รัฐมนตรีเกษตรฯ มั่นใจสามารถบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันหรือควบคุมการระบายน้ำไม่ให้น้ำล้นตามแนวคันกั้นได้ พร้อมเร่งเสนอ ครม. ถึงมาตรการช่วยเหลือภายในวันอังคารนี้

จันทร์ ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๓:๑๓
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้การบริหารจัดการน้ำที่อยู่ในเขตชลประทานทั้งหมดสามารถควบคุมได้ ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่เขื่อนชัยนาท ทั้ง 2 ด้าน มีคันกั้นน้ำที่สามารถป้องกันหรือควบคุมการระบายน้ำไม่ให้น้ำล้นตามแนวคันกั้นได้ ส่วนพื้นที่ที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งถือว่าอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ก็จะเป็นปกติที่น้ำจะล้นเขาไปท่วมบ้าง โดยขณะนี้ได้มีการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา ประมาณ 2,200 – 2,300 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นจากเดิมที่เคยควบคุมไว้ไม่มากนัก หากสถานการณ์ต่อจากนี้ไปอยู่ในเกณฑ์ดีก็จะมีการปรับลดการระบายน้ำลง จึงขอให้มั่นใจว่าน้ำจะไม่เอ่อล้นคันกั้นน้ำออกมาอย่างแน่นอน และน้ำส่วนใหญ่จะเร่งระบายลงสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด

พลเอก ฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่า การระบายน้ำจากเขื่อนป่าสัก ได้มีประมาณการไปอีก 7 วันข้างหน้า ถึงปริมาณน้ำเข้าและออก ซึ่งอาจจะมีผลมาถึงแม่น้ำที่อยู่เชื่อมโยงมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยาได้ แต่อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานยังยืนยันว่าอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถควบคุมได้ โดยมีจุดที่ต้องคอยกำกับดูแลมากที่สุด คือ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ขณะนี้สามารถระบายน้ำอยู่ที่ 2,100 ลบ.ม/วินาที หากจะทำให้ท่วมกรุงเทพได้นั้น พื้นที่ที่ อ.บางไทร ต้องมีปริมาณน้ำสูงถึง 3,500 ลบ.ม./วินาที และถึงแม้ว่าจะปล่อยน้ำจากเขื่อนป่าสักลงมาด้วยก็จะไม่มากไปกว่า 2,200 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้ ได้มีการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กรมอุตุนิยมวิทยา หากสัปดาห์หน้าปริมาณฝนตกน้อยลง ก็จะมีการระบายน้ำจากเขื่อนลดลงด้วย

สำหรับพื้นที่ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำหรือพื้นที่ตามริมแม่น้ำ นายกรัฐมนตรีได้มีความห่วงใยและได้สั่งการให้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะมีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (11 ต.ค. 59) โดยได้เตรียมให้สำนักงบประมาณช่วยดูแลตามหลักเกณฑ์ คือ 1) เป็นเงินช่วยเหลือผู้ที่ที่ได้รับผลกระทบ 2) หลังจากที่น้ำลดแล้ว ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเข้าไปช่วยฟื้นฟู 3) ระบบสหกรณ์จะมีมาตรการในการให้กู้ยืมเงิน และ 4) การผ่อนชำระหนี้ โดยให้ชะลอการผ่อนออกไป อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ที่ประสบภัยพิบัติจะมีการช่วยเหลือตามระเบียบราชการอยู่แล้ว และจะเพิ่มเติมในการช่วยเหลือประชาชนก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยก็ได้มีมาตรการใช้การช่วยเหลือด้วย เช่น การซ่อม การปรับปรุง เป็นต้น

"กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน จะไม่มีการปล่อยน้ำเข้าไปในแนวกั้นโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว โดยมีพื้นที่ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวประมาณ 90 ไร่ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีพื้นที่เกษตรกรรมในแนวกั้นที่ได้รับความเสียหาย นอกจากว่าเกษตรกรจะเป็นผู้ร้องขอเพื่อใช้สำหรับฤดูแล้งหน้า ซึ่งต้องบริหารจัดการร่วมกับกรมชลประทาน โดยต้องมีความต้องการที่ชัดเจน ซึ่งอำเภอหรือจังหวัดต้องมีหนังสือรับรองด้วย และขณะนี้มีแผนการดำเนินการด้วยกัน 3 จุด อาทิเช่น อ.ป่าโมก อ.ผักไห่ และ อ.บางบาล ซึ่งถือเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ อย่างไรก็ตามจะไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวอย่างแน่นอน ทั้งนี้ หากมีการปล่อยน้ำและเกิดความเสียหายขึ้น รัฐบาลได้มีการเตรียมแผนสำรองไว้ โดยจะมีการชดเชยเพิ่มเติมอีกด้วย" พลเอก ฉัตรชัย กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4