ปภ. รายงานมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง 18 จังหวัด พร้อมบูรณาการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือทั่วถึง เป็นธรรม ครอบคลุมทุกมิติ

พุธ ๒๓ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๑๙
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 18 จังหวัด เน้นย้ำเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการให้ข้อมูลสถานการณ์ภัยแล้ง การทำงานเป็น "ทีมรัฐบาล" ของทุกภาคส่วน และการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ตลอดจนรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำให้เหมาะสม โดยวางแผนการใช้น้ำที่มีปริมาณจำกัดให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งหลายพื้นที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำมากขึ้น โดยปัจจุบันมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 18 จังหวัด 68 อำเภอ 306 ตำบล 2,580 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.44ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ แยกเป็น ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ พะเยา สุโขทัย นครสวรรค์ และน่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา นครพนม มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ และขอนแก่น ภาคกลาง3 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี เพชรบุรี และชัยนาท ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว จันทบุรี และชลบุรี รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห่วงใยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจึงได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งให้ครอบคลุมทุกมิติ และทุกกลุ่ม ทั้งประชาชนในพื้นที่ประสบภัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบ อาทิ เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ใช้น้ำทั่วไป อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยดำเนินการแยกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. การให้ข้อมูลสถานการณ์ภัยแล้งที่ถูกต้องแก่ประชาชน ทั้งแผนการบริหารจัดการน้ำต้นทุน ปริมาณน้ำในเขตชลประทาน นอกเขตชลประทาน ปริมาณน้ำบนดินและน้ำใต้ดิน 2. การทำงานเป็น "ทีมรัฐบาล" ของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยทหาร ฝ่ายพลเรือน อาสาสมัคร และท้องถิ่น 3. การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในรูปแบบทีมงาน "ประชารัฐ" โดยการดำเนินงานในระดับพื้นที่จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอทำหน้าที่บูรณาการงานของกระทรวงต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งครอบคลุมทั้งการรณรงค์ประหยัดน้ำ การสร้างอาชีพและรายได้แก่เกษตรกร การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรคระบาด และอาชญากรรม ซึ่งเป็นการซ้ำเติมให้ผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนมากขึ้น อีกทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนอย่างชัดเจน โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำให้ประชาชนทั่วประเทศมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึงตลอดช่วงฤดูแล้ง สำหรับจุดใดที่ประสบปัญหาแหล่งน้ำดิบไม่เพียงพอ จะได้ประสานให้เตรียมภาชนะกักเก็บน้ำกลางและส่งน้ำสะอาดสนับสนุนให้ประชาชนอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนใช้น้ำที่มีจำกัดอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งจนถึงช่วงต้นฤดูฝน

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital