กรมสุขภาพจิต แนะ งดดู งดแชร์ เหตุความสูญเสีย ป้องกันผลกระทบทางจิตใจ ครอบครัวผู้สูญเสีย กลุ่มเด็ก และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์

อังคาร ๑๗ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๖:๓๖
นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงเหตุเครื่องบินแบบ 1 Jas 39 (กริพเพน) กองทัพอากาศตกระหว่างการแสดงงานวันเด็กที่หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ว่า ได้ส่งทีมจากโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ นำโดย นายแพทย์ณัฐกร จำปาทอง ผอ.โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ประสานงานกับโรงพยาบาลกองบิน 56 เพื่อประเมินสถานการณ์และผลกระทบทางจิตใจผู้เกี่ยวข้องแล้วในเบื้องต้น

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า จากเหตุการณ์ความสูญเสียครั้งนี้ บุคคลในครอบครัวและญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต ย่อมได้รับผลกระทบทางจิตใจเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการประเมินและดูแลปฐมพยาบาลทางใจ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว ซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยลดผลกระทบด้านจิตใจให้กับครอบครัวและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ ซึ่งต้องขอความร่วมมือสื่อมวลชนและโลกออนไลน์พึงเคารพสิทธิผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ โดยการไม่แชร์หรือเผยแพร่ภาพหรือคลิปต่างๆ ของเหตุการณ์ความสูญเสียในครั้งนี้ เพราะจะยิ่งกระตุ้น ให้ครอบครัวและญาติของผู้เสียชีวิต รวมทั้งผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์คิดถึงภาพเหตุการณ์สะเทือนใจซ้ำไปซ้ำมา ตอกย้ำสถานการณ์ให้แย่ลงไปอีก

นอกจากนี้ กลุ่มเด็กที่อยู่ในเหตุการณ์หรือรับชมรับฟังข่าวหรือภาพเหตุการณ์ ย่อมมีโอกาสได้รับผลกระทบด้านจิตใจแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งเด็กออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เด็กปฐมวัย แรกเกิด – 5 ปี เนื่องจาก ยังไม่รับรู้ถึงความตายว่าเป็นอย่างไร จึงขอแนะนำพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ให้เด็กรับชมคลิป หรือไม่พูดถึงเหตุการณ์มากนัก หากเด็กถามก็ตอบเพียงว่าเป็นการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีผลทำให้เกิดอาการตกใจในกลุ่มเด็กวัยนี้ อาการที่อาจพบได้ คือ มีภาวะถดถอย ในบางช่วง เช่น กลับไปดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืน ไม่ยอมห่างจากพ่อแม่ เป็นต้น แต่อาจเกิดได้น้อยมาก กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มเด็กอายุ 5-10 ปี ซึ่งกลุ่มนี้ น่าห่วงมากที่สุด เนื่องจากรับรู้ความหมายของการตายแล้ว มีความคิดซับซ้อนมากขึ้น ข้อแนะนำ คือ ให้หลีกเลี่ยงการดูคลิป อาการที่ต้องเฝ้าระวัง คือ ตื่นตกใจง่าย หวาดกลัว คิดวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาถึงเหตุการณ์ หลีกเลี่ยงคนหรือเหตุการณ์ที่ทำให้ตกใจ เป็นต้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองพบเห็นอาการเหล่านี้ ให้ปรึกษาหรือพามาพบผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มวัยรุ่น ซึ่งสามารถใช้เหตุผลและอธิบายถึงเรื่องราวที่มาที่ไปของเหตุการณ์ต่างๆได้ หากเกิดผลกระทบต่อจิตใจสามารถเล่าถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้ผู้ใหญ่ฟังได้ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงอาจเพียงแนะนำให้พวกเขาหลีกเลี่ยงการรับชม รับฟัง เหตุการณ์ คลิป หรือภาพ ที่ทำให้เกิดผลกระทบทางใจกับพวกเขา เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest