เกาะติดการผลิตการตลาดมันสำปะหลัง สศก. แจงภัยแล้งฉุดเปอร์เซ็นต์แป้งลด บางส่วนขาดแคลนต้นพันธุ์

จันทร์ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๖:๑๗
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุ ภัยแล้งกระทบพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังบางส่วนได้รับความเสียหาย หัวมันสำปะหลังมีขนาดเล็ก เชื้อแป้งลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ในเดือนพฤษภาคม อยู่ที่กิโลกรัมละ 1.87 บาท ด้านภาครัฐเร่งเดินหน้าโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังในระบบน้ำหยด ปี 2558/59 เพื่อสนับสนุนเงินทุน ช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตแล้ว

นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังในแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญของภาคกลางและภาคเหนือ ว่า มันสำปะหลังได้ออกสู่ตลาดมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึง พฤษภาคม 2559 ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจ พบว่า ปีนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก เชื้อแป้งลดลงประมาณ 1- 3% รวมทั้งผลผลิตต่อไร่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะภัยแล้ง โดยเกษตรกรบางส่วนขุดมันสำปะหลังไม่ครบอายุ ประกอบกับใช้พันธุ์มันสำปะหลังไม่เหมาะสมกับพื้นที่ หรือใช้พันธุ์ที่ไม่ได้รับการรับรองจากทางราชการ และใช้พันธุ์ตามเพื่อนบ้าน เช่น พันธุ์น้องแบม ที่ให้น้ำหนักดีแต่มีเชื้อแป้งต่ำ เพราะมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงของผู้จำหน่ายพันธุ์มันสำปะหลัง ทำให้เมื่อกระทบแล้ง มันสำปะหลังพันธุ์นี้จึงให้เชื้อแป้งลดต่ำลงมาก

สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลใหม่ พบว่า มันสำปะหลังที่ปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2558 ประสบภาวะภัยแล้ง ส่งผลให้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังบางส่วนได้รับความเสียหาย เกษตรกรต้องปลูกซ่อมหรือบางรายต้องปลูกใหม่ ส่วนเกษตรกรที่เตรียมต้นพันธุ์เพื่อปลูกในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2559 บางพื้นที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ไม่สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ จึงส่งผลให้พันธุ์มันสำปะหลังที่เตรียมไว้ตาย เกิดปัญหาขาดแคลนต้นพันธุ์

ด้านการตลาด พบว่า ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ยังคงอ่อนตัวลง จากราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.09 บาท ในเดือนตุลาคม 2558 เหลือกิโลกรัมละ 1.87 บาท ในเดือนพฤษภาคม 2559 เนื่องจากจีนชะลอการสั่งซื้อมันเส้น ประกอบกับเชื้อแป้งมันสำปะหลังต่ำ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังในระบบน้ำหยด ปี 2558/59 เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาการปลูกมันสำปะหลังในระบบน้ำหยดให้แก่เกษตรกร และช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยให้เกษตรกรกู้เงินจาก ธ.ก.ส. วงเงินกู้รายละไม่เกิน 230,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งรัฐชดเชยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ FDR+1 ต่อปี ระยะเวลา 24 เดือน เกษตรกรสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการกับ ธ.ก.ส. ใกล้บ้าน ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 30 กันยายน 2559

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4