Global Terrorism Index ปี 2559 ชี้ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายในกลุ่มประเทศ OECD พุ่งถึง 650%

พุธ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๒:๐๐
- ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายทั่วโลกลดลงเพียง 10% ในปี 2558 หลังหลายประเทศรายงานยอดผู้เสียชีวิตที่ปรับตัวสูงขึ้น จากเหตุก่อการร้ายที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

- ปฏิบัติการโจมตีกลุ่ม ISIL และโบโกฮาราม ส่งผลให้ยอดผู้เสียชิวิตในอิรักและไนจีเรียลดลง อย่างไรก็ตาม กลุ่มติดอาวุธทั้งสองได้ขยายอิทธิพลไปยังประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคใกล้เคียง

- ในปี 2558 มี 23 ประเทศทั่วโลกที่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีเพียง 17 ประเทศ

- ประเทศสมาชิก OECD 21 ประเทศ จากทั้งหมด 34 ประเทศ ต่างเผชิญกับเหตุก่อการร้ายอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยตุรกีและฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงที่สุด

- ฝรั่งเศส ตุรกี ซาอุดิอาระเบีย คูเวต และตูนิเซีย เป็นประเทศที่มีอัตราการก่อการร้ายเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าเป็นอย่างมาก ส่งผลให้คะแนน GTI โดยรวมร่วงลง 6%

- การก่อการร้ายได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นมูลค่าถึง 8.96 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558

ดัชนี Global Terrorism Index (GTI) ประจำปี 2559 เผยให้เห็นว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายทั่วโลกปรับตัวลง 10% แตะที่ 29,376 รายในปี 2558 หลังจากที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4 ปีติดต่อกัน

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20141118/717092 )

ปฏิบัติการทางทหารเพื่อโจมตีกลุ่ม ISIL และโบโกฮาราม ได้ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตในอิรักและไนจีเรียลดลง 32% ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายทั่วโลกลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม กลุ่มก่อการร้ายทั้งสองกลับแผ่อิทธิพลออกไปในประเทศอื่นๆ เป็นเหตุให้อัตราการก่อการร้ายในประเทศอื่นๆดีดตัวสูงขึ้น คะแนน GTI โดยรวมจึงปรับตัวลดลง 6%

รายงานประจำปีที่พัฒนาโดย Institute for Economics and Peace (IEP) และอ้างอิงจากฐานข้อมูลการก่อการร้ายทั่วโลกของ National Consortium for the Study of Terrorism and Responses to Terrorism (START) รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่นๆ ได้นำเสนอแนวโน้มของการก่อการร้ายทั่วโลกอย่างครอบคลุมที่สุด โดยรายงานพบว่าในปี 2558 มี 23 ประเทศทั่วโลกที่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีเพียง 17 ประเทศ ส่วนประเทศที่มีคะแนน GTI ลดลงมากที่สุดประกอบด้วย ฝรั่งเศส ตุรกี ซาอุดิอาระเบีย คูเวต และตูนิเซีย ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการจัดอันดับเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และส่งผลให้ดัชนี GTI โดยรวมทั่วโลกร่วงลง แม้ว่าสถานการณ์ในอิรักและไนจีเรียจะดีขึ้นก็ตาม

กลุ่ม ISIL และพันธมิตรได้ปฏิบัติการก่อการร้ายในประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า จาก 13 ประเทศในปี 2557 เป็น 28 ประเทศในปี 2558 ซึ่งรวมถึงประเทศในยุโรปหลายประเทศ ส่งผลให้จำนวนประเทศที่ต้องเผชิญการก่อการร้ายในระดับสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบ 16 ปี นอกจากนี้ การขยายอิทธิพลของกลุ่มโบโกฮารามไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างไนเจอร์ แคเมอรูน และชาด ยังทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายใน 3 ประเทศนี้พุ่งขึ้นถึง 157% นอกจากนั้นยังส่งผลให้แคเมอรูนและไนเจอร์รั้งอันดับที่ 13 และ 16 ของ GTI ตามลำดับ

Steve Killelea ประธานบริหารของ IEP กล่าวว่า "รายงาน GTI ปีนี้แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนที่สุดของการก่อการร้ายในรอบ 16 ปี แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตจะลดลง แต่ความรุนแรงในการก่อการร้ายกลับเพิ่มขึ้นในหลายประเทศและมีการแผ่อิทธิพลไปยังประเทศอื่นๆ นับเป็นสถานการณ์ที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าผู้ก่อการร้ายยุคใหม่มีความลื่นไหลสูง เหตุโจมตีที่เกิดขึ้นใจกลางเมืองของประเทศตะวันตกที่เป็นประชาธิปไตยได้เน้นให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการรับมือกับวิวัฒนาการของกลุ่มก่อการร้าย"

ในกลุ่มประเทศ OECD นั้น ISIL ได้ใช้กลยุทธ์การโจมตีแบบข้ามประเทศ นอกจากนั้นยังมีการก่อการร้ายแบบเดี่ยวที่ได้รับอิทธิพลจาก ISIL ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตในกลุ่ม OECD พุ่งขึ้นถึง 650% โดยประเทศสมาชิก OECD 21 ประเทศ จากทั้งหมด 34 ประเทศ ต่างเผชิญกับเหตุก่อการร้ายอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยตุรกีและฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงที่สุด นอกจากนี้ ประเทศเดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน และตุรกี ล้วนมียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2543 โดยจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 577 ราย มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม ISIL ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุโจมตีกรุงปารีส กรุงบรัสเซลส์ และกรุงอังการา และถือเป็นหนึ่งในเหตุโจมตีที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเหล่านี้

Steve Killelea กล่าวว่า "โดยทั่วไปแล้ว นักรบของ ISIL ที่เป็นชาวต่างชาติและเดินทางเข้าไปในซีเรีย มักเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงแต่มีรายได้ต่ำ ขณะที่หลายคนเข้าร่วมขบวนการเพราะรู้สึกแปลกแยกจากสังคมในประเทศบ้านเกิด การทำความเข้าใจแรงขับเคลื่อนของการก่อการร้ายเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์ต่อต้านการก่อการร้ายและลัทธิสุดโต่ง แม้ว่าการใช้กำลังทางทหารจะสามารถจำกัดวงของกลุ่ม ISIL ในอิรักได้อย่างชัดเจน แต่ก็ไม่สามารถจำกัดความนิยมชมชอบในตัวกลุ่มก่อการร้ายได้ ดังจะเห็นได้จากการก่อการร้ายในยุโรปที่มี ISIL เป็นต้นแบบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดของการใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว

ในกลุ่มประเทศ OECD นั้น ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ เช่น การว่างงานของคนหนุ่มสาว ระดับอาชญากรรม การเข้าถึงอาวุธ และความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการเลือกตั้ง นับเป็นปัจจัยหลักที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาการก่อการร้าย ส่วนในประเทศกำลังพัฒนานั้น ประวัติศาสตร์ความขัดแย้ง การคอร์รัปชั่น และความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชนชั้น เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการก่อการร้ายมากที่สุด

ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการก่อการร้ายในปี 2558 อยู่ที่ 8.96 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอิรักได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดเป็น 17% ของ GDP ปี 2558 สำหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด 5 อันดับแรกประกอบด้วย อิรัก อัฟกานิสถาน ไนจีเรีย ปากีสถาน และซีเรีย โดยทั้ง 5 ประเทศนี้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายคิดเป็น 72% ของจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายทั้งหมดทั่วโลกในปี 2558 ทั้งยังเป็นพื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายที่โหดเหี้ยมที่สุด 4 กลุ่ม ได้แก่ ISIL โบโกฮาราม ตาลีบัน และอัลกออิดะห์ ซึ่งอยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายมากถึง 74% ของทั้งหมด โดยกลุ่ม ISIL ได้แซงหน้าโบโกฮารามในฐานะกลุ่มก่อการร้ายที่เหี้ยมโหดที่สุดในปี 2558 หลังก่อเหตุใน 252 เมือง และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 6,141 ราย

สำหรับบรรณาธิการ

สามารถรับชมรายงาน GTI ฉบับเต็ม และแผนที่แบบอินเตอร์แอคทีฟได้ที่ www.visionofhumanity.org

ติดตาม: @GlobPeaceIndex #TerrorismIndex

กดไลค์: www.facebook.com/globalpeaceindex

ที่มา: Institute for Economics and Peace

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4