กระทรวงอุตฯ ประกาศความสำเร็จโครงการ OPOAI ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ

พุธ ๑๒ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๑๙
สามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร คิดเป็นมูลค่ากว่า 326 ล้านบาท

กระทรวงอุตสาหกรรมจัดพิธีมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณสถานประกอบการที่เข้าร่วม "โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค" ตามนโยบาย One Province One Agro – Industrial Product หรือโครงการ OPOAI ประจำปี 2559 โดยภาพรวมการประเมินโครงการฯ ได้ผลลัพธ์ (Outcome) ในระดับดีมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์กับโครงการคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 326,418,755.44 บาท จากผู้เข้าร่วมโครงการ 137 ราย พัฒนา 200 แผนงาน

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมาโดยตลอด ซึ่งการดำเนินโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาคตามนโยบาย One Province One Agro-Industrial Product หรือ OPOAI (โอปอย) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสถานประกอบการ เพื่อลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ /ระบบมาตรฐานสากล รวมถึงกำหนดให้มีกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ รวมถึงการหาช่องทางการตลาด ซึ่งการดำเนินงานเชิงลึกเป็นการสนองนโยบายไทยแลนด์4.0 ของรัฐบาล เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกภาคส่วนในการต่อเครือข่ายเป็นจิ๊กซอว์ในลักษณะของการทำงานไตรภาคีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค เพื่อให้สถานประกอบการสามารถแข่งขันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการ OPOAI นั้น กระทรวงฯ ได้จัดทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ปรึกษาแนะนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการผ่านแผนงานพัฒนาที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ใน 7 ด้านอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย

แผนงานที่ 1 การบริหารจัดการโลจิสติกส์ จำนวน 18 แผน มูลค่าผลประโยชน์ 31,879,291.50 บาท/ปี

แผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จำนวน 56 แผน มูลค่าผลประโยชน์ 85,851,993.58บาท/ปี

แผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน จำนวน 35 แผน มูลค่าผลประโยชน์ 37,297,631.88บาท/ปี

แผนงานที่ 4 การลดต้นทุนพลังงาน จำนวน 19 แผน มูลค่าผลประโยชน์ 13,516,088.48 บาท/ปี

แผนงานที่ 5 การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/มาตรฐานสากล จำนวน 31 แผน มูลค่าผลประโยชน์ 70,500,000.00 บาท/ปี

แผนงานที่ 6 กลยุทธ์การขับเคลื่อนทางการตลาด จำนวน 28 แผน มูลค่าผลประโยชน์ 77,373,750.00 บาท/ปี

แผนงานที่ 7 การบริหารจัดการด้านการเงิน จำนวน 13 แผน มูลค่าผลประโยชน์ 10,000,000.00 บาท/ปี

สำหรับสถานประกอบการดีเด่นจำนวน 12 ราย ที่ได้ขึ้นรับรางวัลประจำปี 2559 ได้แก่

แผนงานที่ 1 การบริหารจัดการโลจิสติกส์

บริษัท สารัชมาร์เก็ตติ้ง จำกัด จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลิตภัณฑ์ : มะขามแปรรูป คลุกเกลือ บ๊วย กวน แช่อิ่ม

บริษัท อรุณไรซ์เทรดดิ้ง จำกัด จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลิตภัณฑ์ : ข้าว

แผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ผลิตภัณฑ์ : ผลิตแป้งขนมจีนและเส้นขนมจีน

บริษัท บุญเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด จังหวัดปทุมธานี ผลิตภัณฑ์ : ทำเต้าหู้และน้ำนมถั่วเหลือง

โรงหมี่ตะคุ ตราแม่ตุ้ย จังหวัดนครราชสีมา ผลิตภัณฑ์ : เส้นหมี่โคราช

แผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและปริมาณงาน

บริษัท ศิริเรืองอำไพ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์ : เครื่องเทศ สมุนไพร อบแห้ง

บริษัท ไทยควอลิตี้สตาร์ช จำกัด จังหวัดกาญจนบุรี ผลิตภัณฑ์ : แป้งมันสำปะหลัง

แผนงานที่ 4 การลดต้นทุนพลังงาน

บริษัท สันติภาพอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดชลบุรี ผลิตภัณฑ์ : หีบน้ำมันพืชและผลิตอาหารสัตว์

แผนงานที่ 5 การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล

บริษัท ศิริเรืองอำไพ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์ : เครื่องเทศ สมุนไพร อบแห้ง

บริษัท นำชัยพาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด จังหวัดสุพรรณบุรี ผลิตภัณฑ์ : โรงอบข้าว สีข้าว

แผนงานที่ 6 กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด

โรงงานจัมโบ้เอ จังหวัดสุโขทัย ผลิตภัณฑ์ : ผลิตและจำหน่ายไอศกรีม

บริษัท วังมะนาวเกษตรภัณฑ์ จำกัด จังหวัดราชบุรี ผลิตภัณฑ์ : ป่น บด ร่อน พืช เมล็ดพืช และกากพืช สำหรับผสมเป็นอาหารสัตว์

นายสมชาย กล่าวทิ้งท้ายว่า ผู้ประกอบการที่เข้ารับรางวัลทั้งหมดมีผลการดำเนินงานที่เข้มแข็ง สามารถยกระดับธุรกิจของตัวเองให้มีศักยภาพทั้งเรื่องของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การเพิ่มประสิทธิภาพ และการลดต้นทุนพลังงานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ทั้งนี้ทราบได้จากการลงพื้นที่ในแต่ละจังหวัด แต่ละสถานประกอบการ ซึ่งล้วนให้ความร่วมมือกับทีมที่ปรึกษาที่เข้าไปให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี ทำให้ทีมที่ปรึกษาทราบเป้าหมาย ข้อเด่น ข้อด้อยของ แต่ละสถานประกอบการเพื่อระดมความคิดเห็นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ตรงกับแผนงานที่สถานประกอบการนั้นๆ เข้าร่วมโครงการโอปอย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมจุดแข็ง และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นที่พึ่งของเกษตรกรในท้องถิ่นและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับสถาบันการศึกษาหรืออื่นๆ ในการเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการนั้นๆ ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้