กรมโรงงานฯ ยกระดับมาตรการควบคุมการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ดีเดย์ ก.ค. 59 บังคับติดระบบ GPS ทุกคัน

จันทร์ ๒๘ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๓:๕๐
กรมโรงงานฯ เปิดตัวระบบ GPS รายงานผล ผ่านแอพฯ "GPSHZW DIW" แบบ Real Time ช่วยลดปัญหาลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวระบบฐานข้อมูลและติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรม (GPS) เพื่อติดตามรถขนส่งกากของเสียอันตรายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอพพลิเคชั่น "GPSHZW DIW"สามารถเช็คตำแหน่งของรถขนส่งได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง (Real Time) ป้องกันการลักลอกทิ้งกากอุตสาหกรรม ภายใต้ "โครงการจัดสร้างระบบฐานข้อมูลและติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรม (GPS)" ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ร่วมพัฒนากับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเสริมศักยภาพในการควบคุมการกำกับดูแลการขนส่งของเสียและป้องกันการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม พร้อมประกาศบังคับใช้ กรกฎาคม 2559 ทั้งนี้ คาดว่าหากทุกโรงงานเข้าสู่ระบบการกำจัดกากฯ แล้ว จะมีกากอุตสาหกรรมอันตรายเข้าสู่ระบบไม่ต่ำกว่า 470,000 ตันต่อปี อย่างไรก็ตาม กรมโรงงานฯ ได้จัดงานแถลงข่าวพร้อมเปิดตัวแอพพลิเคชั่น "GPSHZW DIW" เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2558 ณ ห้องโถงกลาง ชั้น 1 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 02 202 4017 หรือเข้าไปที่ www.diw.go.th หรืออีเมล์ [email protected]

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การจัดการกากอุตสาหกรรมเป็นภารกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลให้ความสำคัญ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำแผนการจัดการกากอุตสาหกรรม พ.ศ.2558 - 2562 ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 ซึ่งปัจจุบันมีการควบคุมรถขนส่งของเสียอันตรายและการแจ้งข้อมูลการขนส่ง แต่ยังพบว่ามีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในหลายพื้นที่ เนื่องจากยังไม่มีระบบติดตามตัวรถขนส่งทำให้เกิดการลักลอบทิ้งกากระหว่างการขนส่ง กระทรวงอุตสาหกรรม จึงมอบหมายให้ กรมโรงงานฯ จัดทำ "โครงการจัดสร้างระบบฐานข้อมูลและติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรม (GPS)" ระบบฐานข้อมูลและติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรม (GPS) เพื่อติดตามรถขนส่งกากของเสียอันตรายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบเรียลไทม์ (Real Time) โดยคาดหวังว่าจะสามารถบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้าน ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ระบบฐานข้อมูลและติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรม (GPS)" สามารถรายงานตำแหน่งของรถขนส่งด้วยระบบ GPS (Global Positioning System) ผ่านแอพพลิเคชั่น GPSHZW DIW บนสมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอย (Android) และเว็บไซต์ http://gisapp.diw.go.th ภายในระบบฯ จะระบุรายละเอียดข้อมูลการขนส่ง อาทิ หมายเลขประจำตัวเครื่องบันทึกข้อมูล (GPS ID) วันเวลาที่ส่งข้อมูล ข้อมูลของเสียที่จะขนถ่าย ละติจูด ลองจิจูด ความเร็ว สถานะเครื่องยนต์ ทิศทางการเดินทาง เป็นต้น โดยสามารถติดตามรถขนส่งได้ตลอดเวลา24 ชั่วโมง และรายงานข้อมูลทุกๆ 1 นาที ตั้งแต่เริ่มมีการแจ้งนำของเสียออกนอกโรงงานจนกระทั่งเข้าสู่แหล่งกำจัดกาก ซึ่งหากเกิดปัญหาการทิ้งกากระหว่างการขนส่งหรือนอกพื้นที่ กรมโรงงานฯ จะสามารถตรวจสอบได้ทันที ซึ่งจะทำให้กรมโรงงานฯ กำกับดูแลการจัดการกากอันตรายในภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจสอบถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในช่วงวันหยุดยาวที่กำลังจะมาถึงได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ระบบการติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรมได้พัฒนาเสร็จแล้ว ขณะนี้ กรมโรงงานฯ อยู่ระหว่างการร่างกฎหมายเพื่อกำหนดให้รถขนส่งกากอุตสาหกรรมอันตรายติดตั้งระบบ GPS ทุกคัน และเตรียมบังคับใช้เป็นกฎหมายลงโทษกับผู้ประกอบการขนส่งกากฯ ที่ลักลอบทิ้งกากอันตราย โดยจะเริ่มบังคับใช้จริงในเดือนกรกฎาคม 2559 โดยแนวทางของกฎหมายคือ หากรถขนส่งกากฯ ไม่ดำเนินการติดตั้งระบบ GPS และไม่ส่งข้อมูล GPS ให้กับกรมโรงงานฯ กรมโรงงานฯจะไม่พิจารณาออกใบอนุญาตครอบครองวัตถุอันตรายเพื่อการขนส่งได้ ซึ่งระหว่างร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้เปิดทดสอบระบบควบคู่ไปด้วย ซึ่งได้รับความร่วมมือในการทดลองส่งสัญญาณ GPS โดย บริษัท ดี.ที.ซี. เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็น Service provider ที่ให้บริการด้าน GPS อีกทั้งยังได้รับความรับมือในการทดลองใช้ระบบการติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรมจริงโดย บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับบำบัด/กำจัด กากอุตสาหกรรม และคาดว่าหลังจากบังคับใช้จริง ทุกโรงงานต้องเข้าสู่ระบบการกำจัดกากฯ ซึ่งปัจจุบันมีกากอุตสาหกรรมอันตรายเข้าสู่ระบบประมาณ 1 ล้าน ตันต่อปี

ปัจจุบันมีโรงงานที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งจัดอยู่ในโรงงานจำพวกที่ 3 แจ้งประกอบกิจการจำนวน 70,311 โรงงาน ในจำนวนนี้มีโรงงานรับกำจัดกากฯ จำนวน 1,694 โรงงาน พบว่า มีโรงงานประมาณ 47,950 โรงงาน หรือคิดเป็น 68% ที่มีการลงทะเบียนในระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีโรงงาน จำนวน 28,178 โรงงาน ที่มีการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือคิดเป็น 40% และยังมีโรงงานอีกกว่า 60% ที่ยังไม่ได้เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง จึงเป็นเป้าหมายหลักของกรมโรงงานฯ ที่จะเร่งรัดโรงงานเข้าระบบการจัดการกากฯ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดร.พสุ กล่าวทิ้งท้าย

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 02 202 4017 หรือเข้าไปที่ www.diw.go.th หรืออีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ