ประชาชนร้อยละ 47.57 ระบุเคยทำบุญบริจาคเงินผ่านทางออนไลน์ 60.19% คิดว่าระบบทำบุญออนไลน์ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนหันมาทำบุญมากขึ้น แต่ร้อยละ 69.14 เชื่อว่ามีมิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางหลอกลวง

จันทร์ ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๓:๑๙
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นต่อการทำบุญออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 ถึง 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,173 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า การทำบุญบริจาคเงินให้กับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วัด/ศาสนสถาน มูลนิธิ สถานสงเคราะห์ หรือสถานศึกษา ถือเป็นกิจกรรมที่คนไทยนิยมปฏิบัติในวาระโอกาสสำคัญ เช่น วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น รวมถึงในโอกาสทั่วๆไปด้วยเช่นเดียวกัน โดยในอดีตผู้คนมักนิยมเดินทางไปทำบุญบริจาคเงินยังสถานที่ตั้งของหน่วยงานหรือองค์กร และในเวลาต่อมาจึงมีการวิวัฒนาการโดยการเปิดบัญชีธนาคารเพื่อให้ผู้คนที่ไม่สะดวกในการเดินทางมายังสถานที่ตั้งของหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆสามารถทำธุรกรรมบริจาคเงินยังสาขาของธนาคารได้ จนกระทั่งมาถึงในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาและขยายให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนได้เข้าถึง จึงทำให้หน่วยงานหรือองค์กรบางแห่งเพิ่มช่องทางในการทำบุญบริจาคเงินโดยผ่านระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มีความประสงค์จะทำบุญบริจาคเงิน นอกจากนี้ยังมีผู้พัฒนาระบบเว็ปไซด์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สนใจได้เข้าไปเลือกทำบุญบริจาคเงินทางออนไลน์ให้กับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆได้อย่างรวดเร็ว

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนในสังคมได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับระบบการทำบุญบริจาคเงินออนไลน์กันอยู่ โดยบางส่วนเห็นด้วยว่าเป็นการช่วยกระตุ้นและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการทำบุญบริจาคเงินแต่ไม่มีเวลาหรือไม่สะดวกในการเดินทาง แต่บางส่วนยังคงตั้งข้อสังเกตว่าเงินที่บริจาคทางออนไลน์นั้นจะไปถึงยังหน่วยงานหรือองค์กรและถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ รวมถึงมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าการทำบุญออนไลน์อาจจะได้บุญน้อยกว่ากาการเดินทางไปทำบุญด้วยตนเอง จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นต่อการทำบุญออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.81 เพศชายร้อยละ 49.19 อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านพฤติกรรมการทำบุญบริจาคเงินโดยการโอนเงินผ่านธนาคาร กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 64.71 ระบุว่าตนเองเคยทำบุญบริจาคเงินให้กับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆโดยการทำธุรกรรมโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35.29 ไม่เคย ส่วนในด้านการทำบุญบริจาคเงินทางออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตนั้น กลุ่มตัวอย่างไม่ถึงครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47.57 ระบุว่าตนเองเคยทำบุญบริจาคเงินให้กับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆทางออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.43 ระบุว่าไม่เคย โดยที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.04 ของผู้ที่เคยทำบุญบริจาคเงินออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตนิยมทำบุญบริจาคเงินออนไลน์ผ่านเว็ปไซด์ของหน่วยงาน/องค์กรนั้นๆโดยตรง ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 15.41 ที่นิยมทำบุญบริจาคเงินออนไลน์ผ่านเว็ปไซด์ที่ให้บริการระบบทำบุญออนไลน์กับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24.55 นิยมทำบุญบริจาคเงินผ่านเว็ปไซด์ทั้งสองประเภทเท่าๆกัน นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.84 ระบุว่าตนเองเคยได้รับหลักฐานยืนยันการทำบุญบริจาคเงินทางออนไลน์ เช่น ใบเสร็ทรับเงิน ใบอนุโมธนาบัตร จากหน่วยงาน/องค์กร/เว็ปไซด์ที่ตนเองทำบุญบริจาคเงินทุกครั้ง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.64 ระบุว่าเคยได้รับบ้างเป็นบางครั้ง โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 26.52 ยอมรับว่าตนเองไม่เคยได้รับหลักฐานเลย

ในด้านความรู้สึกต่อการทำบุญบริจาคเงินออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 58.78 ระบุว่าตนเองไม่กลัวถูกหลอกลวงในการทำบุญบริจาคเงินทางออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.06 ยอมรับว่ากลัวถูกหลอกลวง ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 14.16 ไม่แน่ใจ

ในด้านความคิดเห็นต่อการทำบุญบริจาคเงินออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 58.91 มีความคิดเห็นว่าระบบทำบุญบริจาคเงินออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้คนทำบุญบริจาคเงินได้ง่ายขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.19 มีความคิดเห็นว่าระบบทำบุญบริจาคเงินออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้คนหันมาทำบุญบริจาคเงินให้กับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆเพิ่มมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 68.2 มีความคิดเห็นว่าระบบทำบุญบริจาคเงินออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะไม่มีส่วนลดจำนวนผู้คนที่เดินทางไปทำบุญบริจาคเงินยังสถานที่ตั้งของหน่วยงาน/องค์กรต่างๆลง ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.14 มีความคิดเห็นว่าระบบทำบุญบริจาคเงินออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีส่วนทำให้มิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ได้ง่ายขึ้น และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.42 มีความคิดเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเพิ่มการตรวจสอบระบบทำบุญออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบันเพื่อป้องกันปัญหาการใช้เป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ของมิจฉาชีพหรือไม่

สำหรับความคิดเห็นต่อการได้บุญจากการทำบุญบริจาคเงินออนไลน์นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.53 มีความคิดเห็นว่าการทำบุญบริจาคเงินออนไลน์จะได้รับบุญเท่ากับการเดินทางไปทำบุญบริจาคเงินยังสถานที่ตั้งของหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.64 มีความคิดเห็นว่าได้บุญน้อยกว่า ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.83 ไม่แน่ใจ

และเมื่อเปรียบเทียบวิธีการต่างๆในการทำบุญบริจาคเงิน กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 52.43 นิยมเดินทางไปทำบุญบริจาคเงินยังที่ตั้งของหน่วยงาน/องค์กรมากที่สุด รองลงมานิยมทำบุญบริจาคเงินโดยการทำธุรกรรมโอนเงินผ่านบัญชธนาคารซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23.02 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.79 นิยมทำบุญบริจาคเงินทางออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.76 นิยมทำบุญบริจาคเงินผ่านทั้ง 3 วิธีเท่าๆกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4