จุฬาฯ ชูดิจิทัล สตาร์ทอัพ และนวัตกรรมเพื่อสังคมในงาน ดิจิทัล ไทยแลนด์ 2016 เผยแผนผนึกศิษย์เก่าระดมหมื่นล้าน สร้างผู้ประกอบการจริง

ศุกร์ ๒๗ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๒๘
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกศิษย์เก่า และชมรม IOIC (Intania Open Innovation Club) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบูธอลังการโชว์นวัตกรรมเพื่อสังคมไทย ตอบสนองทั้งเมืองและชนบทเผยแผนใช้พื้นที่ของจุฬาฯจากสยามสแควร์และจามจุรีแสควร์สู่ศูนย์การเรียนรู้น่าน สร้างระบบนิเวศนวัตกรรมให้ดิจิทัลสตาร์ทอัพ พร้อมระดม 1 หมื่นล้านบาท จากผู้ประกอบการและศิษย์เก่า หวังขับเคลื่อนประเทศไทยพ้นกับดักรายได้ปานกลาง

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีคนใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวที่งานดิจิทัล ไทยแลนด์ (Digital Thailand) ซึ่งจัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระหว่างวันที่ 26 – 28 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยบูธของจุฬาฯ นำเสนอการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) เพื่อผลักดันสังคมไทยสู่เศรษฐกิจที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากความคิดสร้างสรรค์ที่จะฉุดประเทศออกจาก กับดักรายได้ปานกลาง และมีผลงานตอบสนองคนในสังคม รวมถึงทิศทางใหม่ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านนวัตกรรม และเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศผ่านการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่จะเชื่อมโยงองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมของอาจารย์และนิสิตเข้ากับทักษะทางธุรกิจและการลงทุนของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบของสตาร์ทอัพ ทั้งนี้ จะอาศัยการเปิดพื้นที่ของจุฬาฯ ทั้งใจกลางกรุงเทพฯและที่ศูนย์การเรียนรู้ในต่างจังหวัดเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

"ด้วยต้นทุนขอ"คน""องค์ความรู้ครบทุกศาสตร์" และ"พื้นที่" ที่เรามี จุฬาฯจึงอยู่ในPositionที่สามารถจะสร้างสิ่งแวดล้อมอันเอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมสตาร์ทอัพให้เกิดขึ้นได้จริงเพื่อก่อให้เกิด Product และผู้ประกอบการรายใหม่ รายได้และการจ้างงาน พร้อมๆไปกับส่งเสริมและสนับสนุนคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่รากฐานของการก่อเกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน ซึ่งทางมหาลัยฯ ได้มีการสร้างศูนย์ Innovation Hub ที่ส่งเสริมสู่สตาร์ทอัพ ที่สยามสแควร์ จามจุรีแสควร์ และที่ศูนย์การเรียนรู้ของจุฬาฯ ที่จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นการร่วมกันระดมทุนระหว่างมหาลัยฯกับทางศิษย์เก่าและชมรม IOIC (Intania Open Innovation Club) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตรงนี้จุฬาดำเนินการจริง ไม่ได้เกาะกระแสสตาร์ทอัพแต่อย่างใด และมุ่งทำให้เกิดผลจริง เนื่องจากเห็นว่า การพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศโดยภาพรวม ซึ่งในส่วนของนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นแกนหลักสำหรับการขับเคลื่อนครั้งนี้" ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

ในส่วนของ Innovation Hub ที่จะสร้างขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ จะมีอยู่หลายจุดด้วยกันคือ สยามสแควร์ เชื่อมต่อ BTS, จามจุรีสแควร์ เชื่อมต่อ MRT และในอีก 3 ปีข้างหน้า มีการวางแผนที่จะเปิดเมืองนวัตกรรม แห่งจุฬา( CU Innovation District) ณ พื้นที่เขตสวนหลวงใกล้กับอุทยานจามจุรี ซึ่งเป็นพื้นที่กว่า 30 ไร่ ที่ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมอบให้เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ใจกลางเมือง

ขณะเดียวกัน ก็จะมีการสร้าง ศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรมในพื้นที่ชนบทในลักษณะที่จะบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจฐานรากเดิมที่เป็นเกษตรกรรมแต่หาทางดัดแปลงและเพิ่มมูลค่าในกับผลผลิตและกระบวนการ ด้วยวิธีการทางนวัตกรรม ซึ่งส่วนนี้จะไปทำที่ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ของจุฬาฯที่จังหวัดน่าน

สำหรับผลงานนวัตกรรมทางดิจิทัลของจุฬาฯที่นำเสนอที่งานดิจิทัล ไทยแลนด์ ได้นำเสนอระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Innovation Ecosystem) ที่สร้าง Startupไทย ก้าวขึ้นถึงระดับ Series A เช่น แอพพลิเคชั่นด้านประกันภัย Claim di เมื่อเกิดรถชน ไม่ต้องเสียเวลารอ ได้รับทุน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ (71.6 ล้านบาท) และได้คัดเลือกนวัตกรรมที่ตอบสนองคนในสังคมตลอดช่วงอายุขัย และในทุกพื้นที่ของสังคม ไม่ว่าจะเป็น

· นวัตกรรมถังขยะแยกขยะของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯฝ่ายประถมที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาแล้วมากมาย (อาทิ รางวัล เหรียญทองเกียรติยศ จาก 44th International Exhibition of Inventions of Geneva และรางวัล Special Prize จาก China Relegation of Invention and Innovationสาธารณรัฐประชาชนจีน)

· โปรแกรมธนาคารขยะออนไลน์ซึ่งเน้นสร้างแรงจูงใจทางการเงินผ่านการรีไซเคิลและมีการออกแบบที่ยืดหยุ่นเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ซึ่งขณะนี้โปรแกรมนี้มีการนำไปใช้จริงแล้วโดยเกษตรกรและประชาคมในพื้นที่จังหวัดน่าน

· "เวียร์บัส แอพพลิเคชั่นติดตาม และนำทางรถเมล์แบบเรียลไทม์" ที่เริ่มจากความพยายามจัดการกับความหงุดหงิดของการรอรถโดยสารภายในจุฬาฯที่พัฒนาต่อยอดไปจนสามารถนำมาใช้จริงกับรถโดยสารขนส่งมวลชนของ ขสมก. และได้ผลดีมาก

· ระบบ Drone ตรวจวัดสภาพอากาศขนาดเล็กที่ราคาถูก ใช้ง่าย ซึ่งสามารถตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น ฝุ่นละออง และหมอกควัน ขณะเดียวกันยังสามารถส่งข้อมูลแบบไร้สาย เหมาะกับพื้นที่ชนบทไปจนถึงพื้นที่ในเมือง

· เกมที่สามารถฝึกฝนสัญญาณคลื่นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางสมองชิ้นแรก ของโลก ซึ่งได้รับรางวัลนานาชาติมาหลายรางวัล (เช่น รางวัลเหรียญทอง จาก 44th International Exhibition of Inventions of Geneva เป็นต้น )

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4