NIDA Poll พระราชบัญญัติพรรคการเมือง

จันทร์ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๖:๕๕
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "พระราชบัญญัติพรรคการเมือง" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 – 16 กันยายน 2559 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับพระราชบัญญัติพรรคการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดความยากง่ายของการจัดตั้งพรรคการเมือง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 23.92 ระบุว่า ควรทำได้ยากมาก ร้อยละ 29.04 ระบุว่า ควรทำได้ค่อนข้างยาก ร้อยละ 16.72 ระบุว่า ควรทำได้ค่อนข้างง่ายร้อยละ 18.88 ระบุว่า การจัดตั้งพรรคการเมืองควรทำได้ง่ายมาก และร้อยละ 11.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดที่ต้องการให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ด้วยการให้ประชาชน ผู้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องเสียค่าสมาชิกพรรคเป็นรายปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.36 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 39.12 ระบุว่า เห็นด้วย ขณะที่ ร้อยละ 0.32 ระบุว่า เฉย ๆ จะอย่าง ๆ ไรก็ได้ และร้อยละ 7.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงจำนวนเงินค่าสมาชิกรายปีที่เหมาะสม พบว่า ในจำนวนผู้ที่เห็นด้วยกับเสียค่าสมาชิกพรรคเป็นรายปี ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.96 ระบุว่า ให้แต่ละพรรคการเมืองกำหนดค่าสมาชิกพรรคเอง รองลงมา ร้อยละ 7.16 ระบุว่า ควรจ่ายปีละ ปีละ 100 บาท ร้อยละ 4.50 ระบุว่า ปีละ 200 บาท ร้อยละ 6.54 ระบุว่า ปีละ 300 บาท ร้อยละ 4.50 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ ควรจ่ายปีละ 20 บาท, 500 บาท, 1,000 บาท, 5,000 บาท, และ 10,000 บาท – 100,000 บาท และร้อยละ 6.34 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ความคิดเห็นของประชาชนต่อกำหนดให้รัฐต้องจ่ายเงินสมทบให้พรรคการเมืองตามจำนวนเงินที่แต่ละพรรคได้รับจากค่าสมาชิกพรรค (เช่น ถ้าพรรคได้รับเงินค่าสมาชิกพรรค 1 ล้านบาท รัฐก็จะจ่ายสมทบให้พรรคการเมืองนั้นอีก 1 ล้านบาท) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.52 ระบุว่าไม่เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 26.24 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 0.16 ระบุว่าต้องดูเป็นรายกรณี ๆ ไป และร้อยละ 6.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดจำนวนเงินขั้นสูงสุดที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลจะสามารถบริจาคให้กับพรรคการเมืองได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.24 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 38.64 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 0.56 ระบุว่า ต้องดูถึงเหตุผลและความเหมาะสม และร้อยละ 6.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดให้ ผู้ที่จะสมัคร ส.ส. ในนามพรรคการเมืองใด จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากตัวแทนของพรรค หรือสมาชิกพรรคจำนวนหนึ่งในเขตเลือกตั้งนั้นก่อน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.84 ระบุว่าเห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 18.48 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.32 ระบุว่า แล้วแต่พรรคการเมืองจะตกลงหรือเห็นชอบกัน เพราะเป็นเรื่องภายในพรรค และร้อยละ 5.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.40 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.60 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.64 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.84 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 55.84 เป็นเพศชาย และร้อยละ 44.16 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 4.56 มีอายุ 18- 25 ปี ร้อยละ 11.20 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.52 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 39.68 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 18.88 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.16 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 90.88 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.84 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.64 ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 4.64 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 14.96 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 77.60สมรสแล้ว ร้อยละ 2.88 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.56 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 32.32 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.44 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.28 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 14.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 2.96 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.44 ไม่ระบุการศึกษาตัวอย่างร้อยละ 8.56 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.28 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.84 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 19.20 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.52 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.40 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.28 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 5.92 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.80 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.52 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 6.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.12 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital