ปภ.บูรณาการบริหารจัดการอุทกภัยเป็นระบบ - เน้นช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่

จันทร์ ๒๒ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๙:๕๖
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย มุ่งเน้นการบริหารจัดการที่เป็นระบบ พัฒนาระบบแจ้งเตือนภัย ระบบการสื่อสารให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง การจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถรองรับน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการวางมาตรการป้องกันเชิงโครงสร้าง โดยจัดหา พัฒนา ปรับปรุงแหล่งน้ำให้สามารถรองรับน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงดูแลพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ย่านชุมชน และสถานที่สำคัญของจังหวัดเป็นพิเศษเพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัยและประชาชนได้รับการดูแลด้านความปลอดภัยจากภาครัฐ

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ระยะนี้หลายพื้นที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัย สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการจังหวัด และหน่วยทหารดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในมิติเชิงพื้นที่ ภายใต้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่เป็นระบบ พัฒนาระบบแจ้งเตือนภัย โดยนำข้อมูลปริมาณน้ำของกรมชลประทาน ข้อมูลสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยามาวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ภัย เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับทราบข้อมูลการเตือนภัยอย่างรวดเร็วและทั่วถึง พร้อมวางระบบการสื่อสารให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพการเตรียมพร้อมรับมือและช่วยเหลือผู้ประสบภัยของภาครัฐ ควบคู่กับการวางมาตรการป้องกันเชิงโครงสร้าง โดยจัดหา พัฒนา ปรับปรุงแหล่งน้ำให้สามารถรองรับน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก ให้จัดหาพื้นที่รับน้ำ พร้อมเตรียมพร่องน้ำ เพื่อระบายน้ำได้โดยสะดวก รวมถึงดูแลพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ย่านชุมชน และสถานที่สำคัญของจังหวัดเป็นพิเศษ โดยจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เครื่องสูบน้ำระยะไกลให้พร้อมใช้งานทันทีที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงวางระบบการระบายน้ำ การบริหารจัดการน้ำ พร้อมแบ่งพื้นที่และมอบภารกิจการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยเชิงรุกไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ในช่วงก่อนเกิดเหตุ ทั้งการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แผนเผชิญเหตุ แผนสำรองกรณีสถานการณ์วิกฤต รวมถึงจัดการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทุกระดับ การจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัย ศูนย์พักพิงชั่วคราว การจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย รวมถึงจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย อย่างไรก็ตาม ขอให้จังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง ติดตามปริมาณน้ำ หากระดับน้ำเพิ่มสูงต่อเนื่องให้แจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนทราบทันที จะได้เตรียมขนย้ายสิ่งของและอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านกลไกของศูนย์ดำรงธรรม ทางหมายเลขโทรศัพท์ 1667 หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4