กุ้งไทยคุณภาพปลอดภัยไร้สารตกค้าง

จันทร์ ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๐๔
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในประเทศไทยได้มีการพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ปี 2528 จนปัจจุบันไทยเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้ากุ้งทะเลของโลก และสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศปีละกว่าหลายหมื่นล้านบาท

โดยมีศักยภาพในการแข่งขันทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการส่งออกสูงกว่าผู้ส่งออกรายอื่น ๆ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่อุตสาหกรรมกุ้งทะเลของไทยให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ในทุกขั้นตอน ตลอดห่วงโซ่การผลิต นับตั้งแต่การเพาะเลี้ยง ไปจนถึงการแปรรูป ที่ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบในประเทศ (Local content) เป็นหลัก

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงให้ความสำคัญและเข้มงวดกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตั้งแต่ในระดับฟาร์ม ทั้งการบริหารจัดการสภาพบ่อเลี้ยง และการใช้ยาและสารเคมีเพื่อให้กระบวนการผลิตกุ้งทะเลเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผลผลิตกุ้งทะเลมีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง โดยมีการสุ่มตรวจปัจจัยการผลิตในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีแผนการตรวจยาและสารเคมีทั้งในฟาร์ม และร้านค้าปัจจัยการผลิตอย่างสม่ำเสมอ มีการเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาและสารเคมีในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งมีระบบตรวจสอบย้อนกลับตลอดสายการผลิตมาใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้นแหล่งกำเนิดของกุ้งทะเลอีกด้วย

ทั้งนี้ กรมประมง ได้มีประกาศเพื่อควบคุมการใช้ยาและสารเคมีในการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาและสารเคมีที่ไม่อนุญาตให้ใช้ และกลุ่มยาและสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กลุ่มยาและสารเคมีที่ไม่อนุญาตให้ใช้ ได้แก่

คลอแรมฟินิคอล (Chloramphenicol)

ไนโทรฟิวราโซน (Nitrofurazone)

ไนโทรฟิวแรนโทอิน (Nitrofurantoin)

ฟิวราโซลิโดน (Furazolidone)

ฟิวแรลทาโดน (Furaltadone)

มาลาไคท์ กรีน (Malachite Green)

เอนโรโฟลซาซิน (Enrofloxacin)

เจนเทียลไวโอเลท (Gential violet or crystal violet)

กลุ่มยาและสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้ แต่ต้องไม่ตกค้างในเนื้อกุ้ง ได้แก่

ออกซีเตตราซัยคลิน (Oxytetracycline)

ซาราโฟลซาซาซิน (Sarafloxacin)

ออกโซลินิค แอซิด (Oxolinic acid)

โทลทราซูริล (Toltrazuril)

เตตราซัยคลิน (Tetracycline)

ซัลฟาไดเมททอกซีน – ออร์เมทโธพริม (Sulfadimethoxin-Ormethoprim)

ซัลฟาไดเมททอกซีน-ไตรเมทโธพริม (Sulfadimethoxine-Trimethoprim)

ซัลฟาไดเมททอกซีน (Sulfadimethoxine)

ซัลฟาโมโนเมททอกซีน (Sulfamonomethoxine)

ซัลฟาไดอาซีน (Sulfadiazine)

ไตรเมทโธพริม (Trimethoprim)

ออร์เมทโธพริม (Ormethoprim)

อย่างไรก็ตาม ในการใช้ยาและสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้จะต้องใช้อยู่ในปริมาณและวิธีการที่เหมาะสม ภายใต้การตรวจสอบจากกรมประมง ซึ่งจะมีการวิเคราะห์สารตกค้าง หากพบการฝ่าฝืนใช้ยาและสารเคมีต้องห้าม หรือพบสารตกค้างเกินกว่าที่กำหนดจะถูกดำเนินการเพิกถอนใบรับรอง และไม่สามารถยื่นขอรับรองได้ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน รวมทั้งถูกขึ้นชื่อเผยแพร่บนเว็บไซต์ และในกรณีอยู่ในระหว่างการยื่นขอการรับรองจะไม่ได้การรับรองและไม่สามารถยื่นขอรับรองได้ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน และจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยบทมาตรการดังกล่าวมีไว้เพื่อควบคุมดูแลการใช้ยาและสารเคมีให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

อธิบดีกรมประมง กล่าวขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการ "ไม่ขาย ไม่ใช้ และไม่ซื้อ" ยาหรือสารเคมีต้องห้าม รวมทั้ง มีการใช้ยาหรือสารเคมีที่อนุญาตอย่างถูกต้อง เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรม กุ้งไทย และเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารของกุ้งไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ