ปภ.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็น-บูรณาการขับเคลื่อนปฏิรูปด้านการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย

อังคาร ๑๗ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๕๗
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็น เพื่อขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านการจัดการภัยพิบัติ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 ณ โรงแรมรอยัลปรินซ์เซส หลานหลวง กรุงเทพฯ เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรค เสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รวมถึงศึกษาแนวทางและกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติให้สอดคล้องสภาพความเสี่ยงภัยและบริบทของสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ของรัฐบาล ภายใต้วาระ "ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thailand) เพื่อสร้างประเทศไทยให้เป็นเมืองปลอดภัยน่าอยู่ รู้รับ ปรับตัว และฟื้นกลับจากภัยพิบัติอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า สภาพภูมิอากาศโลกแปรปรวน ทำให้ประเทศไทยประสบสาธารณภัยรุนแรงมากขึ้น รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการภัยพิบัติที่เป็นระบบ เพื่อให้คนไทยได้รับการดูแลด้านความปลอดภัยจากภัยพิบัติครอบคลุมทุกมิติ โดยได้มอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านการจัดการภัยพิบัติ ภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ และภาวะโลกร้อน ซึ่งมี พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน ดังนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นเพื่อขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านการจัดการภัยพิบัติ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 ณ โรงแรมรอยัลปรินซ์เซส หลานหลวง กรุงเทพฯ เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรค เสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย รวมถึงศึกษาแนวทางและกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติให้สอดคล้องสภาพความเสี่ยงภัยและบริบทของสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ภายใต้วาระ "ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thailand)" โดยขับเคลื่อน การดำเนินงานในรูปแบบกลไกประชารัฐ ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุมฯ กว่า 80 คน

นายฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ มีการจัดเสวนาในหัวข้อ "การขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย" โดยนักวิชาการด้านภัยพิบัติ และผู้เกี่ยวข้องด้านกฎหมายการบริหารจัดการสาธารณภัย ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบแนวทางการปฏิรูปด้านการจัดการภัยพิบัติ ใน 4 ประเด็น ได้แก่

1. การบริหารจัดการด้านสาธารณภัยเพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

2. การพัฒนากฎหมายด้านสาธารณภัย

3. การพัฒนาระบบการคาดการณ์และระบบเตือนภัย

และ 4. การพัฒนาองค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนา รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่องานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะได้นำประเด็นข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ มากำหนดแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงกลั่นกรองและจัดทำข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านภัยพิบัติเสนอต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป เพื่อนำไปสู่การสร้างประเทศไทยให้เป็นเมืองปลอดภัยน่าอยู่ รู้รับ ปรับตัว และฟื้นกลับจากภัยพิบัติอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ.2558 - 2563 "มั่นคง – มั่งคั่ง – ยั่งยืน"

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital