ชวนดูอิสราเอล ประเทศแห่งสตาร์ทอัพ เผยเคล็ดลับการเป็นที่หนึ่งด้านธุรกิจ

อังคาร ๑๓ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๑:๓๓
กระแสสตาร์ทอัพในไทยกำลังได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางตามสื่อต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและองค์กรธุรกิจ คนที่อยากมีธุรกิจของตนเองเริ่มคิดและวางแผนทำธุรกิจกันมากขึ้น แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดองค์ความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติของธุรกิจ ดังนั้น การศึกษาและเรียนรู้บทเรียนของผู้ที่ประสบความสำเร็จด้านสตาร์ทอัพจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำ เพื่อเป็นทางลัดให้บรรลุเป้าหมายง่ายขึ้น

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พูดถึงประเทศอิสราเอลในรายการคิดยกกำลังสอง ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสว่า "ประเทศอิสราเอลเป็นประเทศเล็กๆ มีประชากรแปดล้านคน อยู่ในเขตตะวันออกกลางซึ่งเป็นสนามรบ แต่สามารถสร้างบริษัทสตาร์ทอัพเข้าตลาดหุ้นไฮเทคของอเมริกา และได้เงินจากกองทุนร่วมลงทุน (venture capital) 4.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2015"

ดร.สมเกียรติ ได้ยกตัวอย่างสตาร์ทอัพของอิสราเอลที่น่าสนใจจากหนังสือ "Start-up Nation คิดอย่างไร ใหญ่อย่างอิสราเอล" ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ว่า "ตัวอย่างแรกคือบริษัทเล็กๆ ชื่อว่า ฟรอสไซเอนซิส (Fraud Sciences) ที่คิดเทคโนโลยีป้องกันการโกงออนไลน์ ถูกอีเบย์ (ebay) ซื้อไปในราคา 169 ล้านดอลลาร์ บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรอิสคาร์ (ISCAR) ถูกวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffet) นักลงทุนที่ขึ้นชื่อเรื่องระมัดระวังในการลงทุนซื้อไป และอีกบริษัทหนึ่งที่คนไทยเคยได้ยินชื่อกันว่า เป็นบริษัทต้นตำรับชลประทานน้ำหยดเนตาฟิม (NETAFIM) ที่เติบโตมาจนเป็นบริษัทใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงเห็นว่าสตาร์ทอัพของอิสราเอลมีทั้งบริษัทที่เติบโตมาเองจนกลายเป็นบริษัทใหญ่ และบริษัทที่เติบโตมาพักหนึ่งแล้วขายกิจการให้บริษัทใหญ่ไป"

สตาร์ทอัพคือธุรกิจเกิดใหม่แต่โตเร็ว มีวิธีการทำธุรกิจใหม่ๆ และใช้เทคโนโลยี ดังนั้น งานวิจัยและเทคโนโลยีต่างๆจึงสำคัญมากต่อแนวคิดนี้ ดร.สมเกียรติกล่าวถึง 4 ปัจจัยที่ทำให้สตาร์ทอัพในอิสราเอลประสบความสำเร็จไว้ดังนี้

1) ลงทุน วิจัย และพัฒนา – อิสราเอลมีนักวิจัยมาก ซึ่งหมายถึงการมีเทคโนโลยี

2) ลงทุนสร้างบุคลากร - คนอิสราเอลยอมจ่ายค่าเล่าเรียนเพื่อหาประสบการณ์

3) ไม่กลัวความล้มเหลว

4) รัฐบาลมีวิสัยทัศน์สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าในสตาร์ทอัพ

ซีมอน เปเรส อดีตประธานาธิบดีอิสราเอลได้กล่าวถึงภาพรวมแนวคิดการทำธุรกิจของประเทศไว้ว่า"อิสราเอลจะยังคงเป็นประเทศเล็กในด้านดินแดนและจำนวนประชากร ดังนั้นจึงไม่มีทางที่จะเป็นตลาดใหญ่หรือพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดมหึมาได้ ทว่าในขณะที่อาจจะเอื้อประโยชน์ในด้านปริมาณ ความเล็กก็สร้างโอกาสในด้านคุณภาพได้เช่นกัน ทางเลือกเพียงอย่างเดียวของอิสราเอลจึงเป็นการสร้างคุณภาพโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก"

นี่คือเรื่องราวความสำเร็จของอิสราเอลที่แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยแต่ก็ไม่ยอมแพ้ มีความมุมานะจนได้ขึ้นชื่อเป็นประเทศแห่งสตาร์ทอัพของโลก เห็นทีประเทศไทยต้องเรียนรู้วิธีคิดนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจของเราบ้างเสียแล้ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest