การวิจัยระดับนานาชาติเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กและเยาวชน

พฤหัส ๒๓ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๐๙:๑๑
ในการประชุมสมาชิกโครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แก่เยาวชนจากทั่วโลกที่จัดขึ้นโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development) หรือ OECD ที่มีสมาชิกจากทั่วโลกมาร่วมประชุม โดยประเทศมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและวิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี และ ดร.ไกรยส ภัทราวาส ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน เป็นตัวแทนประเทศไทยในการรายงานผลการวิจัย

โดยการประชุมเริ่มโดย Mr.Andrea Schletariat ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาองค์การ OECD (ผู้เริ่มก่อตั้งโครงการทดสอบด้วยแบบทดสอบ "PISA") กล่าวถึงความเป็นมาโครงการ หลังจากนั้น Mr.Stephan VICENT-Lancrin ประธานโครงการใช้กรณีศึกษาของประเทศไทยแก่ประเทศอื่นๆ ในเรื่องของการวิเคราะห์ผลเพื่อการนำเสนอผล เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในขณะนี้ที่กระบวนการวิจัยเรื่องความคิดเสร็จสิ้นแล้ว เนื่องจากเวลาเปิด - ปิดภาคเรียน 2/2558 ก่อนประเทศอื่นๆ โดยผลที่เกิดจากการสรุปข้อมูลวิจัยของประเทศไทยที่นำเสนอ ข้อมูลในเชิงคุณภาพที่เป็นการเก็บ Feedback จากครูเกี่ยวกับการนำแบบทดสอบเสริมสร้างเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ที่เรียกว่า Rubric มาใช้ ซึ่งคุณครูในโครงการได้นิยามถึง Rubric ใน Version ของ OECD ว่า เป็นเครื่องมือเชิงกระบวนการ ที่นำเอา หัวใจสำคัญของ ระบบการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของมนุษย์ 2 สิ่งมาผสมผสานกัน นั่นคือ

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กับ Formative Assessment จนเกิดเป็นกระบวนการใหม่ในชั้นเรียน ที่เกื้อหนุนกันจนทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ Rubric ของ OECD เหนี่ยวนำพฤติกรรมการสอนของครูด้วย แบบฟอร์ม กติกา และวิธีการใช้ที่ช่วยกรอบความคิดและกระบวนการของครูให้จัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และกิจกรรมที่ท้าทายสนุกสนานให้แก่ผู้เรียนมากขึ้นซึ่งครูคิดว่า Rubric มาพร้อมกับ "กุศโลบาย" อุปมากับ วัตถุมงคลสักชิ้นที่เจ้าของมักได้มาพร้อมวิธีสักการะบูชา ว่าจะต้องรักษาศีลมีจิตเมตตา คนที่เชื่อถือก็ทำตาม จนเหนี่ยวนำให้เจ้าของเกิดพฤติกรรมที่ดี ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นผลคะแนนสรุปได้ดังนี้ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนไทยในระดับประถมจะสูงกว่าเด็กมัธยม ความสามารถในการคิดของเด็กประถมในการสร้างผลงานศิลปะแบบ Abstract จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าด้าน Concrete ส่วน นักเรียนมัธยมทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานด้านวิทยาศาสตร์กายภาพจะเติบโตหรือก้าวหน้าเร็วกว่าด้านชีวภาพกว่าอย่างมาก โดยภาพรวมของนักเรียนไทยสามารถคิดแบบเอนกนัย (ฟุ้ง กระจาย จากสิ่งเดียว เชื่อมโยงกับหลายๆสิ่ง) ได้ดีกว่าแบบ เอกนัย (แบบรวบยอดหลายๆสิ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง) โดย Mr.Stephan VINCENT ประธานในการประชุมได้ใช้กรณีของประเทศไทยนำสู่การหารือเรื่อง National Report ที่ทุกๆประเทศจะทำร่วมกัน นอกจากนี้ทุกประเทศมีคมติร่วมกันว่า OECD ควรนำผลของแต่ละประเทศมารวมกันในลักษณะของ International Report และเผยแพร่ให้ทั่วโลกต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ เม.ย. เปิดโพล! สงกรานต์ คนไทยยังอยาก รวย อวย Soft Power เสื้อลายดอก-กางเกงช้าง ต้องใส่สาดน้ำ
๑๗ เม.ย. ฮีทสโตรก : ภัยหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต
๑๗ เม.ย. STX เคาะราคา IPO 3.00 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ ปักธงเทรด mai 26 เมษายน 67
๑๗ เม.ย. ถอดบทสัมภาษณ์คุณอเล็กซานเดอร์ ฟาบิก (Alexander Fabig) และคุณปีเตอร์ โรห์เวอร์ (Peter Rohwer) ผู้เชี่ยวชาญ
๑๗ เม.ย. HIS MSC จัดงานสัมมนา The SuperApp ERP for Hotel
๑๗ เม.ย. ที่สุดแห่งปี! ครบรอบ 20 ปี TDEX (Thailand Dive Expo) มหกรรมธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำระดับเอเชีย งานเดียวที่นักดำน้ำรอคอย
๑๗ เม.ย. เคทีซีเสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด เคทีซี พราว
๑๗ เม.ย. ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง CHAO เตรียมเสนอขาย IPO ไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น ระดมทุนเข้าจดทะเบียนใน SET
๑๗ เม.ย. แอร์เอเชีย บิน สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ เริ่มต้น 1,000 บาทต่อเที่ยว* เสริมทัพหาดใหญ่ บินเลือกได้ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ!
๑๗ เม.ย. YONG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น