจริงจังโดยเฉพาะความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากรณีที่มีกลุ่มบุคคลรับจ้างทำเคลมประกันภัยโดยอาศัยช่องทางของกฎหมายและความยุ่งยากของการเคลมประกันภัยมาทำธุรกิจคิดค่าคอมมิสชั่นจากความเดือดร้อนของชาวบ้านในการเคลมประกันภัย และบ่อยครั้งเกินเลยจนอาจเข้าข่ายการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ซึ่งหากไม่มีการควบคุมขบวนการเหล่านี้จะเป็นตัวกัดเซาะอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบให้ได้รับความเสียหายและที่สำคัญจะทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นในระบบประกันภัย จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเข้ามาดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ในส่วนของคปภ.กำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด

เลขาธิการคปภ.กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาใหญ่ของประกันภัยในประเทศไทย คือ ปัญหาความเชื่อมั่นจากสาธารณชน ซึ่งอาจเป็นเพราะประชาชนมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากประกันภัยตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่บริษัทประกันภัยล้มทำให้เกิดความเสียหาย ประเด็นการหลอกลวงให้ทำประกัน ประเด็นการเคลมค่าสินไหมทดแทนยากหรือมีการใช้ช่องทางจากความไม่รู้ของประชาชนเพื่อประวิง ไม่จ่าย หรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนน้อยกว่าความเป็นจริง ฯลฯ ก็ยิ่งทำให้ความมั่นใจของประชาชนต่อระบบประกันภัยของไทยลดลง ดังนั้นหากจะแก้ปัญหาในเรื่องนี้จึงต้องมองจากมุมมองของประชาชน ซึ่งจะมีความรู้สึกเหมือนกันว่า เวลาทำประกันภัยจะมีการชักจูงว่าดีอย่างโน้นอย่างนี้ ขั้นตอนการทำประกันมีความสะดวกรวดเร็วเป็นอย่างมาก แต่เมื่อซื้อประกันไปแล้ว เมื่อมีเหตุต้องเคลมหรือขอค่าสินไหมทดแทนกลับทำได้ยาก มีการโต้แย้งเรื่องกฎหมายและบ่อยครั้งจบลงด้วยการฟ้องร้องเป็นคดีในชั้นศาล นี่คือสาเหตุใหญ่ที่ประชาชนขาดความมั่นใจในระบบประกันภัยของไทย

ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆเหมือนยาขนานแรงเพื่อรักษาเยียวยาเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนคืนมา การที่บริษัทประกันชีวิตหลายบริษัทมีกิจกรรมที่ดีๆให้กับสังคมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในลักษณะกิจกรรม CSR ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่สำหรับบริษัทประกันภัยนั้น ลำพังกิจกรรม CSR อาจไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ภาคสังคมได้ชัดเจนและยั่งยืน จึงจำเป็นต้องลงลึกไปกว่าการทำ CSR ไปสู่การทำ CSV หรือCreating Shared Value ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชน โดยมีการพิสูจน์แล้วว่า CSV จะสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ดี

"การทำ CSR เปรียบเหมือนการซื้อเบ็ดตกปลาไปให้ชาวบ้าน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการและสภาพความเป็นจริงในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน ดังนั้นการทำ CSR จึงไม่เพียงพอต่อสังคมหรือชุมชนนั้นๆ ดังนั้นภาคธุรกิจจึงต้องตอยอดด้วยการทำ CSV ซึ่งเปรียบเหมือนการสอนให้ชาวบ้านรู้จักวิธีใช้เบ็ดตกปลาเพื่อสร้างคุณค่าร่วมทางเศรษฐกิจ"

ดร.สุทธิพล กล่าวอีกว่า คปภ.มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและสามารถก้าวข้ามผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจประกันภัยด้วยการขับเคลื่อนภารกิจ "8 สร้าง" คือ สร้างสมดุลกำกับ-ดูแล-ส่งเสริม ที่มุ่งเน้นการกำกับเท่าที่จำเป็นและควบคู่กับการส่งเสริมธุรกิจประกันภัย เนื่องจากเป้าหมายสำคัญ คือ ธุรกิจประกันชีวิตต้องเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยตั้งอยู่บนกติกาที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ สร้างเสถียรภาพความมั่นคง โดยเร่งพัฒนากรอบการกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงระยะที่ 2 และให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลพฤติกรรมทางตลาดมากขึ้น สร้างบทบาทของประกันภัยในระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพิ่มขึ้นโดยจะสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆให้มีความหลากหลาย คำนึงถึงประชาชนทุกกลุ่ม ให้ความสำคัญกับการประกันภัยเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร กลุ่มเอสเอ็มอี และประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สร้างความรู้ประชาชนและเพิ่มความเชื่อมั่นโดยไม่เพียงแต่พัฒนาให้บริษัทประกันภัยเติบโตเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถรักษาสิทธิของตนเองและปกป้องตนเองจากมิจฉาชีพที่มากับการประกันภัย ซึ่งจำเป็นต้องเร่งพัฒนาช่องทางการสื่อสารต่างๆให้เข้าถึงได้ง่าย พร้อมกับการพัฒนากระบวนการรับเรื่องร้องเรียน การระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีไกล่เกลี่ยและอนุญาโตตุลาการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ด้านการประกันภัยเพื่อรองรับข้อพิพาทที่อาจจะมีมากขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจประกันภัย

สร้างศักยภาพในเวทีสากลและอาเซียน เพื่อรองรับการขยายตลาดการประกันภัยของไทยให้พร้อมแข่งขันใน AEC ซึ่งจะต้องมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับธุรกิจประกันภัยของประเทศต่างๆในอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันภัยและพัฒนาบุคลากรร่วมกัน นอกจากนี้จะต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศอื่นๆเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีอุปสรรคน้อยที่สุด เนื่องจากกฎระเบียบในแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกัน หากไม่บูรณาการให้ใกล้เคียงหรือไม่ทำให้มีกติกากลางก็จะเป็นอุปสรรค ดังนั้นจึงต้องเร่งสร้างกลไกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการประกันภัยใน CLMV อย่างมีศักยภาพและผลักดันให้เป็น "อาเซียน ซิงเกิลอินชัวรันส์มาร์เก็ต"

รวมทั้ง สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัยให้เป็นมาตรฐานสากลรองรับทิศทางในอนาคต โดยผลักดันการปรับปรุงกฎหมายด้านการประกันภัยทั้ง 3 ฉบับ เพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัย สร้างความเท่าเทียมกับผู้ประกอบการทุกกลุ่มพร้อมกับผลักดันกฎหมายประกันภัยทางทะเล รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลด้านการประกันภัยที่สมบูรณ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการประกันภัยและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม สร้างศักยภาพและพัฒนาบุคคลากรประกันภัย รวมถึงคนกลางประกันภัย ให้มีความเชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ โปร่งใส สามารถรองรับการพัฒนาและเติบโตของธุรกิจประกันภัยในอนาคต และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างเสริมศักยภาพสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งในส่วนของสำนักงานคปภ.และภาคธุรกิจประกันชีวิต โดยคปภ.จะเร่งปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อลดข้อจำกัดต่างๆให้ภาคธุรกิจประกันภัยสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเข้าถึงลูกค้า ในขณะเดียวกันบทบาทในด้านกำกับดูแลประกันภัยมีระบบงานที่ดีสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าและให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลอย่างเหมาะสม ในส่วนของภาคธุรกิจประกันภัยต้องมีการลงทุนในระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยและปลอดภัยสำหรับลูกค้าเพื่อยกระดับประสิทธิภาพกรดำเนินธุรกิจและมีต้นทุนที่ต่ำลงในระยะยาว พร้อมทั้งมีการบริหารความเสี่ยงที่ดีอีกด้วย

"ผมมั่นใจว่านับจากนี้ไปธุรกิจประกันชีวิตจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในขณะเดียวกันก็เป็นหลักประกันความมั่งคงแก่ชีวิตให้กับประชาชน ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้ก้าวสู่ความแข็งแกร่ง มีคุณภาพ เสถียรภาพ และมีธรรมาภิบาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นสำคัญเพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างยั่งยืนตอไป" ดร.สุทธิพล กล่าวในตอนท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ