ชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง จุ0ดยืนทางการเมืองของสาธารณชน กับ การตัดสินใจ รับ หรือ ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัด

จันทร์ ๑๑ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๑๕
ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชนและ ผอ.สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดผลสำรวจเรื่อง จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนกับการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรมนูญ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา มุกดาหาร ขอนแก่น อุดรธานี ปทุมธานี ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา และนราธิวาส จำนวนทั้งสิ้น 5,687 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา พบว่า

เมื่อสอบถามถึง จุดยืนทางการเมืองของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 54.7 ขออยู่ตรงกลาง ในขณะที่ร้อยละ 35.2 สนับสนุนรัฐบาล และ ร้อยละ 10.2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล และเมื่อสอบถามถึงการตัดสินใจแล้วว่าจะรับ หรือ ไม่รับ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.4 ตัดสินใจแล้วว่าจะรับ หรือ ไม่รับ ในขณะที่ ร้อยละ 24.6 ยังไม่ตัดสินใจ และเมื่อแยกตาม จุดยืนทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.7 ของกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล ตัดสินใจแล้ว ในขณะที่ ร้อยละ 72.7 ของกลุ่มที่ขออยู่ตรงกลาง และ ร้อยละ 36.4 ของกลุ่มที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล ตัดสินใจแล้ว เช่นกัน

เมื่อขอให้ ประชาชนระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย 75.7 ไม่เลือกพรรคใดเลย ในขณะที่ร้อยละ 13.6 ตั้งใจเลือก พรรคเพื่อไทย รองลงมาคือร้อยละ 9.0 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 1.7 ระบุพรรคอื่นๆ

ที่น่าพิจารณาคือ การตัดสินใจ รับ หรือ ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ แยกตาม กลุ่มนิยมพรรคการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.8 ของกลุ่มไม่เลือกพรรคใดเลย ตัดสินใจแล้วว่าจะรับ หรือ ไม่รับ ในขณะที่ ร้อยละ 58.8 ของกลุ่มคนเลือกพรรคเพื่อไทยตัดสินใจแล้ว และ ร้อยละ 86.1 ของกลุ่มคนเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และ ร้อยละ 90.1 ของกลุ่มคนเลือกพรรคอื่นๆ ตัดสินใจแล้วเช่นกัน

ผอ.สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ตัดสินใจแล้วว่า จะรับหรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ แต่อาจจะเปลี่ยนใจได้ เพราะเมื่อเปิดตำราหลักการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทยผ่าน ทฤษฎีแก้วสามใบ ต่อความคิดเห็นที่แตกต่างกันของประชาชน พบว่า แก้วใบแรกเป็นของคนหนุนรัฐบาลที่มีทั้งส่วนของตะกอนและส่วนของน้ำที่เปลี่ยนใจไหลเทไปที่แก้วใบอื่นได้ โดยในเวลานี้คนที่เคยอยู่ในแก้วใบที่หนุนรัฐบาลได้ไหลไปอยู่ในแก้วใบที่สามที่เป็นแก้วของคนที่ขออยู่ตรงกลางมากที่สุด จึงเห็นได้วว่ากลุ่มคนที่หนุนรัฐบาลและกลุ่มคนที่ขออยู่ตรงกลางส่วนใหญ่ตัดสินใจแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลาเพราะ ยังไม่ตกตะกอน จึงขึ้นอยู่กับ กระแสข้อมูลข่าวสารในเวลานี้ที่จะมีผลต่อการตัดสินใจของสาธารณชนมากน้อยเพียงไร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest