สศท.3 ชูเกษตรกรต้นแบบ จ.เลย หันทำเกษตรผสมผสาน โชว์เทคนิคการปลูกถั่วดาวอินคาให้สำเร็จ

จันทร์ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๖:๓๒
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 แนะนำเกษตรกรต้นแบบศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย โดย นายวิสุทธิ์ ภารกิจ กับแนวคิดทำการเกษตรแบบผสมผสาน ที่หันปลูกถั่วดาวอินคาเป็นพืชทางเลือกจนประสบผลสำเร็จ สร้างรายได้เสริมมาเป็นระยะเวลา 2 ปี

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ร่วมบูรณาการการดำเนินงานกับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 โดยนายฉัตรชัย เต้าทอง ผู้อำนวยการ ได้ปฏิบัติงานร่วมกับ ศพก.ในพื้นที่ และติดตามถึงสถานการณ์การปลูกพืชในพื้นที่ร่วมกับกลุ่มเกษตรกร พบว่า การปลูกถั่วดาวอินคา ถือเป็นพืชทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร อีกทั้งเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา และกำลังเป็นที่นิยมตามกระแสของผู้รักสุขภาพในการบริโภคอาหารที่เน้นไปที่คุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งตัวอย่างหนึ่งของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จและอยากจะแนะนำ คือ นายวิสุทธิ์ ภารกิจ เกษตรกรต้นแบบเจ้าของแปลงเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านดงป่ายาง ตำบลท่าสะอาด อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้ประกอบอาชีพสวนยางพารามายาวนาน แต่เมื่อประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ จึงได้มีแนวคิดทำการเกษตรแบบผสมผสานไม่ยึดติดกับการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้จัดสรรพื้นที่จำนวน 2 ไร่ ปลูกถั่วดาวอินคาเป็นพืชทางเลือก เป็นรายได้เสริมมาเป็นเวลา 2 ปี

การปลูกถั่วดาวอินคามีต้นทุน เฉลี่ย 8,000 บาทต่อไร่ สำหรับวิธีการปลูก แนะนำขุดหลุมฝังเสาปูนระยะห่างการปลูก 2 x 3 เมตร ใช้ต้นพันธุ์ 250 ต้นต่อไร่ ต้นละ 20 บาท ดูแลรักษา ให้ปุ๋ยทางดิน ให้ปุ๋ยทางใบการกำจัดวัชพืช อื่นๆ โดยไม่ใช้สารเคมี และดูแลระบบการให้น้ำต้องเพียงพอ แต่อย่าให้ท่วมขังที่ลำต้น ควรยกร่องให้สูง เพื่อป้องกันน้ำท่วม สามารถเริ่มเก็บผลผลิตได้เมื่อถั่วดาวอินคามีอายุ 6-8 เดือน

ในปีที่ 1 สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดปี 2 – 3 รอบ เฉลี่ยปีละ 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ปีที่ 2 สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดปี 3 – 5 รอบ เฉลี่ยปีละ 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ และนำถั่วดาวอินคากะเทาะเปลือกแยกเมล็ดออกจากฝักนำเมล็ดถั่วดาวอินเข้าเครื่องบีบขนาดเล็กเพื่อสกัดน้ำมัน โดยเมล็ดถั่วดาวอินคา 3 กิโลกรัม เมล็ดสดสกัดน้ำมัน 1 ลิตร ซึ่งถั่วดาวอินคา 1 ไร่ จะได้น้ำมัน 130 – 150 ลิตรต่อไร่ ซึ่งน้ำมันถั่วดาวอินคาส่งขาย ลพบุรี ระยอง สกลนคร ชัยภูมิ ขนาดบรรจุ 800 มิลลิลิตร ราคา 2,000 บาท ใบตากแห้งทำเป็นใบชาถั่วดาวอินคาขาย ราคา เฉลี่ย 500 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสามารถเสริมรายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 – 30,000 บาท

สำหรับน้ำมันถั่วดาวอินคา มีสารโอเมก้า 3 6 9 ที่จำเป็นต่อร่างกาย สรรพคุณเป็นยารักษาโรคคอพอก โรคสะเก็ดเงิน โรคหอบหืด ฯลฯ ใบสดถั่วดาวอินคาสามารถนำมาสกัดเป็นเครื่องดื่มประเภทคลอโรฟิลด์ ยอดอ่อน ถั่วดาวอินคา สามารถนำมาผัดเป็นผักบุ้งไฟแดง รับประทานได้ มีผลดีต่อระบบขับถ่าย เสริมภูมิคุ้มกัน ชะลอความชรา นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับชุมชน ทั้งนี้ หากท่านใดสนใจเกี่ยวกับการปลูกถั่วดาวอินคาเพื่อบีบน้ำมันเสริมรายได้ สามารถติดต่อได้ที่ เกษตรกรต้นแบบ (นายวิสุทธิ์ ภารกิจ) ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร บ้านดงป่ายาง หมู่ 7 ตำบลท่าสะอาด อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย โทร 09-3379-5337 หรือสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี โทร 0-4229-557-8

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital