กสร. เร่งสอบเหตุอาคารย่านสุขุมวิททรุดทับคนงานเสียชีวิต เตรียมเอาผิดนายจ้างทันที หากฝ่าฝืนกฎหมายความปลอดภัย

จันทร์ ๑๙ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๓:๑๕
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลงพื้นที่สอบกรณีอาคารที่กำลังรื้อถอนทรุดตัวทับคนงานเสียชีวิต บาดเจ็บและติดอยู่ในอาคาร เร่งสอบนายจ้าง หากพบฝ่าฝืนกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานจะดำเนินดคี ขั้นสูงสุดทันที

นายสุวิทยา จันทวงศ์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงเหตุอาคารย่านสุขุมวิททรุดตัวทับคนงานบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อเวลา 9.20 น. วันที่ 16 ธันวาคม 2559 ว่า อาคารดังกล่าวตั้งอยู่ภายในซอยสุขุมวิท 87 ซึ่งเป็นอาคาร 8 ชั้น ซึ่งจากเดิมเป็นอาคารจำหน่ายรถยนต์มิตซูบิชิ และกำลังรื้อถอนเพื่อเตรียมพัฒนาเป็นคอนโดมีเนียม โดยมีบริษัท ไทยยานต์เซลล์แอนด์เซอร์วิส จำกัด เป็นผู้ยื่นขอรื้อถอนอาคารกับกองควบคุมอาคาร สำนักงานโยธา กรุงเทพฯ ขณะเกิดเหตุมีคนงานทำงาน 7 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 2 คน จากการรื้อถอนอาคารดังกล่าวมีการใช้รถแบ็คโฮ ขึ้นไปเจาะอาคารชั้นบน ซึ่งคาดว่ามีแรงสั่นสะเทือนและรื้อถอนผิดขั้นตอน จนเป็นเหตุให้คนงานเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย ส่วนหัวหน้างานอีก 1 คน ไม่พบในที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ ในเบื้องต้น กสร. ได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครเขต 8 และศูนย์ความปลอดภัยในการทำงาน เขต 12 ลงพื้นที่ตรวจสอบทันที และได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาสำนักงานเขตพระโขนงได้แจ้งให้ระงับการรื้อถอนอาคารดังกล่าวเนื่องจากมีการจัดทำมาตรการป้องกันวัสดุ และฝุ่นละอองไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ไม่อยู่ ในสภาพใช้งานได้ดี และสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้พักอาศัยข้างเคียง ตลอดจนประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา และได้กำหนดให้จัดทำมาตรการป้องกันวัสดุและฝุ่นละอองให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน

รองอธิบดี กสร. กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น มีกฎหมายด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับ เหตุดังกล่าว ดังนี้ กฎกระทรวงฯเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าด้วยเรื่องการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้างต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคาร และนายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรกำหนดขั้นตอน วิธีการ และควบคุมดูแลการทำงานของลูกจ้างให้ปลอดภัย ตลอดจนต้องทำการอบรมชี้แจงให้ทราบก่อนการปฏิบัติงานด้วย นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 14 นายจ้างต้องแจ้งอันตรายให้ลูกจ้างทราบก่อนทำงาน และมาตรา 16 นายจ้างต้องจัดการอบรม ให้ลูกจ้างในเรื่อง ความปลอดภัย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กำลังเร่งสอบข้อเท็จจริง และหากพบความผิด นายจ้างจะมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกสร. จะดำเนินการโดยเร็วที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4