กรมโรงงานฯ อัพมาตรฐานภาคอุตสาหกรรม รุกโครงการขึ้นทะเบียนบุคลากร CSR ประจำโรงงาน

พฤหัส ๑๐ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๔๑
กรมโรงงานฯ กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งยกระดับสร้างมาตรฐานแก่โรงงานอุตสาหกรรม นำร่องจัดโครงการขึ้นทะเบียนบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงาน พ.ศ. 2559 ให้แก่โรงงานจำพวกที่ 3 ในกลุ่มโรงงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กว่า 3,000 โรงงานจากโรงงานจำพวกที่ 3 ที่มีทั้งหมด 68,000 โรงงาน โดยคาดว่า สิ้นปี 59 จะมีโรงงานยื่นขอขึ้นทะเบียนบุคลากรเฉพาะไม่ต่ำกว่า 30%

ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามหลักมาตรฐานสากล ISO 26000 และ UN Global Compact ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ซีเอสอาร์) เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญ นอกจากจะสามารถสร้างประโยชน์ในแง่ของการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ รวมถึงยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีของบริษัทเมื่อถึงภาวะวิกฤติ และเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการโดยประมาทได้อีกด้วย ซึ่งการบริหารจัดการธุรกิจจะต้องทำควบคู่กับการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

ทั้งนี้ปัจจุบันปัญหาของสถานประกอบการในไทยส่วนใหญ่คือ ขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการทำกิจกรรมซีเอสอาร์ที่แท้จริง ดังนั้นกรมโรงงานฯ จึงได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม "การขึ้นทะเบียนบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงาน พ.ศ. 2559" เพื่อพัฒนาบุคลากรซีเอสอาร์ประจำโรงงานจำพวกที่ 3 โดยเฉพาะโรงงานที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่ม EIA EHIA ESA และ RA และโรงงานทั่วไปที่สนใจจากโรงงานจำพวกที่ 3 ที่มีทั้งหมด 68,000 โรงงาน ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของกรมโรงงานฯ 7 ประการ ได้แก่ 1.การกำกับดูแลองค์กร 2.สิทธิมนุษยชน 3.การปฏิบัติด้านแรงงาน 4.สิ่งแวดล้อม 5.การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม 6.ประเด็นด้านผู้บริโภค และ 7.การมีส่วนร่วมพัฒนาต่อสังคมและชุมชนตามมาตรฐานของกรมโรงงานฯ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย และป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรอบโรงงาน รวมทั้งตัวโรงงานเอง

ดร.พสุ กล่าวอย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมมีมาตรฐานตามหลักสากล ISO 26000 และ UN Global Compact ในการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่ชัดเจนมากขึ้น และมีความพร้อมในการแข่งขันกับตลาดอาเซียน ตลอดจนเป็นการปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่ประเทศส่วนใหญ่นำมาใช้ในการกีดกันการค้ามากขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะมีโรงงานที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนบุคลากรเฉพาะไม่ต่ำกว่า 30% จากจำนวน 3,000 โรงงาน ดร.พสุ กล่าวสรุป

สำหรับโรงงานที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ สามารถดาวน์โหลดเอกสาร และติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน (สสส.กรอ.) โทร.0 2202 4143 หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด และสอบถามข้อมูลโครงการต่าง ๆ ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2202 4014 หรือเข้าไปที่ เว็บไซต์ www.diw.go.th หรืออีเมล์[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๓๐ นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวฯ มก. คว้า 3 รางวัล การแข่งขัน 5MSPP 2024 ชนะเลิศ-รองชนะเลิศอันดับ 1-ชมเชย
๑๓:๒๘ คณะวิศวฯ มก. สำรวจ-แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พื้นที่สหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสัง จ.หนองบัวลำภู
๑๓:๑๓ ผู้บริหาร- อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือ ม.ไต้หวัน
๑๓:๔๖ DE BEAU CLINIC ตอกย้ำเป็นผู้นำคลินิกเสริมความงาม ฉลองครบรอบ 14 ปี ปล่อยโปรสุดพิเศษ!
๑๓:๒๕ PRM ขนส่งน้ำมัน Jet A1 พุ่ง อานิสงส์ท่องเที่ยวซัมเมอร์หนุน
๑๓:๒๐ วว. โดย สถานีวิจัยลำตะคอง จัดกิจกรรมต้อนรับปิดเทอม ยอดนักสืบ.โลกแมลง รุ่นที่ 1
๑๓:๔๕ ลงพื้นที่สำรวจแปลงมะพร้าวติดตามสถานณ์โรคและแมลงในช่วงฤดูแล้ง
๑๓:๒๓ แม็ทชิ่ง กรุ๊ป จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 แนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง มั่นใจรายได้เป็นไปตามเป้า
๑๓:๔๖ เอเอ็มอาร์ เอเซีย จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผ่านฉลุย ผู้ถือหุ้นมีมติเห็นชอบทุกวาระ
๑๓:๑๙ Prepay Nation ร่วมมือกับ MULA เพื่อลดช่องว่างทางการเงินสำหรับแรงงานต่างด้าว