โจ๋ มทร.ธัญบุรี สะท้อนความคิด วิกฤตขาดแคลนน้ำ

จันทร์ ๒๘ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๓:๐๔
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน กำลังตื่นตัวในมาตรการรับวิกฤตภัยแล้ง ปี 2559 ถือว่าเป็นภัยแล้งที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยทางรัฐบาลได้กำหนดปัญหาภัยแล้งเป็นวาระแห่งชาติและออกมาตรการควบคุมการใช้น้ำ เช่นเดียวกับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ไม่นิ่งนอนใจ ขานรับนโยบายรัฐ และได้กำหนดมาตรการการใช้น้ำในมหาวิทยาลัย โดยทางนักศึกษาของทาง มทร.ธัญบุรี มีวิธีเตรียมตัวและปฏิบัติตามมาตรการกันอย่างไร และรู้สึกอย่างไรกับปัญหาภัยแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้น

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี มีนโยบายในการบริหารน้ำและใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบการที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตด้านน้ำเนื่องจากมีปริมาณฝนตกน้อยจึงทำให้ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ภัยแล้งระดับชาติ มหาวิทยาลัยจึงมีมาตรการประหยัดน้ำและลดการใช้น้ำในมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษา บุคลากรตลอดจนหน่วยงานในกำกับมหาวิทยาลัยยึดถือและนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดการลดการใช้น้ำประปาและใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า รวมทั้งตรวจสอบการใช้น้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการรั่วไหลสูญเปล่า ของทุกภาคส่วนภายในมหาวิทยาลัย จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ 1. ปิดน้ำทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน และใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า งดการใช้อย่างฟุ่มเฟือย 2. ดูแลก๊อกน้ำและอุปกรณ์ใช้น้ำทุกชนิดให้ปิดสนิทอยู่เสมอหลังไม่ใช้งาน 3. ตรวจสอบอุปกรณ์ใช้น้ำ ท่อน้ำ อย่างสม่ำเสมอและแจ้งซ่อมแซมทันทีเมื่อชำรุด 4. ใช้น้ำจากคูน้ำ บ่อน้ำธรรมชาติ ในการรดน้ำต้นไม้ 5. ให้ทุกหน่วยงานรณรงค์เรื่องการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อร่วมกันแก้ไขวิกฤตของชาติ 6. กำหนดให้ทุกหน่วยเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อร่วมกันแก้ไขวิกฤตของชาติ 7 ในช่วงของวิกฤตและภัยแล้งให้พิจารณาใช้น้ำเท่าที่จำเป็น

"เต้ย" นายภานุมาส มาดีประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เล่าว่า ปัญหาภัยแล้งส่งผลกับทางบ้านอย่างหนัก เพราะว่าทางบ้านประกอบอาชีพเกษตร ที่จังหวัดสระบุรี น้ำคือสิ่งสำคัญ ในการหล่อเลี้ยงพืช นอกจากนั้นยังต้องใช้อุปโภค บริโภค ดังนั้นทางบ้านมีการจัดการน้ำที่เป็นระบบ ต้องเปลี่ยนจากการปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก มาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และต้องขุดบ่อบาดาลเพื่อนำแหล่งน้ำจากใต้ดินมาใช้ โดยปีนี้เป็นวิกฤตภัยแล้งที่ต้องเตรียมรับมือ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทางรัฐบาลมีมาตรการในการเตือนประชาชน ควรปฏิบัติตาม คือ สิ่งที่ทำได้คือลดการใช้น้ำให้ได้มากที่สุด ตนเองอยู่ที่หอพักจะพยายามใช้น้ำให้น้อยที่สุด เปลี่ยนจากการอาบน้ำขัน มาอาบน้ำฝักบัวแทน

"ปอย" นางสาวพิรญาณ์ เขียวคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ เล่าว่า จากการติดตามข่าวสาร ทั่วทุกภาคของประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง ชาวนา เกษตรกร ไม่มีน้ำรดต้นไม้ หรือบางจังหวัดทางภาคเหนือต้องทำฝ่ายกักน้ำฝนไว้ใช้ เมื่อได้เห็นพื้นที่ประสบปัญหา ผลกระทบที่ตามมาในสังคมต้องเกิดแน่นอน เช่น ผักมีราคาสูงขึ้น ทางบ้านของตนเองานได้ซื้อถังขนาดใหญ่เพื่อนำมาสำรองน้ำไว้ใช้ เมื่อมามหาวิทยาลัยเวลาเข้าห้องน้ำเห็นก๊อกน้ำเปิดอยู่ตนเองจะปิดเสมอ ซื้อน้ำ 1 ขวด เมื่อทานไม่หมด จะนำติดตัวไปตลอดเวลา ปฏิบัติตามมาตรการการใช้น้ำในมหาวิทยาลัย อย่างน้อยน้ำ 1 หยด มีความสำคัญต่อใครอีกหลายๆ คน ไม่อย่างให้ทุกคนมองว่าไปเรื่องไกลตัว อยู่ในเมืองมีน้ำใช้ตลอดเวลา แต่เมื่อประสบปัญหาจะเข้าใจ

"พล" นายอำพล ภักดีวุฒิ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เล่าว่า เมื่อพูดถึงภัยแล้ง นึกถึงการไม่มีน้ำใช้ ในการทำกิจกรรมต่างๆ จากการสังเกตน้ำประปาที่บ้านจะไหลเบาลง ดังนั้นทางบ้านจึงต้องรองน้ำใส่ถังไว้ใช้ ปัญหาที่บ้านเจอคือ บริเวณบ้านจะปลูกต้นจะเอาน้ำที่เหลือจากการซักผ้ามาใช้รดน้ำต้นไม้ และที่เห็นตอนนี้ตามสื่อคือไฟป่า ดังนั้นชาวบ้านควรระวังไฟป่า รักษาป่าไว้ ถ้ามีป่า จะมีน้ำ ในฐานะของนักศึกษาเมื่อทางมีมาตรการในการใช้น้ำในมหาวิทยาลัย ตนเองจะปฏิบัติตามโดยไม่นิ่งนอนใจ ทางรัฐบาลให้เล่นน้ำสงกรานต์อย่างประหยัด เห็นด้วยกับมาตรการนี้

"แคท" นางสาวนภวรรณ ทั่งรอด นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า ทราบข่าวมาจากสื่อว่าปี 2559 ประเทศไทยอาจแล้งที่สุดในประวัติศาสตร์ ปริมาณน้ำตามเขื่อนต่างๆ ปริมาณลดน้อยลง ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด ต้องใช้น้ำในการทำเกษตร เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นเกษตรกรควรหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ถือว่าปีนี้เป็นปีวิกฤตจริง ภัยแล้งทำให้โลกร้อนขึ้น อุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อยากให้ทุกคนรักษาสุขภาพ เวลาออกแดดควรมีสิ่งปกปิด และที่สำคัญควรเลือกรับประทานอาหาร ทุกคนควรเตรียมตัวและตั้งสติในการรับมือกับภัยแล้งที่เกิดขึ้น ช่วยกันประหยัดน้ำ ร่วมไปถึงพลังงานต่างๆ ด้วย สำหรับตนเองเตรียมตัวรับมือจะประหยัดน้ำ รู้จักใช้น้ำให้มากขึ้นอย่างเช่นน้ำซาวข้าว เอาไปรดน้ำต้นไม้ต่อได้ถ้าหนูมีเวลาเตรียมตัวมากๆก่อนหน้านี้ในฤดูฝนหนูก็จะรองน้ำเพื่อเก็บไว้ใช้ในเวลาที่มันขาดแคลนหรือจำเป็นมันน่าจะช่วยได้ไม่มากก็น้อยเลย ตนเองจะเริ่มที่ตนเองก่อนอย่างช่วงสงกรานต์ งดเล่นสาดน้ำถ้ากำลังเล่นสนุกคนในจังหวัดอื่นอาจกำลังต้องการน้ำอยู่

ถึงเวลาหรือยังที่คนไทยจะคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป มิฉะนั้นสักวันจะเกิดภาวะวิกฤตน้ำจนไม่มีน้ำใช้ วันนั้นคงเป็นวันที่ทุกคนไม่ให้เกิดขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4