มจธ. สกัดสาหร่ายใช้วิเคราะห์คุณภาพอาหารหมักดอง

ศุกร์ ๒๘ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๔:๕๔
ในช่วงนี้จะเห็นว่ามีการนำสาหร่ายทะเลมาใช้ประโยชน์มากขึ้นไม่ว่าจะนำมาใช้ในด้านพลังงาน หรือนำมาเป็นอาหาร โดย ผศ.ดร.จิรศักดิ์ คงเกียรติขจร อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวเคมี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้เห็นประโยชน์ของสาหร่ายทะเลไทยจึงได้ศึกษาวิจัยคุณสมบัติต่างๆ ของสาหร่ายเพื่อการใช้ประโยชน์ในอีกมุมหนึ่ง

ผศ.ดร.จิรศักดิ์ กล่าวว่า นำสาหร่ายเขากวางมาใช้ในการทดลอง ซึ่งเป็นสาหร่ายที่หาได้ในน่านน้ำทางภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าในสาหร่ายเขากวางมีเอนไซม์โบรโมเปอร์ออกซิเดส จึงนำมาวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการ "การวิเคราะห์โดยวิธีคัลเลอริเมตริกเพื่อตรวจวัดปริมาณสารประกอบเอมีนในผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง"

"ในอาหารหมักดองจะมีสารประกอบเอมีน ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหากบริโภคในปริมาณมากอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ในต่างประเทศมีข้อกำหนดจาก WHO ว่าในอาหารหมักดองต้องมีสารประกอบเอมีนในปริมาณที่จำกัดและมีการตรวจวัดอย่างเข้มงวด แต่ในบ้านเรายังไม่เข้มงวดเรื่องนี้มากนักเพราะวิธีการที่ใช้ตรวจวัดนั้นค่อนข้างยาก ประกอบกับอาหารหมักดองเป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภคเนื่องจากมีรสชาติจัดจ้าน และเก็บรักษาไว้ได้นาน

ทั้งนี้ ผศ.ดร.จิรศักดิ์ จึงได้พัฒนากระบวนการที่จะช่วยวิเคราะห์หาสารประกอบเอมีนที่อยู่ในอาหารหมักดองให้เป็นกระบวนการที่ทำได้ง่าย ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยใช้เอนไซม์โบรโมเปอร์ออกซิเดสที่สกัดจากสาหร่ายเขากวางให้ทำงานร่วมกับเอนไซม์เอมีนออกซิเดสที่สกัดได้จากถั่วเหลือง เรียกว่าวิธี Enzyme Cropping Assay ใช้เพื่อการวิเคราะห์สารประกอบเอมีน

"สารประกอบเอมีนเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการหมักดองอาหารโดยเชื้อจุลินทรีย์ เป็นสารประกอบที่ไม่มีสี ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของผู้บริโภค หากเราสามารถวิเคราะห์ได้โดยง่ายก็จะสามารถบอกคุณภาพของอาหารหมักดองได้ง่ายและเร็ว ปัจจุบันการวิเคราะห์หาสารประกอบต้องใช้วิธี HPLC ซึ่งทำได้ครั้งละหนึ่งตัวอย่างเท่านั้น และต้องใช้เวลานานเป็นชั่วโมง แต่งานวิจัยนี้สามารถนำเอนไซม์โบรโมเปอร์ออกซิเดสที่สกัดจากสาหร่ายเขากวางมาทำงานร่วมกับเอนไซม์เอมีนออกซิเดสที่สกัดจากถั่วเหลือง มีคุณสมบัติทำให้สารประกอบที่ไม่มีสีแสดงสีออกมาได้ สามารถวิเคราะห์และได้ผลทันที อีกทั้งยังไม่จำกัดจำนวนต่อวัน สามารถทำเป็นชุดตรวจวัดแบบพกพามีเครื่องอ่านรู้ผลได้ทันที เมื่อเติมสารละลายเอนไซม์ และเติมตัวอย่างอาหารหมักดองลงไป ถ้าอาหารหมักดองชนิดใดมีสารประกอบเอมีนจะเกิดสีขึ้น เป็นสีชมพูม่วง ซึ่งหากมีปริมาณมากก็จะให้ผลเป็นสีน้ำเงินม่วงเข้ม

ล่าสุด ผศ.ดร.จิรศักดิ์ บอกว่า ขั้นตอนและกระบวนการเพื่อตรวจวัดสารประกอบเอมีนในอาหารหมักดองนั้นอยู่ในระหว่างยื่นจดอนุสิทธิบัตร และคาดว่าจะมีการต่อยอดเป็นชุดอุปกรณ์สำหรับการตรวจวิเคราะห์สารประกอบเอมีนในอาหารหมักดอง และสารประกอบตัวอื่นๆ ต่อไปอีกในอนาคต.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๓๗ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ที่สุดของแอร์ที่ผู้บริโภคไว้วางใจ 24 ปีซ้อน
๐๙:๕๑ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เปิดประกวดราคางานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารว่าง บริเวณถนนราชดำเนินกลาง จำนวน 5 อาคาร อาคารหมายเลข 4, 13, 14, 17 และ
๐๙:๑๕ KJLล่องใต้ จัดสัมมนา รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หวังเพิ่มเครือข่ายช่างไฟ KJL Network เป็น 10,000
๐๙:๐๖ PwC เผย 67% ซีอีโอไทยหวั่นธุรกิจของตนจะไปไม่รอดในทศวรรษหน้า หลังเจอแรงกดดัน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ
๐๙:๒๘ PROUD จัดสัมมนา เจาะลึกทำเลหัวหิน ศักยภาพ และโอกาสในการซื้ออสังหาฯ ย้ำดีมานด์คอนโดฯ ระดับลักชัวรียังดี
๐๘:๓๙ ซัมซุงชูวิสัยทัศน์หลัก Lead Future of AI Innovation ประกาศเป็นผู้นำใช้ AI สร้างนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งอนาคต AI CE ตั้งเป้าเป็นเบอร์หนึ่ง AI-Product
๐๘:๐๔ PAW IT UP! เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ย้ำจุดยืน Pet Family Residences ผนึก 2 แบรนด์แกร่ง โมเดอร์นฟอร์ม และ NocNoc
๐๘:๕๑ OR คว้า 5 รางวัล ในงาน 2023-2024 Thailand's Most Admired Brand ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคไว้วางใจมากที่สุด
๐๘:๐๐ มกอช. ลงพื้นที่ลำพูน หนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ ใช้ระบบ QR Trace on Cloud และ
๐๘:๒๐ DEK FILM SPU สุดเจ๋ง! คว้ารางวัลชนะเลิศ เด็นโซ่ Tiktok Contest