การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2559

ศุกร์ ๓๐ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๕๓
เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee) (คณะกรรมการฯ) ซึ่งแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 4/2559 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของคณะทำงานย่อย 4 คณะที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการฯ ที่ได้มีการดำเนินการในปี 2559 ตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นของประเทศไทย (พ.ศ. 2559 – 2564) พร้อมทั้งได้พิจารณาแผนการดำเนินงาน/โครงการเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นที่จะดำเนินการในระยะต่อไป ดังนี้

1. คณะทำงานเพื่อสร้างความตระหนักและการรับรู้เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (คณะทำงานชุดที่ 1)

1.1 การจัดงานประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับ Startup และการจัดประกวดการนำเสนอแผนธุรกิจ (Pitching) : การจัดงาน Event เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดของธุรกิจ Startup (Market Expansion Event)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดงาน Startup Thailand 2017และมอบหมายให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติดำเนินการ โดยการจัดงานในปี 2017 จะเพิ่มส่วนการจัดแสดงที่หลากหลายยิ่งขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) International Pavilion zone และ 2) University zone และการจัดงานจะเริ่มในส่วนภูมิภาคตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป ดังนี้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ขอเรียนเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจเข้าร่วมการจัดงาน Startup Thailand 2017 โดยติดตามการประชาสัมพันธ์ได้ทาง facebook.com/thailandstartup ตลอดทั้งปี

1.2 การสร้างให้เกิดศูนย์กลางแห่งการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ (Knowledge Center) สำหรับ Startup

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดสรรงบประมาณและมอบหมายให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติดำเนินการร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อพัฒนา Web Portal สำหรับ Startup โดยจะผนวกรวมเอาเว็บไซต์สำหรับ Startup ของไทยปัจจุบันทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ www.thailandstartup.org และ ww.NEW.set.or.th เข้าเป็นเว็บไซต์เดียวกันเพื่อสร้างให้เกิดเอกภาพและเป็นศูนย์กลางประชาสัมพันธ์ ฐานข้อมูล และองค์ความรู้สำหรับ Startup รวมถึงประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวสารของคณะกรรมการฯ ด้วย

1.3 การจัดให้มีสื่อสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารสำหรับ Startup

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดสรรงบประมาณและมอบหมายให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติดำเนินการจัดพิมพ์เอกสารแผนการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นของประเทศไทย (พ.ศ. 2559 - 2564) เพื่อเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าวต่อสาธารณชน

2. คณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (คณะทำงานชุดที่ 2)

2.1 การพัฒนาแนวทางปรับปรุงกฎหมายธุรกิจเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น

กระทรวงพาณิชย์โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้พิจารณาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นของไทย โดยครอบคลุมถึงด้านหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debt : CD) ด้านการทยอยให้หุ้น (Reverse Vesting) ด้านสิทธิที่จะซื้อหุ้นในราคาที่กำหนด (Employee Stock Option Plan : ESOP) และด้านหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Shares) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดว่า จะสามารถเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาประมาณเดือนมิถุนายน 2560

2.2 แนวทางการพัฒนา Web Portal และระบบ E-learning

คณะทำงานชุดที่ 2 ได้เปิดตัวเว็บไซต์สำหรับ Startup (www.NEW.set.or.th) เฟสที่ 2 ไปแล้วเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2559 โดยได้เพิ่มส่วนของ editor เข้าไปในระบบ และมีกำหนดแถลงข่าวเพื่อเปิดตัว Web Portal อย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2560

2.3 การพัฒนาย่านวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup district)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติจะพัฒนา Startup District ให้เป็นแหล่งศูนย์รวมความคิดสู่การดำเนินธุรกิจในพื้นที่ทั่วประเทศที่มีศักยภาพสูง อาทิ ย่านโยธี ย่านนวัตกรรมสยามแสควร์ ย่านนวัตกรรมคลองสาน-ธนบุรี ย่านนวัตกรรมนิมมานเหมินทร์ และในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในหลากหลายพื้นที่ที่มีความพร้อม รวมทั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ประสานไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำกิจกรรมโครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ที่มีการเติบโตสูง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีศักยภาพในการพัฒนาความพร้อมของวิสาหกิจเริ่มต้นได้อย่างหลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Education) กิจกรรมการปรับปรุงและเตรียมพร้อมพื้นที่พัฒนานวัตกรรมร่วมกัน (Co-innovating space) กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ (Research Commercialization for Startup) และกิจกรรมการแข่งขันระดับประเทศ Startup Thailand League

2.4 การพัฒนาข้อมูล สถิติ และดัชนี สำหรับการติดตามและประเมินความก้าวหน้า โดยการศึกษาสถานภาพการพัฒนาผู้ประกอบการและระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้น

การประชุมคณะกรรมการฯ วันนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนการดำเนินการพัฒนาข้อมูล สถิติ และดัชนี เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น โดย สวทน. จะร่วมกับสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (TTSA) จัดทำแนวทางการจัดเก็บข้อมูล สถิติและดัชนี เพื่อติดตามสถานภาพ การพัฒนาของระบบนิเวศ ตลอดจนติดตามความก้าวหน้าในการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ของประเทศไทย ทั้งนี้ สวทน. ได้กำหนดลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ TTSA ในเดือนมกราคม 2560 พร้อมทั้งได้กำหนดการเผยแพร่ข้อมูลจากการสำรวจครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2560 (Mid-year Report) และจัดทำรายงานประจำปี ในเดือนธันวาคม 2560 (Annual Report)

2.5 การส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นในกลุ่ม FinTech

การประชุมคณะกรรมการฯ วันนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนการดำเนินการเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นในกลุ่ม FinTech โดยในเบื้องต้นจะดำเนินการแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นในกลุ่ม FinTech ซึ่งขณะนี้สำนักงาน ก.ล.ต. และ ธปท. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแนวทางและรายละเอียดของการพัฒนา Regulatory Sandbox สำหรับกลุ่ม FinTech ดังกล่าว

3. คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้น (คณะทำงานชุดที่ 3)

3.1 การวางแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติในสอดคล้องตามกรอบเศรษฐกิจใหม่และการส่งเสริมให้เกิด Accelerator ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

คณะทำงานชุดที่ 3 ได้ดำเนินการพัฒนาระบบ e learning ภายใต้โครงการ startup Voucherเพื่อการพัฒนา Startup แบบ mass impact ใน 5 หลักสูตร ได้แก่

1) Business: เรื่องการประกอบธุรกิจเบื้องต้น อาทิ New Economy, New Customer, New Entrepreneurial Mindset, Mistake & Fuilures เป็นต้น

2) IP/Legal เรื่องกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา Business Legal for startup

3) Marketing การตลาดในกรอบเศรษฐกิจใหม่

4) Communication for startup เช่น Create storyline for your business, Elevator Pitch

5) Finance อาทิ Cost structure, Equity Setting as Startup Company เป็นต้น

นอกจากนี้ หน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะดำเนินการปฏิวัติระบบการศึกษาเพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ และปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ในการสร้างธุรกิจ Startup ด้วยโครงการส่งเสริมมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial University) ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่

1) Entrepreneurship Education (8 หลักสูตร, 30 มหาวิทยาลัย, พัฒนา 30,000 ราย) โดย สวทน.

2) Startup District (30 พื้นที่ทั่วประเทศ co-working/maker space) โดย สนช.

3) Idea to Startup (30 มหาวิทยลัยนำร่อง 550 business idea พร้อม startup) โดย สนช.

4) Acceleration & Market Exposure (100 ผลิตภัณฑ์พร้อมจัดตั้งธุรกิจ startup เน้น10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดย สวทช.

5) Business Brotherhood Centre 10 ศูนย์ 50 บริษัทพี่ใหญ่เข้าเป็นพี่เลี้ยงให้ธุรกิจ Startupสู่การขยายระบบนิเวศ โดย สนช.

3.2 การจัดตั้ง Incubator Consortium

ขณะนี้ คณะทำงานชุดที่ 3 อยู่ในระหว่างการจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย (Incubator Consortium) และการศึกษาเปรียบเทียบ model จากต่างประเทศ เช่น CERNE Model จากประเทศ Brazil และ model ของ Infodev ให้เข้ากับบริบท Incbator ในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดโปรแกรมการอบรม Incubation ManPower อยู่ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดหลักสูตร Business Incubation Management Certificate (BIM) Program - InBIA และ INFODEV PLUS

3.3 การพัฒนาบุคลากรด้าน IT เพื่อป้อน Resource ที่มีคุณภาพสู่วิสาหกิจเริ่มต้น

ขณะนี้ถูกบรรจุเป็นหนึ่งใน 10 หลักสูตรที่อยู่ในโครงการ Entrepreneurial University

3.4 การปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ และปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ในการสร้างธุรกิจ Startup

การประชุมคณะกรรมการฯ วันนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คณะทำงานชุดที่ 3 ดำเนินโครงการปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ และปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ในการสร้างธุรกิจ Startup ภายใต้กลยุทธ์การพัฒนา Incubator เพื่อพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น ดังนี้

• การพัฒนา Incubation Maturity Model

• จัดตั้ง Incubator Consortium ทำหน้าที่พัฒนา Incubation maturity Model ให้สำเร็จ โดยให้อำนาจคณะทำงาน NSC ชุด 3 เป็นผู้สรรหาและแต่งตั้งองค์ประกอบคณะทำงานที่เหมาะสม

3.5 การวางแนวทางเพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยเทคโนโลยีสำหรับอนาคต

การประชุมคณะกรรมการฯ วันนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยเทคโนโลยีสำหรับอนาคต โดยในเบื้องต้นมีแผนการดำเนินการจัดทำ Catalog รวบรวมข้อมูลผลงานวิจัย/ผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัย บนเว็บไซต์ Thailand Tech Show

4. คณะทำงานเพื่อเสนอแนะนโยบายและมาตรการภาครัฐเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (คณะทำงานชุดที่ 4)

4.1 การออกมาตรการสนับสนุนทางด้านการเงินการคลังแก่วิสาหกิจเริ่มต้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจดแจ้งการเป็นกิจการเงินร่วมลงทุนและทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เพื่อสนับสนุนกิจการเงินร่วมลงทุนตาม พรฎ. 597 ปัจจุบัน ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 พร้อมทั้งอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายใหม่ (SMEs/New Startup) ตาม พรฎ. 602 ปัจจุบัน ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 พร้อมทั้งอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ กิจการเงินร่วมลงทุนที่สนใจจดแจ้งกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด สามารถติดต่อขอรับรายละเอียดการจดแจ้งได้ที่ สำนักงาน ก.ล.ต.เลขที่ 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 1207 หรือ 0 2695 9999

สำหรับในส่วนของ SMEs/New Startup ที่สนใจยื่นเรื่องต่อ สวทช. เพื่อพิจารณารับรองเพื่อให้มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ลงทุน สวทช. อาคารส่วนงานกลาง ชั้น 3 ห้อง 304-2เลขที่ 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 หรือทางโทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1327, 1340-1345, 1359

4.2 การปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนให้เหมาะสมกับการพัฒนาและการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้วางกรอบเพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์เพื่อสนับสนุนกิจการ Startup และกิจการที่มีเงินทุนจดทะเบียนที่ไม่สูง (ตลาดฯ สำหรับ Startup) โดยคาดว่าจะเป็นในรูปแบบตลาด OTC และอาจเปิดให้บริษัทสามารถเข้าร่วมในตลาดได้ แม้จะยังเพิ่งก่อตั้ง และยังไม่มีกำไรเลยก็ตาม(No earning record) โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะจัดให้มีการประชุมหารือและ workshop ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2560 เพื่อให้ได้แนวทางที่ชัดเจนในการจัดตั้งตลาดฯ ดังกล่าวสำหรับ Startup ต่อไป

4.3 การวางแนวทางสนับสนุนให้มีการจัดเรตติ้งเทคโนโลยีและการค้ำประกันสินเชื่อเทคโนโลยี (Technology Rating & Technology Guarantee)

บสย. และ สวทช. ได้ขับเคลื่อนการจัดเรตติ้งเทคโนโลยีและการค้ำประกันสินเชื่อเทคโนโลยีภายใต้โมเดล Thailand Technology Rating System (TTRS) โดยได้รับความร่วมมือและคำแนะนำจากทีมที่ปรึกษาของเกาหลีใต้ (องค์กร Korea Technology Finance corporation : KOTEC) ในปัจจุบัน บสย. และ สวทช. ได้เริ่มดำเนินการทดสอบโมเดล TTRS กับผู้ประกอบการจริง (Pilot Test) ไปแล้วทั้งสิ้น 6 บริษัท จากจำนวนทั้งหมด 16 บริษัท ทั้งนี้ การทดสอบ Pilot Test ที่เหลืออีกจำนวน 10 บริษัท คาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2560

4.4 การวางแนวทางเพื่อผ่อนปรนแก่ผู้ชำนาญการต่างชาติเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นของไทย

การประชุมคณะกรรมการฯ วันนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คณะทำงานขับเคลื่อนด้านบุคลากรดิจิตัลและการส่งเสริมนวัตกรรมดิจิตัลตามนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษคลัสเตอร์ดิจิตัลเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติและขั้นตอนการรับรองผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิตัลเพื่อพัฒนาบุคลากรดิจิตัลตามนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นด้วย

5. ข่าวประชาสัมพันธ์อื่น ๆ

5.1 ประเทศไทยรับรางวัล National Policy Leadership Award ที่งาน Startup Nations Summit 2016 สาธารณรัฐไอร์แลนด์

• เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2559 Startup Nations ซึ่งเป็นเครือข่ายการพัฒนานโยบาย Startup ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายใต้ Global Entrepreneurship Network (GEN) ประกาศมอบรางวัล National Policy Leadershipหรือรางวัลผู้นำในการพัฒนานโยบายสตาร์ทอัพ ซึ่งถือเป็นรางวัลระดับผู้นำด้านสตาร์ทอัพที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในโลกให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์) ณ เมืองคอร์ก สาธารณรัฐไอร์แลนด์

• Global Entrepreneurship Network (GEN) และ Startup Nations ได้จัดการประชุม Startup Nations Summit ประจำปี 2016 (SNS 2016) ขึ้นที่เมืองคอร์ก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2559 โดยภายในงานมีนักนโยบายและผู้นำประชาคมสตาร์ทอัพเข้าร่วมกว่า 70 ประเทศและประกอบด้วยกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ กิจกรรมการสร้างเครือข่ายและกิจกรรมระดมสมองเพื่อวางกรอบและทิศทางในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่และสตาร์ทอัพในมุมมองนานาชาติ

5.2 ผู้ประกอบการไทยคว้าสุดยอดรางวัล Grand Prize ที่งาน Seoul International Invention Fair 2016 สาธารณรัฐเกาหลี

ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้นำผู้ประกอบการไทย 18 บริษัท กับ 19 ผลงาน ภายใต้โครงการ Startup Voucher คว้าสุดยอดรางวัล จากเวทีการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ระดับสากลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ในงาน "Seoul International Invention Fair 2016" (SIIF 2016) ณ กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 1 - 4 ธันวาคม 2559 ดังนี้

• Grand Prize 1 รางวัล ได้แก่ บริษัท สยามโนวาส จำกัด กับ ผลงาน "น้ำเชื้อแช่แข็งคัดเพศเพื่อใช้ในการผสมเทียมโคนมและโคเนื้อเพื่อเพิ่มจำนวนลูกโคเพศเมีย"

• 5 เหรียญทอง

• 7 เหรียญเงิน

• 5 เหรียญบรอนซ์

• Special Prize 3 รางวัล

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3653

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest