มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง 1 ปี มาตรา 44 กับความมั่นใจของประชาชน :กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ

พฤหัส ๐๗ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๒:๐๗
รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง 1 ปีมาตรา44 กับความเชื่อมั่นของประชาชน :กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,081 ตัวอย่างจากจังหวัดทั่ว ทุกภูมิภาคของประเทศ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นทางสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลแกนนำชุมชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1- 6 เมษายน 2559 ผลการสำรวจ พบว่า

เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างแกนนำชุมชนถึงการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างร้อยละ 59.7 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 22.9 ระบุติดตาม 3-4 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 8.1 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 8.5 ติดตามเป็นบางวัน และร้อยละ 0.8 ระบุไม่ได้ติดตามเลย

ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการรับรู้รับทราบกรณีการประกาศใช้กฎหมายมาตรา 44 ครบรอบ 1 ปีนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 84.3 รับทราบว่าได้มีการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวมาครบ 1 ปีแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 15.7 ระบุไม่ทราบมาก่อน/เพิ่งทราบ

ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เห็นว่าเกิดขึ้นภายหลังการประกาศใช้กฎหมายมาตรา 44 โดยหากพิจารณาเฉพาะค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในลักษณะที่ " ดีขึ้น" นั้นพบว่า ร้อยละ 79.2 ระบุสถานการณ์ภายในประเทศโดยรวมดีขึ้น รองลงมาคือร้อยละ 70.9 ระบุ ความรักความสามัคคีของคนในชาติดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 66.1 ระบุความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนดีขึ้น ร้อยละ 65.8 ระบุการให้บริการประชาชนของข้าราชการ/หน่วยงานราชการดีขึ้น ร้อยละ 64.9 ระบุการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนของประชาชนดีขึ้น ร้อยละ 62.6 ระบุบรรยากาศความสัมพันธ์กับต่างประเทศดีขึ้น ร้อยละ 60.5 ระบุบรรยากาศการท่องเที่ยวดีขึ้น อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าในด้านการค้าและการส่งออกนั้น ตัวอย่างร้อยละ 31.9 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 38.9 ระบุดีเหมือนเดิม ตามลำดับ

ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อสอบถามถึง ความพึงพอใจต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในการใช้มาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาตินั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อย คือร้อยละ 93.8 ระบุพอใจในเรื่องดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 6.2 ระบุไม่พอใจ ทั้งนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึง ความเชื่อมั่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าจะใช้กฎหมายมาตรา 44 อย่างสร้างสรรค์ ตามที่รับปากไว้กับประชาชน นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 83.4 ระบุยังคงเชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ โดยสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากการสำรวจในช่วงเดือนเมษายน 2558 ที่เริ่มประกาศใช้เกือบร้อยละ 20

ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ก็คือ เมื่อสอบถามถึงผลการดำเนินงานตามนโยบาย/มาตรการของรัฐบาลและคสช. ที่พอใจมากที่สุดนั้นพบว่า ร้อยละ 34.4 ระบุพอใจในผลงานด้านการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 15.8 ระบุพอใจในมาตรการช่วยเหลือภัยแล้ง/การบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากภัยแล้ง ร้อยละ 10.2 ระบุพอใจในการลดความขัดแย้ง/การส่งเสริมความรักความสามัคคีของคนในชาติ/การรักษาความสงบเรียบร้อย/การสร้างความสงบในประเทศและพื้นที่ต่างๆ/การสร้างความปรองดอง นอกจากนี้ ร้อยละ 5.2 ระบุพอใจในผลงานด้านการปราบปรามยาเสพติด และร้อยละ 4.8 ระบุพอใจในนโยบายการจัดหาแหล่งน้ำในการช่วยเหลือเกษตรกร/การบริหารจัดการน้ำ/การบริหารแหล่งน้ำ ตามลำดับ

คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 86.7 เป็นเพศชาย ในขณะที่ร้อยละ 13.3 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 4.4 มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ร้อยละ 25.7 ระบุอายุ 40-49 ปีและร้อยละ 69.9 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ร้อยละ 30.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า ร้อยละ 47.2 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 5.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส. และร้อยละ 16.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตามลำดับ

ตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 68.2 มีอาชีพประจำคือเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 16.4 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ในขณะที่ร้อยละ15.4 ระบุมีอาชีพอื่นๆ อาทิ ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ต่อเดือนของครอบครัวพบว่า ตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 11.1ระบุมีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 13.0 ระบุมีรายได้ครอบครัว 10,001–15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 22.6 ระบุมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ตัวอย่างแกนนำชุมชน ร้อยละ 53.3 ระบุมีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามรายภูมิภาคพบว่าตัวอย่างแกนนำชุมชนร้อยละ 34.0 อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือร้อยละ 25.5 ระบุอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ร้อยละ 18.5 ระบุอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ร้อยละ 13.5 ระบุอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 8.5 ระบุอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามลำดับ

ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน โทรศัพท์ 086 – 971-7890 หรือ 02-540-1298

ติดตามผลสำรวจของมาสเตอร์โพลล์ได้ที่ www.masterpoll.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้