กรณีวัดพระธรรมกาย และพระธัมมชโย

อังคาร ๐๕ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๐๒
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "กรณีวัดพระธรรมกาย และพระธัมมชโย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27 – 28 มิถุนายน 2559 จากประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ ทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับกรณีวัดพระธรรมกาย และพระธัมมชโย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูล ตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกรณีวัดพระธรรมกาย และพระธัมมชโย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.44 ระบุว่า พระธัมมชโย ควรมอบตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ รองลงมา ร้อยละ 20.80 ระบุว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ควรรีบดำเนินการตามกฎหมายโดยเร็วเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 9.36 ระบุว่า มีการเมืองอยู่เบื้องหลังกรณีวัดพระธรรมกาย และพระธัมมชโย ร้อยละ 8.00 ระบุว่า กรณีวัดพระธรรมกาย และพระธัมมชโย อาจทำให้สังคมแตกแยก ร้อยละ 6.72 ระบุว่า คนไทยกลุ่มหนึ่งปล่อยให้ความเชื่อความศรัทธาอยู่เหนือกฎหมาย ร้อยละ 5.84 ระบุว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ควรรอให้พระธัมมชโยหายอาพาธก่อนค่อยเข้าดำเนินการจับกุม ร้อยละ 5.12 ระบุว่า กรณีวัดพระธรรมกาย และ พระธัมมชโย เป็นวิกฤติของพระพุทธศาสนา ร้อยละ 3.12 ระบุว่า พระธัมมชโย ควรรอให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ก่อนค่อยมอบตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 2.16 ระบุว่า พระธัมมชโยถูกใส่ร้ายกลั่นแกล้ง ร้อยละ 1.44 ระบุว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดำเนินการโดยมีอคติ ร้อยละ 2.80 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ วัดพระธรรมกายไม่โปร่งใส มีการบิดเบือนคำสอนตามหลักพุทธศาสนา ส่วนคดีของวัดพระธรรมกาย และพระธัมมชโย นั้น DSI ขาดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างมาก ควรดำเนินการให้ถึงที่สุด โดยเฉพาะพระธัมมชโยควรศึกออกจากการเป็นพระ และได้รับโทษตามกฎหมาย ในขณะที่บางส่วนระบุว่า พระธัมมชโยเป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ทำความผิด และรัฐบาลไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และร้อยละ 25.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ "ความเชื่อความศรัทธา" กับ "การปฏิบัติตามกฎหมาย" ว่าสิ่งใดสำคัญ กว่ากัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.52 ระบุว่า "การปฏิบัติตามกฎหมาย" สำคัญกว่า เพราะ ทุกคนต้องอยู่ภายใต้ของกฎหมาย กฎหมายสามารถบังคับใช้ได้กับทุกคน แต่ความเชื่อและความศรัทธา เป็นเรื่องของส่วนบุคคลซึ่งความเชื่อไม่ได้มีเหมือนกันทุกคน บางครั้งก็ไม่มีเหตุผลจนเกินไป ดังนั้น กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มีความยุติธรรม สามารถพิสูจน์ได้ ไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตาม ศาสนา ทุกศาสนาต้องเคารพกฎหมาย หากไม่มีกฎหมายแล้ว บ้านเมืองย่อมเกิดความวุ่นวายอย่างแน่นอน กรณีวัดพระธรรมกาย และพระธัมมชโยหากไม่มีความผิดจริง ควรเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 10.08 ระบุว่า "ความเชื่อความศรัทธา" สำคัญกว่า โดยในจำนวนนี้ ระบุเหตุว่า เพราะ ประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธมีหลักคำสอนไม่ให้กระทำความผิดเบียดเบียน ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน หากทำดีก็ได้ดี ทำชั่วก็ได้ชั่ว แต่กฎหมายของบ้านเมืองทุกวันนี้ขาดความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามความเชื่อและความศรัทธาต้องมีเหตุและผล ไม่งมงายจนเกินไป ขณะที่ ร้อยละ 8.08 ระบุว่า สำคัญพอ ๆ กัน และร้อยละ 4.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.88 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.28 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.32 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 34.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.28 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 52.24 เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.60 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 6.72 มีอายุ 17 – 25 ปี ร้อยละ 17.44 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.92 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.36 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 17.76 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.80 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 22.16 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.36 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.88 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.60 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 24.96 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.00 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.16 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.80 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.08 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.00 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 12.56 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.64 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.04 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.60 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.80 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.92 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.04 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 4.32 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.80 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 10.16 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.68 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ