ปภ.รายงานสถานการณ์อุทกภัย 14 จังหวัด พร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย – ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย

จันทร์ ๒๖ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๑:๐๕
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยใน 14 จังหวัด ได้แก่สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี ลพบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท เชียงราย อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และสุราษฎร์ธานี พร้อมบูรณาการหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วน โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขังออกจากพื้นที่ พร้อมนำเจ้าหน้าที่ และรถบรรทุกขนาดใหญ่ เรือท้องแบนออกให้บริการอำนวยความสะดวกในการสัญจรและขนย้ายสิ่งของแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัย ตลอดจนเร่งซ่อมแซมสาธารณูปโภคและสิ่งสาธารณะประโยชน์ให้ใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดน้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และน้ำเอ่อล้นตลิ่งใน 14 จังหวัด รวม 30 อำเภอ 138 ตำบล 657 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคกลาง 7 จังหวัด 21 อำเภอ 123 ตำบล 618 หมู่บ้าน ได้แก่ สิงห์บุรี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่อำเภออินทร์บุรี ประชาชนได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1,789 ไร่ อ่างทอง น้ำจากคลองโผงเผงเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าโมก อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอแสวงหา รวม 15 ตำบล 31 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 529 ครัวเรือน พระนครศรีอยุธยา น้ำล้นตลิ่งจากการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร และอำเภอบางปะอิน รวม 70 ตำบล 375 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,646 ครัวเรือน อุทัยธานี น้ำในแม่น้ำตากแดดเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอบ้านไร่ และอำเภอทัพทัน รวม 8 ตำบล 34 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 565 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 10,081 ไร่ลพบุรี น้ำท่วมพื้นที่อำเภอเมืองลพบุรี ประชาชนได้รับผลกระทบ 500 ครัวเรือน นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลาดยาว อำเภอไพศาลี อำเภอท่าตะโก อำเภอชุมแสง และอำเภอโกรกพระ รวม 2 เทศบาล 25 ตำบล 172 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรเสียหาย รวม 420 ไร่ ชัยนาท น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในอำเภอสรรพยา ภาคเหนือ 6 จังหวัด 8 อำเภอ 9 ตำบล 19 หมู่บ้านแยกเป็น เชียงราย น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอแม่จัน ประชาชนได้รับผลกระทบ 500 ครัวเรือน อุตรดิตถ์ น้ำจากลำห้วยแม่พร่อง และลำห้วยแม่พูลไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอลับแล ประชาชนได้รับผลกระทบ 50 ครัวเรือน พิจิตร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอทับคล้อ ประชาชนได้รับผลกระทบ 20 ครัวเรือน พิษณุโลก น้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่การเกษตรในอำเภอบางระกำ เพชรบูรณ์ น้ำในแม่น้ำป่าสักเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหนองไผ่ และอำเภอวิเชียรบุรี รวม 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน สุโขทัย น้ำจากแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอกงไกรลาศ และอำเภอบ้านด่านลานหอย รวม 21 ตำบล 141 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,618 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 40,703 ไร่ ภาคใต้ 1 จังหวัด 1 อำเภอ 6 ตำบล 20 หมู่บ้าน ได้แก่ สุราษฎร์ธานี น้ำจากคลองอิปันเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอพระแสง ประชาชนได้รับผลกระทบ 259 ครัวเรือน

1,155 คน ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ร่วมกับหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว พร้อมประสานการระบายน้ำกับหน่วยชลประทานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อมิให้กระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อนและริมฝั่งแม่น้ำโดยนำเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชน เขตเศรษฐกิจ เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขังไปยังแหล่งน้ำสาธารณะในพื้นที่ รวมถึงแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแก่ประชาชน อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่พร้อมรถบรรทุกขนาดใหญ่เรือท้องแบนออกให้บริการอำนวยความสะดวกในการสัญจรและขนย้ายสิ่งของแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัย ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งซ่อมแซมสาธารณูปโภคและสิ่งสาธารณะประโยชน์ให้ใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้หลายพื้นที่ของประเทศยังมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปริมาณฝนตกสะสมในพื้นที่ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลากได้ ปภ.จึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างต่อเนื่อง จัดเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็ว พร้อมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำจุดเสี่ยงภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ที่ สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ