รองนายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมการแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้วยน้ำบาดาล เพื่อฟื้นฟูและคืนความสมบูรณ์ให้ป่าจำปีสิรินธร จังหวัดลพบุรี

พฤหัส ๐๒ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๓:๐๕
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตรวจเยี่ยมพื้นที่ "ป่าจำปีสิรินธรแห่งเดียว ในโลก" ที่จังหวัดลพบุรี เพื่อรับทราบการบูรณาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จังหวัดลพบุรี และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (จำปีสิรินธร) ที่สามารถฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าจำปีสิรินธรให้กลับคืนสู่ความสมบูรณ์อีกครั้ง

สืบเนื่องจากเมื่อต้นปี 2559 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ได้มอบหมายให้ประธานคณะทำงานกลั่นกรองแผนงาน/โครงการ คณะที่ 1 (พลเอกวิทยา จินตนานุรัตน์) เป็นหัวหน้าคณะ ในการลงพื้นที่ตรวจและสำรวจความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 6 ตำบล ของอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ซึ่งได้รับทราบปัญหาป่าจำปีสิรินธร ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (จำปีสิรินธร) ม.1 ต.ซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี ว่า กำลังประสบปัญหาภัยแล้งขาดน้ำทำให้ต้นจำปีสิรินธรล้มตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าจำปีสิรินธรให้กลับคืนสู่ความสมบูรณ์อีกครั้ง จึงมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการสำรวจหาแหล่งน้ำบาดาลที่มีศักยภาพโดยรอบป่าจำปีสิรินธร เพื่อเจาะน้ำบาดาลมากักเก็บ และช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งดังกล่าว

นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยว่า พื้นที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (จำปีสิรินธร) ก่อตั้งเมื่อปี 2549 มีพื้นที่เป็นสภาพพรุน้ำจืด จำนวน 141 ไร่ เดิมมีต้นจำปีสิรินธร 517 ต้น แต่ในช่วง 7 ปี ที่ผ่านมาเกิดสภาพฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้ ต้นจำปีสิรินธรยืนต้นตายกว่าครึ่งหนึ่ง คงเหลือในปัจจุบันประมาณ 225 ต้น กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงได้รับมอบหมายให้จัดหาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาโดยดำเนินการสำรวจทางธรณีวิทยาเพื่อหาจุดเจาะ ที่เหมาะสมในการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลบริเวณสวนป่าจำปีสิรินธร จึงได้บูรณาการร่วมกับจังหวัดลพบุรี และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (จำปีสิรินธร) เพื่อจัดหางบประมาณสำหรับการเจาะ บ่อน้ำบาดาล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าและระบบพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งสิ้น 3 จุด โดย 2 จุดแรก ตั้งอยู่บริเวณหัวป่าจำปีสิรินธร บ่อน้ำบาดาลบ่อที่ 1 ความลึก 104 เมตร ขนาดบ่อ 150 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำ 30 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ติดตั้งเครื่องสูบขนาด 3 แรงม้า ใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 3200 วัตต์ บ่อน้ำบาดาลบ่อที่ 2 ความลึก 72 เมตร ขนาดบ่อ 150 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำ 30 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ติดตั้ง เครื่องสูบขนาด 3 แรงม้า ใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 3,200 วัตต์ และอีก 1 จุด บริเวณสำนักงานของสวนป่าจำปีสิรินธร เป็นบ่อน้ำบาดาลบ่อที่ 3 ความลึก 62 เมตร ขนาดบ่อ 150 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำ 4 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ปัจจุบันระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 2 บ่อ บริเวณหัวป่าจำปีสิรินธร สูบน้ำด้วย อัตราการสูบประมาณ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง สามารถสูบเข้าสู่ฝายต้นน้ำเพื่อเข้าสู่ป่าจำปีสิรินธรได้ วันละ 350-500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และเริ่มสูบน้ำมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ได้ปริมาณน้ำบาดาล กว่า 18,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำของ "ป่าจำปีสิรินธรแห่งเดียวในโลก" ให้ผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งนี้ไปได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้