สสว. ปลื้มโครงการ Start Up เป็นไปตามเป้า เพียงครึ่งปีมีผู้ผ่านการอบรมเบื้องต้นแล้วหมื่นกว่าราย ออมสิน ผนึก ธกส. รับลูก เสริมทัพ ธพว. ปล่อยกู้ SME รายใหม่

พฤหัส ๐๔ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๔๒
สสว. เผยความคืบหน้า โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) ล่าสุด มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะแล้วทั้งสิ้น 11,004 ราย จากที่ตั้งเป้าไว้ 10,000 ราย สำหรับปี 2559 ออมสิน ธกส. และ ธพว. ร่วมสนับสนุนด้วยการให้กู้ยืมแก่ SME รายใหม่ หรือเข้าร่วมลงทุน

นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ที่มีนวัตกรรม ภายใต้วงเงินงบประมาณ 200 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 และตั้งเป้าหมายจะสร้างผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ ไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561

มีรายละเอียดดังนี้

สสว. ร่วมกับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 มหาวิทยาลัย ได้รายงานความคืบหน้าว่า โครงการStart Up ได้เริ่มดำเนินการจริงในเดือนเมษายน 2559 เพียงเดือนกรกฎาคม 2559 มีผู้สนใจสมัครเข้ารับการบ่มเพาะแล้ว รวมทั้งสิ้น 11,004 ราย จำแนกได้ดังนี้

A. บุคคลที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำแนกตามสถานะ

สถานะ % ของยอดรวม จำนวนราย

1. บุคคลทั่วไป ทำธุรกิจอยู่แล้ว (ไม่ได้จดทะเบียน) 30.55 % 3,362

2. บุคคลทั่วไป ยังไม่ได้ทำธุรกิจ 29.87 % 3,287

3. นิสิต/นักศึกษา 22.93 % 2,523

4. ธุรกิจจดทะเบียน ที่ไม่เกิน 3 ปี (ยกเว้นนิติบุคคล) 10.66 % 1,173

5. วิสาหกิจชุมชน 5.99 % 659

รวมทั้งสิ้น 100 % 11,004

B. บุคคลที่เข้าร่วมโครงการ จำแนกตามประเภทธุรกิจที่ให้ความสนใจ

สาขาธุรกิจ % ของยอดรวม จำนวนราย

1. ภาคการผลิต 51.05 % 5,617

1.1 First – S Curve 47 % 2,653

ยานยนต์สมัยใหม่, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, การแปรรูปอาหาร

1.2 New – S Curve 3 % 165

หุ่นยนต์ (Robotics), การบิน และโลจิสติกส์, เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, ดิจิตอล (Digital)

1.3 การผลิตอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้า เสื้อผ้า ผลิตภัณฑจากหนัง เครื่องสำอางค์ ฯลฯ 50 % 2,799

2. ภาคการบริการ 31.58% 3,475

2.1 First – S Curve 3 % 110

การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

2.2 New – S Curve 1 % 22

การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

2.3 การบริการอื่นๆ เช่น บริการสุขภาพ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ฯลฯ 96 % 3,343

3. ยังไม่ตัดสินใจ 17.38% 1,912

รวมทั้งสิ้น 100 % 11,004

C. บุคคลที่เข้าร่วมโครงการ จำแนกตามพื้นที่

พื้นที่ รวม มหาวิทยาลัย จำนวนผู้ประกอบการ

เทคโนโลยีราชมงคล

กรุงเทพมหานคร 795 1. มทร.พระนคร 487

2. ราย มทร.กรุงเทพ 308

ภาคกลางและตะวันออก รวม 26จังหวัด 3,111 3. มทร.ตะวันออก 407

4. มทร.สุวรรณภูมิ 439

5. มทร.รัตนโกสินทร์ 1,044

6. มทร.ธัญบุรี 1,221

ภาคเหนือ 17 จังหวัด 2,075 7. มทร.ล้านนา 2,075

ภาคใต้ 14 จังหวัด 1,517 8. มทร.ศรีวิชัย 1,517

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20จังหวัด 3,506 9. มทร.อีสาน 3,506

รวมทั้งสิ้น 11,004 11,004

การบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 General Knowledge คือ การอบรมให้เข้าใจหลักธุรกิจเบื้องต้น เพื่อสร้างให้เกิดจิตสำนึกการเป็นผู้ประกอบการ

ระยะที่ 2 Specific Knowledge และเริ่มทำแผนธุรกิจ คือ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ (Candidate) แต่ละรายจะระบุประเภทธุรกิจที่ให้ความสนใจ และรับการอบรม Technical Knowhow หรือความรู้เฉพาะสำหรับธุรกิจนั้นๆ ในขณะเดียวกันควบคู่กันไป Candidate จะเริ่มจัดทำแผนการเริ่มธุรกิจที่แต่ละคนมีความสนใจ

ระยะที่ 3 ร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อหาแนวทางนำแผนธุรกิจไปปฏิบัติจริง Candidate ที่สามารถทำแผนธุรกิจได้ชัดเจนจะได้รับการคัดเลือกให้ไปร่วมพิจารณาการนำแผนธุรกิจไปปฏิบัติจริงร่วมกับ

พี่เลี้ยงซึ่งเป็นนักธุรกิจในเขตพื้นที่ตามที่ Candidate สังกัดอยู่ นักธุรกิจที่อาสาสมัครเข้ามาช่วยงานในโครงการนี้เป็นสมาชิกจากสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย โดยพี่เลี้ยงจะนำประสบการณ์ในการทำธุรกิจจริงมา ถ่ายทอดให้ Candidate เพื่อจะสามารถปรับแผนธุรกิจให้เข้ากับสภาวะของตลาดที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ในกรณีที่ Candidate มีความต้องการนวัตกรรมเพื่อให้สินค้าเป็นที่ถูกใจของตลาด มทร. ก็จะประสานงานกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่เพื่อช่วยนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับสินค้าและบริการของ Candidate

ทั้งนี้ Candidate ที่มีแผนธุรกิจไม่ชัดเจนหรือไม่สามารถปรับแผนธุรกิจให้เป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติจะพ้นสภาพจากโครงการไป อย่างไรก็ดี หาก Candidate ยังมีใจมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ประกอบการต่อไป ก็สามารถมาสมัครเข้าโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ได้อีกในปี 2560

ระยะที่ 4 คัดเลือกผู้ที่มีแนวโน้มที่จะประกอบธุรกิจได้จริงเพื่อชักชวนให้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ SMEs โดย สสว. จะประสานงานให้ผู้ประกอบการรายใหม่ ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน จากสถาบันการเงินของรัฐที่เข้าร่วมเป็นภาคีของโครงการนี้ 3 แห่ง ได้แก่ ธพว. ออมสิน ธกส. การสนับสนุนของธนาคารทั้ง 3 แห่ง จะอยู่ในรูปของการให้กู้ยืมและโครงการร่วมลงทุน โดยในกรณีของ ธกส. จะมุ่งเป้าไปยังผู้ประกอบการใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาจากวิสาหกิจชุมชน เพื่อประคับประคองให้เกิดเป็น SMEs เกษตรต่อไป

สสว. ตั้งเป้าไว้ว่า ภายในเดือนมีนาคม 2560 โครงการนี้จะสามารถผลิตผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่นี้ จะทำต่อเนื่องกันไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2561 และตั้งเป้าที่จะผลิตผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีนวัตกรรมเป็นที่ต้องการของตลาด จำนวนไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย ในช่วง 3 ปี

ความคืบหน้าของโครงการเพียงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2559 Candidate ได้ผ่านการบ่มเพาะในระยะ General Knowledge ครบหมดทุกรายแล้ว ได้เริ่มทยอยเข้ารับการอบรมในระยะ Specific Knowledge และเริ่มทำแผนธุรกิจ ขณะนี้มี Candidate จำนวน 1,406 ราย ได้อยู่ในเฟสที่ 2 แล้ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4