กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาผลิตผลสมุนไพรที่มีศักยภาพ เพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

อังคาร ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๐๙:๐๙
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาผลิตผลสมุนไพรที่มีศักยภาพ เพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560 – 2564

นางบริสุทธิ์ เปรมประพันธ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาผลิตผลสมุนไพรที่มีศักยภาพ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาผลิตผลสมุนไพรที่มีศักยภาพ โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายหรือกรอบแนวทางขับเคลื่อนงานส่งเสริมห่วงโซ่ผลิตผลสมุนไพรที่มีศักยภาพ จัดทำแผนงานโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาผลิตผลสมุนไพรที่มีศักยภาพและขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร

นางบริสุทธิ์ กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการดังกล่าว มีเป้าหมายการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ การส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560 – 2564 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรแปรรูปเบื้องต้นอย่างมีคุณภาพ โดยปริมาณวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพมีความเพียงพอใกล้เคียงกับความต้องการใช้ และอนุรักษ์สมุนไพรไทยให้คงไว้อย่างยั่งยืน ซึ่งมีมาตรการและแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ได้แก่ 1) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย 5 แผนงาน ครอบคลุมการปลูก การแปรรูป มาตรฐานการปลูก ฐานข้อมูล การตรวจคุณภาพ และตลาดกลาง 2) การวิจัยและจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร ประกอบด้วย 2 แผนงาน ครอบคลุมการวิจัยและมาตรฐานคุณภาพ และ 3) การอนุรักษ์และใช้พืชสมุนไพรจากป่าอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 แผนงาน ครอบคลุมการจัดการศูนย์อนุรักษ์และเครือข่ายชุมชน

ทั้งนี้ แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560 – 2564 มีเป้าหมายที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน และมีมูลค่าของวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว ภายในปี 2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาอุตสาหกรรมและการตลาดสมุนไพรให้มีคุณภาพระดับสากล ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความเข้มแข็งของการบริหารและนโยบายของรัฐเพื่อการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๓๘ โอซีซี มอบฝาขวดน้ำ เพื่อทำเก้าอี้ให้น้อง ๆ ในโรงเรียนขาดแคลน
๑๑:๑๘ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดศูนย์ทดสอบหลักสูตร CISA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑๑:๓๕ 'ราชบุรี มีลาย' อนุรักษ์มรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ชูอัตลักษณ์ 'ลายผ้าราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) รองผู้ว่าฯ เมืองโอ่ง
๑๑:๕๓ พีทีที สเตชั่น ร่วมกับ ทิพยประกันภัย มอบความสะดวกและรวดเร็ว ซื้อประกันภัยผ่าน QR Code
๑๑:๐๙ FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น
๑๐:๑๙ รมว.อว. เป็นประธานเปิดบูธนิทรรศการผลงาน @ Thai Pavilion พร้อมให้กำลังใจนักประดิษฐ์ไทย นำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ครั้งที่
๑๐:๔๖ BRIDGESTONE TURANZA T005 EV ยางพรีเมียมสมรรถนะสูงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เหนือระดับด้วยเทคโนโลยี ENLITEN(R)ได้รับเลือกเป็นยางล้อมาตรฐานติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ MG4 XPOWER
๐๙:๑๔ อพท. เปิดรับสมัคร สุดยอดนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ชิงเงินรางวัลกว่า 130,000
๐๙:๔๑ หนังสือ Royal Thai Cuisine ตำรับอาหารไทยชาววัง วิทยาลัยดุสิตธานี
๑๘ เม.ย. เด็ก ม.กรุงเทพ ยกทีม คว้าชนะเลิศครีเอทคลิปสั้นได้ใจฟูมาก