มจธ.ร่วม สวทน. และ FoSTAT ระดมสมองผลักดัน Functional Food ไทยแข่งตลาดโลก

ศุกร์ ๒๓ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๐๗
อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของไทยมีการส่งออกทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศอาเซียน ญี่ปุ่น จีน แอฟริกา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ผลิตภัณฑ์สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ไก่สดและแปรรูป และปลาทูกระป๋อง ซึ่งยังคงเป็นสินค้าวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่างง่าย ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบไม่มากนัก

แต่ปัจจุบันกระแสและแนวโน้มความต้องการของตลาด Functional Food ของโลก ทำให้ประเทศไทยต้องตื่นตัวและเตรียมความพร้อมทั้งในด้านองค์ความรู้และบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้พร้อมต่อการพัฒนาและแข่งขันในตลาดโลก ผศ.ดร.ชัยรัตน์ ตั้งดวงดี กล่าวว่าในฐานะหัวหน้าโครงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม Functional Food ในประเทศไทยสำหรับการส่งออก ภายใต้โครงการ Food Innopolis Academy 2016 ว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมอาหารไทย และสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาธุรกิจ Functional Food ของไทยออกสู่อุตสาหกรรมโลก

"อุตสาหกรรมอาหารไทยผลิตอาหารได้ประมาณ 30 ล้านตันต่อปี ติดอันดับ 1 ใน 20 ของโลก มีการผลิตอาหารแปรรูปและส่งออกปีละประมาณ 8-9 แสนล้านบาท และคาดการณ์ว่าในปี 2560 จะสูงกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่สินค้าที่ไทยส่งออกยังไม่ใช่สินค้าที่มีมูลค่าสูง สินค้าบางตัวเราผลิตมากขึ้นแต่มูลค่าลดลง ประกอบกับเราเสียเปรียบในเรื่องค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่ากัมพูชา ลาว เวียดนาม และเมียนมาร์ อีกทั้งยังมีเรื่องของภาษีนำเข้าในบางประเทศแถบยุโรปเพราะธนาคารโลกได้พิจารณาว่าไทยได้เข้าสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางติดต่อกัน 3 ปีซ้อนนับตั้งแต่ปี 2555-2557 และตัดสิทธิ์ด้านภาษีนำเข้าเมื่อต้นปี 2558 ทำให้สินค้าเรามีราคาสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น หากเราไม่ทำอะไรเลยก็จะเสียเปรียบ มูลค่าทางการตลาดจะตกลง จำนวนเงินที่เข้าประเทศก็จะน้อยลง GDPของประเทศก็จะลดต่ำลงด้วย ดังนั้น Functional food หรืออาหารที่มีการเติมสารอาหารที่มีประโยชน์เชิงหน้าที่เข้าไปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้านั้นจึงเป็นทางเลือกที่จะทำให้ประเทศไทยที่มีวัตถุดิบที่มีมูลค่าหลายอย่างแข็งแกร่งในตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลกได้"

ผศ.ดร.ชัยรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายเกี่ยวกับการจัด Workshop ครั้งนี้ว่า จากการที่ มจธ. ได้เริ่มต้นในระยะแรกพบว่าอุปสรรคส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าให้อุตสาหกรรมอาหารไทย และ Functional Foods ข้อแรกคือ อาจารย์ นักวิจัยต่างมีงานค้นคว้าวิจัยที่ดี แต่ต่างก็ศึกษาอยู่ในห้องปฏิบัติการของตนเอง ไม่มีการขยายขนาดและทดสอบทางคลินิกเพื่อนำไปสู่การผลิตเชิงการค้า ประการที่สอง ประเทศไทยยังขาดความเชื่อมโยงที่จะบูรณาการความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำออกมาใช้ให้เกิดผล ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนของการส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบในภาคเกษตร การวิจัย การใช้เทคโนโลยี การทดสอบ ความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภค กฎระเบียบข้อบังคับ และการตลาด ประเทศไทยมีวัตถุดิบจำนวนมากแต่ยังขาดคนที่จะรวบรวมและวิเคราะห์และใช้ศักยภาพเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการจัด Workshop ดังกล่าวจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากทั่วประเทศที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารทั้งภาคเอกชน ภาครัฐและภาคการศึกษา มาร่วมระดมสมองเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาให้อุตสาหกรรม Functional Food ของไทยอยู่ในตลาดโลกได้อย่างเข้มแข็ง.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4