นักวิชาการ CMMU เผย แองเจิ้ลอินเวสเตอร์ เทรนด์มาแรงการลงทุนที่ได้ผลตอบรับเกินความคาดหมาย

อังคาร ๑๒ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๐:๔๖
ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา กระแสธุรกิจสตาร์ทอัพ (StartUp) เป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจอย่างกว้างขวางขึ้นโดยต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการทำธุรกิจที่สามารถเริ่มต้นจากแนวคิดหรือไอเดียของคนเพียงคนเดียว สตาร์ทอัพจึงเป็นดั่งเป้าหมายที่ผู้สนใจริเริ่มธุรกิจด้วยตนเองทุกคนใฝ่ฝัน ด้วยกระแสมาแรงและความสำเร็จของสตาร์ทอัพชื่อดังต่างๆ ที่สามารถสร้างเม็ดเงินมหาศาลด้วยเงินลงทุนไม่มากนี้ ทำให้นักลงทุนต่างๆหันเหจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆมาสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพในฐานะ แองเจิ้ล อินเวสเตอร์ (Angel Investor) มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเห็นได้จากเม็ดเงินสนับสนุนของสตาร์ทอัพในปีที่ผ่านมาที่เติบโตแบบก้าวกระโดดขึ้นกว่า 800 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบจากปี 2557 (ที่มา: techsource news, 2558) และยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

นายกิตติชัย ราชมหา อาจารย์ประจำภาควิชาผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เส้นทางของสตาร์ทอัพไม่ได้สวยหรูอย่างที่หลายคนคิดไว้ การเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพคล้ายกับการกระโดดจากหน้าผาแล้วจึงค่อยๆหาทางที่จะมีชีวิตรอด และทยานกลับขึ้นมาอีกครั้งระหว่างทางที่กำลังดิ่งลงพื้นดิน โดยที่โอกาสสำเร็จของสตาร์ทอัพที่จะได้รับการลงทุนเพื่อต่อชีวิตให้เดินต่อไปได้อยู่ที่ประมาณ 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จำนวนธุรกิจสตาร์ทอัพภายในประเทศไทยมีอยู่ในช่วงไม่เกิน 500 ถึง 1,000 รายเท่านั้น เพราะถึงแม้ว่าสตาร์ทอัพจะได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีสตาร์ทอัพมากมายที่ไม่สามารถก้าวต่อไปได้ ซึ่งหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่จะเป็นตัวตัดสินชีวิตของสตาร์ทอัพว่าจะเกิดหรือดับคือ เงินก้อนแรกจากนักลงทุนในช่วงระยะเริ่มต้นของวงจรชีวิตสตาร์ทอัพ

โดยนักลงทุนที่มีบทบาทมากในช่วงเริ่มต้นของเหล่าสตาร์ทอัพคือ นักลงทุนประเภท แองเจิ้ล อินเวสเตอร์ (Angel Investor) หรือ นักลงทุนอิสระประเภทพ่อพระ/แม่พระ ที่ให้ทุนกับสตาร์ทอัพในช่วงระยะเริ่มต้น โดยอาจเริ่มให้ทุนตั้งแต่อยู่ในช่วงการเริ่มพัฒนาไอเดียของสตาร์ทอัพ (ระยะ seed) จนถึงช่วงการระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจเพิ่มเติม (ระยะ early stage) ซึ่งการลงทุนของแองเจิ้ลอินเวสเตอร์ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจนมากจนเปรียบเสมือนกับการนำเงินไปทิ้งเปล่า เนื่องจากโอกาสที่สตาร์ทอัพนั้นจะล้มเหลวมีมากกว่า 95% โดยจำนวนเงินลงทุนจากแองเจิ้ล อินเวสเตอร์นั้นจะอยู่ระหว่าง 100,000 ถึง 1,000,000 บาท นายกิตติชัย กล่าวต่อ

นอกจากนั้น นายกิตติชัย ยังได้ให้แนวคิดสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่สตาร์ทอัพต้องมี หากต้องการจะประสบความสำเร็จในการระดุมทุนจากนักลงทุนแองเจิ้ล อินเวสเตอร์ 3 ประการ คือ

มีความคิดแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Mindset) – ต้องแสดงให้นักลงทุนเห็นถึงคุณสมบัติความเป็นสตาร์ทอัพในตัว ซึ่งคุณสมบัติความเป็นสตาร์ทอัพที่ดีจะประกอบด้วย ความยืดหยุ่น พร้อมที่จะฟังคำแนะนำจากผู้ให้คำแนะนำ และนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ความมุ่งมั่น มีความตั้งใจและทุ่มเทอย่างเต็มที่กับธุรกิจที่ทำอยู่ โดยมีการวางเป้าหมายไว้และมุ่งมั่นทำให้สำเร็จโดยไม่ไขว้เขว และความดื้อ มีความตั้งใจและเชื่อมันในสิ่งที่ตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้การขจัดความย่อท้อเมื่อเจออุปสรรคต่างๆระหว่างทาง

มองเห็นโอกาส (Opportunity Seeker) – สามารถมองเห็นโอกาสในด้านการริเริ่มคิดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ยังเป็นที่ต้องการของตลาด รู้จักปัญหา (pain point) และสิ่งที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ รวมไปถึงมองเห็นโอกาสในการหานักลงทุน (investor) คอยพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมกับโอกาสที่อาจเข้ามาโดยไม่ได้คาดหมาย

ใช้แผนธุรกิจที่เหมาะสม (Business Model) – ประยุกต์ใช้แผนธุรกิจที่เหมาะสมกับตัวสินค้าหรือบริการของตน โดยข้อสำคัญของการวางแผนธุรกิจคือ สินค้าหรือบริการ ต้องเป็นสิ่งที่ทำซ้ำได้ (repeatable) สามารถเติบโตและสร้างรายได้ผ่านการทำซ้ำได้ และ ปรับเปลี่ยนขนาดได้ (scalable) รองกับการขยับขยายทั้งการขยายกลุ่มเป้าหมาย และขยายตัวสินค้าหรือบริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ทางด้าน นายปิยพันธ์ วงยะรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักพิมพ์สต็อคทูมอร์โรว์ กล่าวเสริมในฐานะนักลงทุนแองเจิ้ลอินเวสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่งว่า เรื่องของคอนเนคชั่น (Connection) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเหล่าสตาร์ทอัพที่ต้องการให้แองเจิ้ลอินเวสเตอร์สนใจ โดยสตาร์ทอัพต้องออกพบปะผู้คนในแวดวงธุรกิจบ่อยๆ ทำตัวให้โดดเด่น เป็นที่จดจำ และคอยพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอด้วยความมุ่งมั่นและจริงจังในเป้าหมาย ทั้งนี้หนึ่งในเกณฑ์สำคัญสำหรับการคัดเลือกสตาร์ทอัพเพื่อร่วมลงทุนด้วยนั้น คือ ประเภทของธุรกิจ ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัวจะเลือกธุรกิจที่ตนถนัด หรือมีความสนใจต้องการทำอยู่แล้ว และหากเป็นธุรกิจที่เอื้อต่อกันกับธุรกิจหลักที่ตนทำอยู่ด้วยแล้วนั้นก็จะให้ความสนใจมากขึ้นอีก เพราะการเป็นแองเจิ้ลอินเวสเตอร์ ไม่ได้ให้เพียงแค่เงินไปใช้ในการลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องคอยให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเหล่าผู้เริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยต้องพบเจอกับการแข่งขันอันแสนดุเดือดระหว่างเหล่าสตาร์ทอัพด้วยกันเอง เนื่องจากประเทศไทยยังมีนักลงทุนประเภทแองเจิ้ลอินเวสเตอร์น้อย เหล่าสตาร์ทอัพต้องเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ทั้งในด้านไอเดียสินค้าหรือบริการ และในด้านแผนธุรกิจ เพื่อให้แนวธุรกิจของตนโดดเด่นจนสามารถดึงดูดนักลงทุนแองเจิ้ลอินเวสเตอร์ให้เข้ามาสนใจได้

สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest