รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2559 และ 2560“เศรษฐกิจไทยปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.4 ในปี 2560”

ศุกร์ ๒๘ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๔๒
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงประมาณการเศรษฐกิจไทย ณ เดือนตุลาคม 2559 ว่า "เศรษฐกิจไทยในปี 2559 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 – 3.5) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาล ประกอบกับการเบิกจ่ายภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำและระบบขนส่งทางถนน และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งในระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 ที่มีความพร้อม ยังคงมีความต่อเนื่อง นอกจากนี้ การขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวในเกณฑ์สูง คาดว่าจะสนับสนุนให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวขยายตัวดีตามไปด้วย ด้านการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้และการจ้างงานในภาคบริการที่ขยายตัวดี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนเช่นกัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และการลงทุนภาครัฐในโครงการสำคัญต่างๆ มีความก้าวหน้าและชัดเจนมากขึ้นงทุนภาครัฐในโครงการสำระ รจากรายได้และการจจ้างงานในภาคบริการที่ขยายตัวดี นระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 ที่มีความพร้อม จำนวน 20 โ อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า คาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยยังคงหดตัว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2559 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1 - 0.6) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2560 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 - 3.9) โดยได้รับแรงส่งของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมใหม่ๆ ที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 อาทิ โครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าในเขตเมือง ประกอบกับแนวโน้มรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกคาดว่าจะเป็นแรงสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัว นอกจากนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับแนวโน้มค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง คาดว่าจะส่งผลดีต่อปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าส่งออก ขณะที่การส่งออกบริการคาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 – 2.6) ปรับตัวสูงขึ้นจากปีนี้ ตามแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น และการอ่อนค่าของเงินบาท"

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า "ในการประมาณการเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย และการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศพัฒนาแล้ว"

รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2559 และ 2560

1. เศรษฐกิจไทยในปี 2559

1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในปี 2559 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 – 3.5) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงที่ร้อยละ 3.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.8 – 3.3) และร้อยละ 10.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 10.4 – 10.9) ตามลำดับ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาล ประกอบกับการเบิกจ่ายภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำและระบบขนส่งทางถนน และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งในระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 ที่มีความพร้อม ยังคงมีความต่อเนื่อง นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.6 – 3.1) ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงของฐานรายได้และการจ้างงานในภาคบริการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี ประกอบกับการดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรและเศรษฐกิจฐานรากของภาครัฐจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกสินค้าและบริการมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 – 3.5) ตามการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนและรัสเซียที่เติบโตดี คาดว่าจะสนับสนุนให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวขยายตัวดีตามไปด้วย ทั้งธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจค้าส่งค้าปลีก อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าของไทยในปีนี้จะยังคงมีข้อจำกัดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทย ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนเช่นกันมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.4 – 1.9) เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และการลงทุนภาครัฐในโครงการสำคัญต่างๆ มีความก้าวหน้าและชัดเจนมาก สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4 ถึง 0.9)

1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2559 มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 0.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1 – 0.6) ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศคาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 34.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.8 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.5 – 9.0 ของ GDP) เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการเกินดุลการค้าและบริการ ทั้งนี้ ดุลการค้าจะเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมาอยู่ที่ 35.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 35.0 – 35.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่หดตัวในอัตราชะลอลง ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มราคาสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าจะหดตัวร้อยละ -0.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.8 ถึง -0.3) ขณะที่มูลค่านำเข้าสินค้าในปี 2559 จะหดตัวร้อยละ -5.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -5.3 ถึง -4.8)

2. เศรษฐกิจไทยในปี 2560

2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในปี 2560 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับปีนี้ที่ร้อยละ 3.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.7 – 3.7) โดยได้รับแรงส่งจากการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐที่ยังคงมีแนวโนมขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 2.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.5 – 2.5) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 6.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.7 – 6.7) เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคาดว่าโครงการสำคัญ อาทิ โครงการรถไฟรางคู่ และโครงการรถไฟฟ้าในเขตเมือง จะสามารถดำเนินการได้มากขึ้นในปี 2560 และจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการรัฐได้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า คาดว่าจะส่งผลดีต่อปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าส่งออก ประกอบกับด้านการส่งออกบริการยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2560 จะอยู่ที่ 37.2 ล้านคน ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนมาขยายตัวร้อยละ 2.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1 – 3.1) สำหรับการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.7 – 3.7) จากรายได้เกษตรกรที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก และสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลง ขณะที่รายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรได้รับผลดีจากภาวะตลาดแรงงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ ภาวะการเงินที่ผ่อนคลายจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวขึ้นของการใช้จ่ายภาครัวเรือน ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะยังขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.2 ถึง 2.2) เนื่องจากภาคเอกชนยังมีกำลังการผลิตเหลือค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับภาคเอกชนยังรอโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเพื่อที่จะนำไปสู่การขยายกำลังการผลิต

2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 – 2.6) ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นราคาน้ำมันส่วนหนึ่งมาจากผลการเจรจาระหว่างกลุ่ม OPEC และกลุ่ม non-OPEC ในการบรรลุข้อตกลงในการคงกำลังการผลิต นอกจากนี้ ทิศทางการอ่อนค่าของเงินบาทยังจะส่งผลกระทบทำให้ราคาสินค้านำเข้าบางประเภทอาจปรับเพิ่มขึ้น สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศคาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 32.8 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 7.9 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.4 - 8.4 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 32.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 31.5 – 32.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่านำเข้าสินค้าในปี 2560 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 - 4.5) ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.3 - 2.3)

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3224 และ 3279 โทรสาร 0 22985602

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้