ปภ. แนะข้อควรปฏิบัติในการท่องเที่ยวทะเลอย่างปลอดภัย

อังคาร ๐๓ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๒๓
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะประชาชนที่ท่องเที่ยวทะเลตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง วางแผนเลือกสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่มีสภาพปลอดภัย หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำบริเวณที่มีระดับน้ำลึก มีโขดหินใต้น้ำ บริเวณที่มีเครื่องเล่นทางน้ำ อีกทั้งไม่เล่นน้ำขณะหรือหลังจากฝนตกหนัก ไม่แยกไปเล่นน้ำตามลำพัง หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันที รวมถึงควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ให้เด็กสวมเสื้อชูชีพหรือห่วงยางทุกครั้งที่เล่นน้ำ จะทำให้การท่องเที่ยวทะเลเป็นไปด้วยความสนุกสนานและปลอดภัย

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฤดูร้อนเป็นช่วงที่ประชาชนนิยมไปท่องเที่ยวทะเล แต่หากขาดความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมทางน้ำ รวมถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศและคลื่นลมในทะเล ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอันตราย เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติในการท่องเที่ยวทางทะเลอย่างปลอดภัย ดังนี้เตรียมความพร้อมก่อนเที่ยวทะเล โดยตรวจสอบสภาพอากาศ ติดตามพยากรณ์อากาศ หากมีประกาศแจ้งเตือนคลื่นซัดฝั่ง พายุลมแรงหรือฝนตกหนัก ควรงดหรือเลื่อนการเดินทาง ตรวจสอบสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล เช่น ระดับความลึก ความแรงของคลื่นกระแสลม เป็นต้น หากเป็นพื้นที่ที่เคยเกิดคลื่นใต้น้ำ (Rip Current) คลื่นซัดฝั่งรุนแรง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ เป็นต้น ให้เพิ่มความระมัดระวังในการเล่นน้ำ พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จัดเตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น ยารักษาโรค ห่วงยาง เสื้อชูชีพ ยาบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้น สำหรับใช้งานในยามฉุกเฉิน ข้อควรปฎิบัติในการเล่นน้ำทะเล เลือกเล่นน้ำในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่เล่นน้ำบริเวณที่มีระดับน้ำลึก กระแสน้ำไหลวน มีคลื่นสูงซัดชายฝั่ง บริเวณที่มีป้ายหรือธงสัญลักษณ์เตือนอันตราย ไม่เล่นน้ำในพื้นที่หรือช่วงเวลาเสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะบริเวณที่มีร่องน้ำลึก มีโขดหินใต้น้ำอีกทั้งไม่เล่นน้ำในขณะหรือภายหลังฝนตกหนัก เพราะทะเลจะมีคลื่นสูงและซัดฝั่งรุนแรง หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำบริเวณที่มีเครื่องเล่นทางน้ำ เช่น สกู๊ตเตอร์ บานาน่าโบ๊ท เจ็ตสกี เป็นต้น เพราะมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย สวมเสื้อชูชีพหรือใช้ห่วงยางที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถลอยตัวรอการช่วยเหลือ ดูแลการเล่นน้ำของเด็กอย่างใกล้ชิด โดยให้เด็กสวมใส่เสื้อชูชีพหรือห่วงยางตลอดเวลาที่เล่นน้ำ ไม่ให้เด็กเล่นน้ำหรืออยู่ตามลำพังบริเวณชายหาด หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เด็กจะไม่สามารถช่วยหลือตนเองได้อย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายในขณะเล่นน้ำไม่ควรเล่นน้ำในบริเวณที่ห่างจากกลุ่มคน หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงที ไม่เล่นน้ำหลังรับประทานอาหาร รวมถึงไม่เล่นน้ำเป็นเวลานาน เพราะอาจเป็นตะคริวหรือเกิดความอ่อนเพลีย ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้ ทั้งนี้การตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทาง การเลือกท่องเที่ยวในพื้นที่ปลอดภัย รวมถึงการปฏิบัติตามป้ายเตือนอันตรายอย่างเคร่งครัด จะช่วยให้การท่องเที่ยวทะเลเป็นไปด้วยความสนุนสนานและปลอดภัย

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ